ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ประมง | อ่านแล้ว 6335 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เลี้ยงหอยลายในบ่อ ประมงโชว์ฝีมือ!

เลี้ยงหอยลายในบ่อ วงการเลี้ยงหอย งานนี้มีเฮ ประมงทำสำเร็จการันตีหอยธรรมชาติ หอยเลี้ยง รสชาติไม่ต่างกัน..

data-ad-format="autorelaxed">

ประมงโชว์ฝีมือเลี้ยงหอยลายในบ่อ เกษตรกรวงการเลี้ยงหอยงานนี้มีเฮ การันตีหอยธรรมชาติ กับ หอยเลี้ยง รสชาติเจ๋งไม่แพ้กันแน่นอน !!

 

เลี้ยงหอยลายในบ่อ5

 

หอยลาย เป็นอาหารทะเลที่รสชาติดีมีคุณค่าทางโภชนาการและนิยมนำมาบริโภคกันอย่างแพร่หลาย สามารถประกอบอาหารได้หลากหลายประเภท อีกทั้งเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของไทยอาชีพ "เลี้ยงหอยลายในบ่อ" จึงอาจเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ดีไม่แพ้อาชีพอื่นๆ

 

เลี้ยงหอยลายในบ่อ4

 

น.ส.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า หอยเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางอาหารไม่น้อยกว่าสัตว์น้ำจำพวกปลา ปู และกุ้ง มนุษย์กินหอยเป็นอาหารมาเป็นเวลายาวนาน ทุกวันนี้สัตว์จำพวกหอยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประเทศ อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงหอยไม่ว่าจะนำมาเพื่อทำเป็นอาหาร หรือการเลี้ยงหอยมุกเพื่อเก็บเอาไข่มุกมาขายก็ล้วนแต่เป็นธุรกิจที่สร้างความรุ่งเรืองและทำกำไรให้แก่ผู้เพาะเลี้ยงและประเทศชาติได้เป็นอย่างมาก กรมประมงตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำโดยเฉพาะหอยสายพันธุ์ต่างๆ มาโดยตลอด เห็นได้จากการกำหนดมาตรการทางกฎหมาย เพื่อควบคุมการทำประมงหลายมาตรการ อีกทั้งยังมีการศึกษา วิจัย การเพาะขยายพันธุ์ และฟื้นฟูแหล่งพ่อแม่พันธุ์หอย โดยการปล่อยลูกพันธุ์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรหอยมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น หอยมือเสือ หอยตะเภา หอยพิม หอยหวาน หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยมุก หอยตลับ ฯลฯ และล่าสุดนี้กรมประมงได้ทดลองเลี้ยงหอยลายในบ่อดินจนเป็นผลสำเร็จและเตรียมที่จะขยายผลไปสู่เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยตามชายฝั่งเพื่อช่วยให้เกษตรกรลดการรบกวนหอยลายจากธรรมชาติ ตลอดจนเป็นการช่วยลดต้นทุนในการประกอบอาชีพเนื่องจากไม่ต้องเสียค่าน้ำมันออกเรือไปหาหอยจากธรรมชาติ ซึ่งก็เสี่ยงว่าในแต่ละวันจะสามารถหาหอยได้จำนวนมากหรือน้อย เพราะถ้าเป็นหอยที่เลี้ยงไว้จะสามารถคาดเดาปริมาณผลผลิตได้แน่นอนกว่า

 

เลี้ยงหอยลายในบ่อ2

 

นายธเนศ พุ่มทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หอยลายพบแพร่กระจายมากบริเวณปากแม่น้ำและชายฝั่งทะเลฝั่งอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลอันดามัน แต่จากการศึกษากลับพบว่าหอยลายถึงแม้จะเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ แต่ก็ยังไม่มีผลงานวิจัยด้านการเลี้ยงในทะเลหรือในบ่อกันอย่างอย่างจริงจังมากเท่าที่ควร เนื่องจากหอยลายเป็นสัตว์น้ำที่ต้องใช้น้ำทะเลที่มีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ หากคุณภาพน้ำหรือระบบ

 

เลี้ยงหอยลายในบ่อ1

 

นิเวศไม่สมบูรณ์ หอยลายก็จะตายหรือไม่ก็จะไม่สืบพันธุ์ ทางศูนย์ฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยและเพาะขยายพันธุ์หอยชนิดนี้จนประสบความสำเร็จตั้งแต่ปี 2545 และต่อไปในอนาคตได้มีการวางแผนที่จะนำลูกพันธุ์หอยลายที่ได้ไปปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ อีกทั้งสร้างเครือข่ายการเพาะขยายพันธุ์หอยให้ เกษตรกรได้นำไปเลี้ยงกันในบ่อดิน เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพที่สร้างความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อไป

 

