ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 8677 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ราคาอ้อย ขยับพันบาท รับฤดูหีบ 2559/60 แนวโน้มราคานํ้าตาลโลกพุ่งต่อเนื่อง

ราคาอ้อย - ราคาน้ำตาลทรายโลก ขยับขึ้นต่อเนื่อง กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย มั่นใจ ฤดูการผลิต 59/60 นี้ ถึง 1 พันบาทต่อตัน..

data-ad-format="autorelaxed">

ราคานํ้าตาลทรายโลกขยับขึ้นต่อเนื่อง มีโอกาสแตะที่ 19 เซ็นต์ต่อปอนด์ กองทุนอ้อยและนํ้าตาลทรายมั่นใจ ฤดูการผลิต 2559/2560 ไม่ต้องกู้เงินมาช่วยเหลือต้นทุนผลิตให้ชาวไร่ ประเมินราคาอ้อยวิ่งขึ้นถึง 1พันบาทต่อตัน หลังจากฤดูที่ผ่านมาต้องช่วย 1.5 หมื่นล้านบาท เริ่มจ่ายต้นก.ค.นี้ ขณะที่บราซิลฟ้อง WTO แล้ว เหตุไทยอุดหนุนส่งออกนํ้าตาลจี้ปรับโครงสร้างอุตฯอ้อยและนํ้าตาลทรายแก้ปัญหา

 

อ้อยราคาพุ่ง

 

นายวีระศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะทำงานไปดำเนินการคัดเลือกสถาบันการเงินในการกู้เงินมาเพื่อช่วยเหลือต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อยในฤดู 2558/2559 ในอัตรา 160 บาทต่อตัน ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เนื่องจากราคาอ้อยตกต่ำราคาขั้นต้นอยู่ราว 808 บาทต่อต้นโดยจะให้สถาบันการเงินต่างๆ เสนอเงื่อนไขและดอกเบี้ยอัตราต่ำไม่เกิน 4.25 % ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของดอกเบี้ยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในเดือนมิถุนายนนี้ และจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 1 ราย

 

สำหรับการกู้เงินในครั้งนี้ จะอยู่ในวงเงินประมาณ 1.504 หมื่นล้านบาท ตามปริมาณอ้อยที่เข้าหีบปรับตัวลดลงอยู่ที่ 94.04 ล้านตัน เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้มีอ้อยเข้าต่ำกว่าปีก่อนที่อยู่ในระดับ 106 ล้านตัน และต้องกู้เงินมาช่วยเหลือต้นทุนการผลิตราว 1.69 หมื่นล้านบาท โดยเงินกู้ดังกล่าวคาดว่าจะสามารถจ่ายให้กับชาวไร่อ้อยที่มีอยู่ราว 1.6 แสนรายได้ประมาณต้นทุนเดือนกรกฎาคมนี้

 

อ้อยราคาขึ้น

 

“การกู้เงินครั้งนี้ เนื่องจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายขาดสภาพคล่องมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีรายได้จากการเก็บเงินจากการจำหน่ายน้ำตาลทรายในประเทศกิโลกรัมละ 5 บาท ทำให้มีรายได้เข้ามาประมาณปีละ 1 หมื่นล้านบาท แต่ไม่สามารถเพียงพอที่จะนำมาใช้พยุงราคาอ้อยได้ เนื่องจากต้องนำเงินไปทยอยใช้หนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่กู้มาช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ซึ่งยังเป็นหนี้อยู่ราว 2.6 หมื่นล้านบาท และต้องชำระหนี้คืนให้หมดภายในเดือนสิงหาคม 2561”

 

นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มของราคาน้ำตาลทรายโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ได้ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำตาล ส่งผลให้ราคาน้ำตาลทรายได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับที่ 17 เซ็นต์ต่อปอนด์ และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นอีก โดยมีการคาดการณ์ว่าราคาน้ำตาลทรายในฤดูการผลิตใหม่จะขึ้นไปถึงระดับ 19 เซ็นต์ต่อปอนด์ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาอ้อยในฤดู 2559/2560 ขึ้นไปอยู่ในระดับ 900 บาทต่อตัน เป็นอย่างต่ำ และมีโอกาสที่จะขึ้นไปถึง 1 พันบาทต่อตันได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นกับสถานการณ์ในขณะนั้นว่า ราคาขายน้ำตาลทรายจริงจะเป็นเท่าใด รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทด้วย

 

ดังนั้น หากสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายในฤดูหน้า เป็นไปอย่างที่คาดไว้ จะทำให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องกู้เงินมาช่วยเหลือต้นทุนการผลิตเหมือนกับฤดูที่ผ่านมาอีก และจะทำให้ฐานะกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ในภาวะที่ดีขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกมีความไม่แน่นอน ซึ่งบางปีราคาอาจจะตกต่ำมาก เหมือนกับปีที่ผ่านมา การจะกู้เงินมาช่วยเหลือต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อย จึงถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน และกรณีการช่วยเหลือนี้เอง ทางประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายอันดับ 1 ของโลก ได้มีการนำกรณีการช่วยเหลือชาวไร่ ไปฟ้ององค์การการค้าโลก(WTO) ในการอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนการผลิตให้มีการส่งออกน้ำตาลทรายเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นการผิดหลักทางการค้า ซึ่งในวันที่ 25 พฤษภาคม นี้ทางกระทรวงพาณิชย์ จะมีการชี้แจงและเตรียมที่จะหามาตรการต่อสู้กับทางบราซิล

 

ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหา จึงจำเป็นจะต้องมีการเร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีก็ได้เห็นชอบในหลักการไปแล้ว ใน 5 เรื่อง ได้แก่ 1.การปรับปรุงพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย รวมทั้งกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ครอบคลุมการนำอ้อยไปผลิตเอทานอลและผลิตภัณฑ์อื่นๆได้ 2.การเพิ่มผลิตภาพอ้อยและน้ำตาลทราย 3.การกำหนดต้นทุนมาตรฐานอ้อยและน้ำตาลทราย และมาตรฐานการผลิตน้ำตาลทราย 4.การรักษาเสถียรภาพกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายและ 5.การจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาลทรายและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

 

โดยทั้ง 5 เรื่องนี้ทางครม.ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ โดยเฉพาะการนำรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากอ้อยและน้ำตาลทราย ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเอทานอล ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะต้องเร่งหารือกันทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ว่าภาครัฐ โรงงานน้ำตาล และชาวไร่อ้อย ว่าจะนำรายได้จากส่วนต่างๆ นี้มาแบ่งกันอย่างไร ซึ่งเชื่อว่าหากได้ข้อยุติแล้ว จะทำให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้นมา โดยไม่จำเป็นต้องมาขอให้รัฐบาลช่วยต้นทุนการผลิต และไม่ขัดกับกฎของ WTO ด้วย

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,160 วันที่ 26 – 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 8677 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 6816
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 6691
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9017
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 7562
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 7875
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 7925
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 6933
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>