ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 4476 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

อาสาพัฒนาชุมชน … ภาคีผู้สร้างพลังชุมชน

อาสาพัฒนาชุมชน เราได้รู้จักกับข้าราชการที่มีนามว่า “พัฒนากร”ไปแล้วว่าเขาทำงานอย่างไรและสำคัญแค่ไหน และอีกหนึ่งภาคีทำงาน

data-ad-format="autorelaxed">

อาสาพัฒนาชุมชน

 

อาสาพัฒนาชุมชน

 

เราได้รู้จักกับข้าราชการที่มีนามว่า “พัฒนากร”ไปแล้วว่าเขาทำงานอย่างไรและสำคัญแค่ไหน และอีกหนึ่งภาคีทำงานที่จะไม่พูดถึงคงไม่ได้เพราะเขาทำงานเหมือนเงาของพัฒนากร ซึ่งเป็นข้าราชการและเป็นเรื่องปกติที่ต้องมีวงรอบการโยกย้าย แต่เมื่อผู้ริเริ่มไม่อยู่โครงการต้องดำเนินการต่อไป ใครล่ะจะสำคัญกับหน้าที่ตรงนี้เท่า “อาสาพัฒนาชุมชน”


อาสาพัฒนาชุมชนคือ อาสาสมัครที่มาจากคนในท้องถิ่นนั้นๆเอง แต่มีจิตใจเสียสละมีความสมัครใจ อาสาเข้ามาปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวมในด้านการพัฒนาชุมชน ได้แก่ อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) คือ อาสาพัฒนาชุมชนที่ได้รับคัดเลือกจากเวทีประชาคมหมู่บ้านให้ปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครในหมู่บ้านหนึ่ง เรียกชื่อย่อว่า “อช.” มีจำนวนอย่างน้อยหมู่บ้านละ 4 คน โดยให้มีจำนวนหญิงชายในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) คือ อาสาพัฒนาชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกจากเวทีประชาคมอาสาพัฒนาชุมชน เพื่อให้ปฏิบัติงานอาสาสมัครในฐานะผู้นำของอาสาพัฒนาชุมชนในตำบลหนึ่ง เรียกชื่อย่อว่า “ผู้นำ อช.”มีจำนวน 2 คน (ชาย 1 คน หญิง 1 คน)

 

แล้วอาสาพัฒนาชุมชนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

 

ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2512 การดำเนินโครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนได้มีการทดลองดำเนินการในจังหวัดสกลนครและกาฬสินธุ์ รวม 100 คน

 

อาสาพัฒนาชุมชน-2

 

จนกระทั่งมีการขยายการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนออกไปทุกจังหวัด และเริ่มให้มีการคัดเลือกอาสาพัฒนาชุมชนที่เป็นสตรีเพิ่มขึ้น หมู่บ้านละ 1 คน รวมเป็น อช. หมู่บ้านละ 2 คน ครบทุกหมู่บ้านส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชมรมอาสาพัฒนาชุมชน และจัดตั้งสมาคมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไทย


ต่อมามีการใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอาสาพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2547 เพิ่มจำนวน อช. หมู่บ้านละไม่น้อยกว่า 4 คน และ ผู้นำ อช. ตำบลละ 2 คน โดยคำนึงถึงจำนวนสัดส่วนชายหญิง ใกล้เคียงกัน โดยภารกิจของผู้นำ อช.มีมากมายตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลจปฐ / กชช. 2ค ร่วมเป็นผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ. / กชช. 2ค รวมทั้งการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ กำหนดเป็นแผนงาน/กิจกรรม บรรจุในแผนชุมชน ประเมินผล เปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและภาพรวมของหมู่บ้านในแต่ละปี ซึ่งการจัดทำแผนชุมชน ร่วมมือกับผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน จะมีการจัดเวทีประชาคม เพื่อวิเคราะห์ ข้อมูล ปัญหา และกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามความต้องการของชุมชน อีกทั้งการจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน ที่มีการร่วมจัดเวทีประชาคมเพื่อเผยแพร่ความรู้ ปราชญ์ชาวบ้านในด้านต่างๆ ให้ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียงเข้ามาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และอีกภารกิจที่สำคัญยิ่ง คือ การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของคนในชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง และการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย เป็นแบบอย่างที่ดีในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้ง และร่วมกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ความรู้เรื่องประชาธิปไตยในหมู่บ้าน/ตำบล ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แนะนำให้ความรู้แก้เพื่อนบ้านเพื่อให้เข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด รวมทั้งร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ตำบล

 

อาสาพัฒนาชุมชน-3

 

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นแกนหลักในการวางแผนและจัดกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ตำบลรวมไปถึงการพัฒนาเด็ก/เยาวชน และอื่น ๆ


จะเห็นได้ว่างานของ อช. และผู้นำอช. แม้จะเป็นเพียงอาสาสมัครที่เข้ามาทำงานพัฒนาชุมชมในลักษณะเงาของพัฒนากร แต่ก็ทำเพื่อสังคมด้วยใจรักเรื่องค่าตอบแทนยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะสังคมดีมีความสงบสุขเป็นการตอบแทนที่มีค่ากว่าเงินทอง และนั่นคือการตอบแทนมาตุภูมิอย่างแท้จริง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการพัฒนาชุมชน


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4476 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9120
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7471
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7545
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7876
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6855
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8123
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7351
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>