น.ส. สุนิตา เลี่ยมใหม่ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ กล่าวเพิ่มเติมในฐานะนักวิชาการที่ เพาะขยายพันธุ์หอยลายว่า ลักษณะโดยทั่วไปของหอยลายจะเป็นหอยสองฝา เปลือกบาง รูปร่างยาวรี มีลวดลายตาข่ายเป็นสีน้ำตาลพาดตลอดความยาวของเปลือก ช่วงที่มีการสมพันธุ์กันมากที่สุด อยู่ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม กับเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน โดยหอยที่สามารถสืบพันธุ์ได้จะมีขนาดความยาวตั้งแต่ 3 ซม.ขึ้นไป ชอบฝังตัวอยู่ในพื้นดินเลนหรือโคลนเหลว หรือดินโคลนปนตะกอนละเอียด ทางศูนย์ฯ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์จากธรรมชาติมาขุนเลี้ยงให้สมบูรณ์พร้อมสืบพันธุ์ ซึ่งในทุกขั้นตอนก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เริ่มตั้งแต่การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในถังไฟเบอร์กลาส การบริหารจัดการระบบน้ำซึ่งทางศูนย์ฯ ได้จัดทำระบบน้ำไหลเลียนแบบธรรมชาติเพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพเอื้อต่อการเจริญพันธุ์ การคัดเลือกอาหารของพ่อแม่พันธุ์รวมถึงลูกพันธุ์จะต้องมีการคัดขนาด ลดความหนาแน่นตลอดการอนุบาล ซึ่งหลังจากที่เพาะขยายลูกพันธุ์หอยได้สำเร็จ ทางศูนย์ฯ จะทำการอนุบาลก่อนลงบ่อดินจนได้ขนาดประมาณ 2 ซม. ซึ่งขั้นตอนในการอนุบาลนี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการที่จะกำหนดว่าลูกพันธุ์หอยที่ได้จะมีอัตราการรอดมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นการเฝ้าสังเกตลูกพันธุ์จึงเป็นข้อมูลสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพหอยเป็นอย่างมาก ทางศูนย์ฯ ได้เลี้ยงลูกพันธุ์หอยประมาณ 3 ระยะด้วยกัน ระยะที่ 1 ตัวอ่อนจะเลี้ยงและสังเกตจากบ่อไฟเบอร์กลาสและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ระยะที่ 2 นำมาเลี้ยงต่อในระบบน้ำผุดใช้น้ำจากบ่อดินปรับสภาพก่อนนำไปเลี้ยงในบ่อดิน ลดต้นทุนเร่งการเจริญเติบโต ระยะที่ 3 จะนำลูกพันธุ์หอยไปปล่อยในบ่อดินของทางศูนย์ฯ ซึ่งจะเจอกับสภาวะอากาศของจริงเพื่อให้ลูกพันธุ์แข็งแรงและปรับตัวกับธรรมชาติก่อนที่เกษตรกรจะนำไปเลี้ยง

 

เลี้ยงหอยลายในบ่อ3

 

ขณะนี้ทางศูนย์ฯ ได้เร่งเพาะขยายพันธุ์ให้ได้ลูกหอยจำนวนมาก พันธุ์หอยบางส่วนจะถูกเตรียมนำลงไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ บางส่วนจะนำมาพัฒนาต่อยอดสร้างเครือข่ายเพื่อให้ผลผลิตหอยลายของทางศูนย์เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันทางศูนย์ฯ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ 2 รุ่น/เดือน ได้ผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตัว/เดือน ซึ่งถือว่าผลงานออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ และแน่นอนว่าหากทางศูนย์ผลิตพันธุ์หอยลายได้ปริมาณมากพอซึ่งคาดว่าอีกไม่นานนี้อย่างแน่นอนก็จะเตรียมแบ่งพันธุ์หอยลายขายให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจ ท่านใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ โทร.032-661-398

 


ข้อมูลจาก fisheries.go.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6335 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ประมง]:
เพาะปลากัดส่งนอก ขายราคาดี ที่อิหร่าน
เพียงแค่เดือนเดียว พ่อค้ามีออเดอร์ส่งไปอิหร่าน 200,000 ตัว เพราะมีความนิยมนำไปให้กันเป็นของขวัญตามความเชื่อ
อ่านแล้ว: 6201
วิธีรับมือเวลาที่กุ้งก้ามแดงราคาลง
สำหรับผมเองปีแรกที่เจอ ก็มีอาการชะงักและท้อเหมือนกัน เพราะยังไม่ทันจะเพาะลูกกุ้งได้เลยและจู่ๆร าคาก็มาลงซะและ
อ่านแล้ว: 5548
ประมงดันปลากัด สัตว์น้ำประจำชาติ
รูปถ่ายปลากัดสีทองประกายแสด ถูกบริษัทผลิตสมาร์ทโฟน ซื้อลิขสิทธิ์นำไปเป็นภาพบนโทรศัพท์มือถือยี่ห้อดัง จนโด่งดังไปทั่วโลก
อ่านแล้ว: 5768
กรมประมง ออกประกาศ คุมธุรกิจ! กุ้งก้ามแดง

อ่านแล้ว: 5158
ครม.เห็นชอบประกาศ สนย. ฉบับที่ 3 แก้ปัญหาขาดแรงงานต่างด้าวในเรือประมง

อ่านแล้ว: 5496
คลอดเกณฑ์ใหม่ทำประมงทั้งปี 6 เครื่องมือได้เฮ- ฉัตรชัย ย้ำอาเซียนยึดยั่งยืน

อ่านแล้ว: 5428
เลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน

อ่านแล้ว: 6073
หมวด ประมง ทั้งหมด >>