ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่ข้าวโพด | อ่านแล้ว 11074 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้ได้ผลตอบแทนสูง

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจารการคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพด จะมีส่วนเป็นอย่างมากแล้ว การดูแลตามระยะเวลาช่วงอายุที่ถูกต้อง..

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

การเลือกพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เหมาะสม

การเลือกพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาทำการปลูกนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากการเลือกพันธุ์นั้นต้องมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ช่วงเวลา การระบาดของโรคแมลงในพื้นที่เราจะทำการผลิต หากเลือกชนิดของพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมแล้วจะส่งผลต่อการผลิตข้าวโพดทั้งกระบวนการ ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกพันธุ์ข้าวโพด

 

- ศักยภาพในการให้ผลผลิต ควรเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง และปรับตัวได้ดีในสภาพแปลงโดยสังเกตจากแปลงสาธิต แปลงทดสอบในแต่ละพื้นที่
- ความทนทานหรือ ต้านทานโรค ควรเป็นพันธุ์ที่สามารถทนทานหรือต้านทานโรคที่สำคัญในพื่นที่การผลิตได้
- อายุเก็บเกี่ยว ควรเลือกพันธุ์ที่มีอายุเหมาะสมกับระบบการผลิต การปลูกพืชหลังเก็บเกี่ยวข้าวโพด หรือ การเก็บเกี่ยวก่อนน้ำท่วม เป็นต้น การแบ่งชนิดพันธุ์ตามอายุเก็บเกี่ยวได้ดังนี้

 

อายุสั้น หรือเก็บเกี่ยวเร็ว อายุประมาณ 100-110 วัน นับตั้งแต่หลังวันปลูก
อายุปานกลาง หรือเก็บเกี่ยวปานกลาง อายุประมาณ 110-120 วัน นับตั้งแต่หลังวันปลูก
อายุยาว หรือเก็บเกี่ยวช้า อายุประมาณ 120 วันขึ้นไป นับตั้งแต่หลังวันปลูก

 

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

ฤดูปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เหมาะสม

- ต้นฤดูฝน ปลูกได้ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนมิถุนายน ตามสภาพฝนแต่ละพื้นที่
- ปลายฤดูฝน ปลูกได้ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม
- ฤดูแล้ง ปลูกได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม-เดือนกุมภาพันธ์ (พื้นที่ริมแม่น้ำ พื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวข้าว และพื้นที่ชลประทาน)

 

การเตรียมดิน สำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

วัตถุประสงค์ของการเตรียมดิน เพื่อให้ดินเหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดข้าวโพด ช่วยเก็บรักษาความชื้นอยู่เสมอ ช่วยให้ดินมีอากาศถ่ายเทสะดวก และทำลายวัชพืชให้แห้งตายหรือฝังกลบซากวัชพืชเดิม

 

การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงแบ่งออกได้ 2 วิธี ดังนี้

 

1. การไม่ไถพรวน มักทำในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง หรือพื้นที่หลังเก็บเกี่ยวข้าว จะทำโดยการตัด ถาง เพื่อกำจัดวัชพืชที่อยู่ผิวหน้าดินที่เป็นอุปสรรคในการปลูกและงอกของข้าวโพดออกไป

 

2. การไถพรวน ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง

 

2.1. ไถดะ การไถด้วยผาน 3 หรือผาน 7 ควรไถให้ลึกประมาณ 30 ซม.เพราะการไถลึก จะช่วยทำให้ดินเก็บน้ำได้มาก และกลบฝังเศษวัชพืชได้ลึกไม่เป็นอุปสรรคในการหยอดเมล็ด จากนั้นตากดินไว้ประมาณ 10-15 วัน เพื่อทำลายวัชพืชและศัตรูพืชในดินบางชนิด

 

2.2. ไถแปร ควรไถด้วยผาน 7 โดยไถขวางรอยเดิมของไถดะเพื่อย่อยดินก้อนใหญ่ให้แตก ทำให้ดินร่วนซุย โปร่งมากขึ้นเพิ่มผิวสัมผัสระหว่างดินกับเมล็ด ทำให้เมล็ดพันธุ์ดูดความชื้นได้ดีและงอกได้อย่างสม่ำเสมอ

 

2.3 ไม่ควรไถดินในขณะที่ความชื้นในดินสูง เพราะจะทำให้ดินแน่น และเกิดชั้นดินดาน ทำให้การระบายน้ำในดินไม่สะดวก และดินเป็นก้อนแข็งจะส่งผลต่อการงอกของเมล็ดข้าวโพด

 

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำได้ 2 วิธี ดังนี้

 

1. ใช้เครื่องปลูก ซึ่งมีหลากหลายแบบในปัจจุบันทั้งแบบ 2,3 และ 4 แถว ตามความเหมาะสมของพื้นที่จุดสำคัญจะที่การเลือกรูจานหยอดให้เหมาะกับขนาดของเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ เมล็ดเล็กขนาด 3หุน, ขนาดกลาง 3.5หุน และขนาดใหญ่ 4 หุน ซึ่งจะระบุไว้ที่ถุง ระยะห่างระหว่างแถว 70 ซม. ระยะระหว่างหลุมประมาณ 18-20 ซม. โดยปริมาณเมล็ดที่ใช้จะประมาณ 3 - 3.3 กก./ไร่ ขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ด และ จะมีจำนวนต้นข้าวโพด/ไร่ ประมาณ 11,428-12,698 ต้นต่อไร่ ควรหยอดเมล็ดข้าวโพดให้ลึก 5-7 เซนติเมตร

 

2. ใช้คนปลูก ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางภาคเหนือ จะใช้เชือกในการกำหนดระยะให้มีระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 70 ซม. ระยะระหว่างหลุมประมาณ 35-40 ซม. แล้วใช้จอบขุดให้ลึก 5-7 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2 เมล็ดต่อหลุม แล้วกลบ

 

โดยจำนวนเมล็ดที่หยอดในวิธีต่างๆ จะขึ้นอยู่กับปริมาณต้นที่ต้องการต่อไร่, เปอร์เซนต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ และ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ว่า นั้นทนกับการปลูกถี่ได้ดีเพียงใด สิ่งที่ต้องคำนึงหากต้องการให้การปลูกได้ประสิทธิผลสูงคือการตรวจแปลงก่อนการปลูกว่าแปลงปลูกมีสภาพดีพร้อมปลูกหรือไม่ ทั้งเรื่องความชื้นในดินมีเพียงพอต่อการงอกของเมล็ดหรือไม่ และลักษณะพื้นผิวดินเป็นอุปสรรคในการหยอดหรือไม่

 

ในส่วนของการเตรียมความพร้อมในเรื่องของเครื่องหยอด ก่อนทำการหยอดจริงจะต้องทำการทดสอบเครื่องโดยการบนลานเพื่อดูการตกของเมล็ด และการโรยปุ๋ยเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ การดำเนินการแก้ไข หากลงน้อยหรือมากเกินไปให้เปลี่ยนจานที่เหมาะสมกับขนาดเมล็ด , หากเมล็ดตกห่างกันมากเกินไปให้ปรับรอบการหมุนจานให้สัมพันธ์กับความเร็วของรถลาก และการปรับการลงของปุ๋ยให้ดูขนาดของรู กับความเร็วรอบในการหมุนของแกนตักปุ๋ยให้สัมพันธ์กับความเร็วของรถลาก

 

สิ่งสำคัญที่จะช่วยการปลูกการปลูกประสบผลสำเร็จคือการตรวจแปลงในช่วง 5-10 วันหลังการปลูกเพื่อสุ่มตรวจนับประมาณปริมาณต้นกล้าที่งอกขึ้นมา ว่ามีประมาณตรงตามที่ต้องการหรือไม่ โดยทั่วไปไม่ควรน้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ทำการสุ่มนับ เมื่อทราบจำนวนต้นก็ใช้ข้อมูลนี้ในการตัดสินใจ ว่าจะทำการปลูกใหม่ ปลูกซ่อม หรือถอนแยกต้น เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์

 

การใส่ปุ๋ย แบ่งได้ 2 ครั้งประมาณและชนิดขึ้นอยู่กับผลการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการปลูก เพื่อให้มีธาตุอาหารเพียงพอกับการสร้างผลผลิตได้เต็มที่ แต่โดยทั่วไปจะใช้ปุ๋ย ดังนี้

 

1. ปุ๋ยรองพื้น ควรใส่รองก้นหลุม หรือโรยเป็นแถวแล้วกลบพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 หรือปุ๋ยทั้งสองผสมกัน 1:1ในปริมาณ 35-40 กิโลกรัม/ไร่

 

2. ปุ๋ยแต่งหน้า เมื่อข้าวโพดมีอายุ 20-25 วัน ควรมีการใส่ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ในปริมาณ 35-40 กิโลกรัม/ไร่

 

ข้อแนะนำ ควรใส่ปุ๋ยพร้อมกับการกำจัดวัชพืชเมื่อข้าวโพดอายุได้ 20-35 วัน หรือสูงแค่เข่า โดยใส่แบบโรยข้างแถวให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ แล้วใช้ดินกลบ ในพื้นที่เป็นดินทรายหรือดินเนื้อหยาบ ควรมีการเพิ่มจำนวนครั้งการใส่ปุ๋ย โดยแบ่งจากเดิม 40 กิโลกรัม 1ครั้ง เป็น 20 กิโลกรัม 2 ครั้ง เพื่อประสิทธิภาพการใส่ปุ๋ยเนื่องจากในดินกลุ่มดังกล่าวธาตุอาหารจะถูกชะล้างไปได้ง่ายกว่า อีกประเด็นที่มีความสำคัญคือ ความเป็นกรดด่างของดิน หากมีค่าต่ำหรือสูงเกินไปจะทำให้ข้าวโพดดูดใช้ธาตุอาหารได้น้อยลง ระดับความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมของข้าวโพดอยู่ที่ 5.7-6.3 การแก้ไขปรับได้โดยการใช้โดโลไมค์และการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

 

การกำจัดวัชพืช

ช่วงวิกฤตที่ข้าวโพดอ่อนแอต่อวัชพืชที่สุดคือระยะ 13-25 วัน หลังงอก ระยะนี้ถ้ามีวัชพืชรบกวนจะทำให้ผลผลิต ข้าวโพดเสียหายสูงสุด ดังนั้นการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง ดังนั้นจึงต้องให้แปลงปลอดวัชพืช ตลอดช่วง 1 เดือนแรกตั้งแต่ปลูก การใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชชนิดก่อนงอกที่ใช้ทันทีหลังปลูกข้าวโพดหรือพ่นกำจัดวัชพืชหลังข้าวโพดและวัชพืชงอกแล้ว เป็นวิธีที่สะดวกและประหยัด ควรฉีดพ่นขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่ สารเคมีที่แนะนำมีดังนี้

 

สารอาทราซีน ในอัตรา 500 กรัม ผสมน้ำ 60-80 ลิตร พ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ในขณะที่ดินมีความชื้นใช้ก่อนข้าวโพดงอก และก่อนหญ้างอกหรือหญ้างอกต้นเล็กไม่เกิน 3 ใบ) ใช้ควบคุมวัชพืชใบกว้างได้ดีเป็นพิษต่อผักและพืชตระกูลถั่ว ดังนั้นถ้าจะปลูกถั่วตามหลังข้าวโพด ไม่ควรใช้อาทราซีน
สารอะลาคลอร์ ใช้ฉีดพ่นวัชพืชก่อนข้าวโพดงอก ใช้อัตรา 500 มิลลิลิตร/ไร่ กำจัดวัชพืชใบแคบได้ดี เป็นพิษต่อข้าวฟ่าง ดังนั้นถ้าจะปลูกข้าวฟ่างตามหลังข้าวโพด ไม่ควรใช้อะลาคลอร์

 

หากในพื้นที่ที่วัชพืชใบแคบและใบกว้างรุนแรงควรใช้อาทราซีน 350 กรัม ผสมอะลาคลอร์ 500 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 60-80 ลิตร พ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ในขณะที่ดินมีความชื้นใช้ก่อนข้าวโพดงอก จะสามารถควบคุมวัชพืชใบกว้างและใบแคบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การกำจัดวัชพืชหลังงอกเพื่อแหล่งอาศัยของศัตรูข้าวโพดและความสะดวกในการเก็บเกี่ยวซึ่งจะฉีดพ่นที่ระยะ 35-45 วันหลังข้าวโพดงอกสารเคมีที่ใช้จะเป็นสารพาราควอต ซึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดสัมผัสตายจะใช้กำจัดวัชพืชในร่องข้าวโพดอัตราที่ใช้ 75-125 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 60-80 ลิตร พ่นในพื้นที่ 1 ไร่

 

ความต้องการน้ำของข้าวโพด

ข้าวโพดมีความต้องการใช้น้ำตลอดฤดูปลูก ประมาณ 400-600 มิลลิเมตร
1. การใช้น้ำครั้งแรกเมื่อปลูก หลังจากไถพรวนเตรียมแปลงเสร็จ เพื่อให้ดินมีความชื้นพองอก
2. การให้น้ำในช่วงระยะการเจริญเติบโตของข้าวโพด ควรให้น้ำเพียงพอต้องความต้องการของข้าวโพด ไม่ควรให้น้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้ข้าวโพดเหลืองแคระแกร็น ผลผลิตลด และอาจตายได้ ถ้าให้น้ำมากเกินไปควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงทันที

 

การสังเกตว่าเมื่อไหร่ที่ควรให้น้ำข้าวโพดโดยการสังเกตอาการขาดน้ำของข้าวโพด หากสังเกตเห็นข้าวโพดแสดงอาการขาดน้ำในช่วงบ่าย ให้กลับไปสังเกตในช่วงเช้าหากพบว่าแสดงอาการขาดน้ำจึงควรรีบให้น้ำ หากไม่แสดงอาการสามารถรอได้อีก 1-2 วัน เมื่อใช้วิธีการดังกล่าวจะสามารถลดรอบการให้น้ำ 2-3 ครั้ง

 

ข้าวโพด เป็นพืชที่ต้องการน้ำตลอดอายุการเจริญเติบโตแต่ความต้องการน้ำจะสูงสุด ในช่วงออกดอกและช่วงระยะต้นของการสร้างเมล็ด ถ้าหากขาดน้ำ
- ในช่วงระยะการเจริญทางลำต้นและใบ ผลผลิตจะลดลง 25%
- ในช่วงระยะออกดอกตัวผู้-ออกไหม-เริ่มสร้างเมล็ดผลผลิตจะลดลง 50%
- ในช่วงระยะหลังการสร้างเมล็ดเสร็จ ผลผลิตจะลดลง 21%

 

การเก็บเกี่ยวข้าวโพด

การเก็บเกี่ยวข้าวโพดให้มีคุณภาพควรเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัดและเก็บในช่วงที่อากาศแห้ง การสังเกตุว่าเมื่อใดสามารถเก็บเก็บได้แล้ว ให้สังเกตุที่การเปลี่ยนสีของเมล็ดจากสีเหลืองเป็นสีส้ม จากนั้นให้หักฝักดูเนื้อเยื้อระหว่างเมล็ดกับซังว่าเปลี่ยนสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำหรือไม่ หากเปลี่ยนสีเป็นสีดำก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ แต่การเก็บเกี่ยวในช่วงดังกล่าวความชื้นในเมล็ดยังสูงอยู่จะควรทำการลดความชื้นก่อนการเก็บรักษา

 

วิธีการเก็บเกี่ยว

 

1. เก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน
1.1 การเก็บแบบปอกเปลือก
1.2 เก็บเกี่ยวโดยหักข้าวโพดทั้งเปลือก

 

ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะนำฝักข้าวโพดจากข้อ1.1 และข้อ1.2ได้มากระเทาะก่อนนำเมล็ดส่งขายตามลานรับซื้อต่าง ในบางพื้นที่จะนำฝักที่เก็บเกี่ยวแบบปอกเปลือกไปส่งขายตามรับซื้อด้วยเช่นกัน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือจะนิยมเก็บเกี่ยวในแบบที่1.2 ทั้งในกลุ่มที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้วสีกระเทาะ และกลุ่มที่เก็บเข้ายุ้งฉาง รอราคา

 

2. เก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือ

การเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพด ( corn combine harvester) เครื่องชนิดนี้จะปลิดฝักข้าวโพดจากต้นแล้วสีออกเป็นเมล็ด การใช้เครื่องเก็บเกี่ยวมีข้อดีในกรณีขาดแคลนแรงงาน ทำให้ค่าจ้างเก็บเกี่ยวสูง สามารถเก็บเกี่ยวได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องเก็บเกี่ยวในพื้นที่ราบและสม่ำเสมอ ต้นข้าวโพดหักล้มน้อย ยังมีอัตราการสูญเสียเนื่องจากฝักเก็บเกี่ยวไม่หมด และมีการแตกหักของฝักและเมล็ด

 

ข้อมูลจาก corninfo.blogspot.com

 


 

ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยทางใบ ปุ๋ยเขียว

ปุ๋ย FK-1 เร่งโต ข้าวโพสโตไว ใบเขียวเข็ม 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 11074 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่ข้าวโพด]:
หนอนเจาะฝักข้าวโพด ข้าวโพดใบไหม้ ข้าวโพดฝักหวี ราสนิมข้าวโพด รู้โรคแก้ได้ แก้แล้วผลผลิตเพิ่ม
ข้าวโพดอ่อนแอต่อโรค เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ หนอน แมลงศัตรูพืช และโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายข้าวโพดของเราได้ง่าย
อ่านแล้ว: 5107
โรคราสนิม ในข้าวโพด สร้างความเสียหาย ทำให้ผลผลิตลดลง ควรป้องกัด และรักษา
โรคราสนิม ที่เกิดกับข้าวโพด ใบข้าวโพดจะซีด เหลือง และแห้ง ซึ่งส่งให้ให้ ผลผลิตข้าวโพดลดลงเป็นอย่างมาก
อ่านแล้ว: 5932
ข้าวโพดใบไหม้ โรคใบไหม้แผลใหญ่ ทำข้าวโพดแห้งตายได้ ป้องกันได้ดังนี้
เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของโรคนี้ แผลหลายๆแผลจะขยายรวมกันมาก จนทำให้ข้าวโพด ใบแห้ง และตายลงไปในที่สุด
อ่านแล้ว: 6458
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดติดเมล็ดน้อย ไม่เต็มฟัก และยังดึงดูดศัตรู้พืชอื่นๆ - ปราบได้
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด เข้าทำลายต้นข้าวโพด โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของต้นข้าวโพด เช่น กาบใบ โคนใบ ยอด กาบฝัก
อ่านแล้ว: 6806
กลางปีหน้า เจียไต๋ ปล่อยของ ข้าวโพดหวานม่วง..กินสดได้
ข้าวโพดหวานลูกผสมสีม่วง ที่ใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์มานานถึง 10 ปี เพื่อให้ได้ข้าวโพดที่มี แอนโทไซยานิน หรือสาร..
อ่านแล้ว: 6404
ข้าวโพด8ล้านตันใครได้-ใครเสีย พรศิลป์ ชำแหละธุรกิจอาหารสัตว์

อ่านแล้ว: 5318
บัณฑิตเกษตรยุคไอที ปั้นข้าวโพดแดงขายผ่านโซเชียล
บัณฑิตป้ายแดงจากรั้วนนทรี ผู้ไม่อยากเป็นลูกจ้าง เข้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ทำการตลาดเอง ปั้นแพ็กเกจสุดเก๋ ขายผ่านออนไลน์
อ่านแล้ว: 5573
หมวด ไร่ข้าวโพด ทั้งหมด >>