ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 6036 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การเลี้ยงโคเนื้อเชิงธุรกิจ

เลี้ยงโคเนื้อให้ได้กำไร ต้องสามารถผลิตลูกโคให้ได้จำนวนมาก ต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์เลี้ยงให้เหมาะสมกับวิธีการเลี้ยง..

data-ad-format="autorelaxed">

ลูกโคเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงโคเนื้อ การเลี้ยงโคเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกโคให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่โคควรสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกโคมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด จึงจะขายได้ราคาดี การที่จะทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของโคระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม การเลี้ยงโคเนื้อที่จะให้ผู้เลี้ยงได้กำไรตอบแทนมากจะต้องเริ่มตั้งแต่ การเลือกพันธุ์โคที่จะเลี้ยงให้ เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและวัตถุประสงค์ที่จะเลี้ยง เช่น ลูกโคที่ผลิตได้จะสนองความต้องการของตลาดประเภทใด สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มเลี้ยงโคปัญหาสำคัญคือจะเลี้ยงโคพันธุ์อะไร ดังนั้นจะต้องทราบว่าโคพันธุ์ต่างๆที่จะหาได้มีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะสมกับวิธีการที่เราจะเลี้ยงหรือไม่ ควรซื้อโคที่มีลักษณะอย่างไร

 

เมื่อจัดหาแม่โคได้แล้ว จะต้องมีการจัดการด้านการผสมพันธุ์ที่ถูกต้อง ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของแม่โคระยะต่างๆ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นระยะจากแม่โคคลอดลูกถึง 3-4 เดือนหลังคลอด ระยะที่ 2 เป็นแม่โคท้อง 4-6 เดือน และ ระยะที่ 3 เป็นแม่โคท้อง 3 เดือนก่อนคลอด ลูกโคคลอดแล้วจะต้องจัดการอย่างไร ลูกโคเพศเมียที่หย่านมแล้วซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเก็บไว้เป็นแม่พันธุ์ทดแทนนั้นจะต้องเลี้ยงดูให้โตเร็วไม่แคระแกรนจึงจะใช้ผสมพันธุ์ได้เร็วที่สุดและเป็นแม่พันธุ์ที่ดี การจัดการเลี้ยงดูแม่โคสาวที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกจะแตกต่างกับการเลี้ยงดูแม่โคที่เคยให้ลูกแล้ว เพราะแม่โคสาวยังไม่เติบโตเต็มที่จะต้องทำน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก และเป็นการตั้งท้องและเลี้ยงลูกตัวแรก ผู้เลี้ยงจึงต้องดูแลเอาใจใส่มากกว่าแม่โคที่เคยให้ลูกแล้ว

 

การเลี้ยงโคพ่อพันธุ์และการจัดการผสมพันธุ์ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แม่โคผสมติดเพื่อให้ลูกโคได้ดีการผสมเทียมเป็นวิธีการผสมโดยฟาร์มไม่ต้องเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้เอง และเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ ให้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว การให้อาหารที่เหมาะสม จะต้องทราบความต้องการอาหารของโคในระยะต่างๆว่าต้องการโภชนะหรือ คุณค่าของอาหารในแต่ละวันเท่าใด และอาหารที่จะใช้เลี้ยงมีคุณค่าทางอาหารหรือโภชนะเท่าใดจึงจะสามารถคำนวณได้ว่าจะต้องให้อาหารจำนวนเท่าใดจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของโค ความต้องการอาหารส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับขนาดหรือน้ำหนักตัวของโค ผู้เลี้ยงโคที่ไม่มีตาชั่งประจำฟาร์มสามารถหาน้ำหนักโดยประมาณจากความยาวรอบอกโค เมื่อให้อาหารไประยะหนึ่งแล้วควรทำการตรวจสอบโดยดูความสมบูรณ์ของโคจาก คะแนนสภาพร่างกาย นอกจากการจัดการเลี้ยงดูและการให้อาหารที่ถูกต้องแล้ว การดูแลด้านสุขภาพโคก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยฟาร์มที่ดำเนินการเป็นธุรกิจอาจต้องทำการขุนโคและคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์โคให้เหมาะสมกับสภาพ การผลิตและการตลาด ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการจัดการฟาร์มให้ได้ผลกำไรมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในตอนท้ายของหนังสือนี้จึงได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการดังกล่าวให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาเลือกใช้หรือให้คำแนะนำแก่เกษตรกรต่อไป

 

พันธุ์โค

โคเนื้อมีหลายพันธุ์ แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะพันธุ์ที่มีอยู่ค่อนข้างแพร่หลายในประเทศไทยที่สามารถหา ซื้อใช้ทำพันธุ์และสามารถหาน้ำเชื้อใช้ในการผสมพันธุ์ได้เท่านั้น

 

 

โคพื้นเมือง

โคพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอแต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อน และอาจมีสีประรวมอยู่ด้วย เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300 – 350 กก.เพศเมีย 200 – 250 กก.

 

โคพื้นเมือง
ภาพที่ 1 โคพื้นเมืองไทย

 

ข้อดี

1. เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหาร เพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยงแบบไล่ต้อนโดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดได้เป็นอย่างดี
2. ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่โคที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ
3. ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี
4. ใช้แรงงานได้ดี
5. แม่โคพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มัน โค พันธุ์ตาก โคกำแพงแสน หรือโคกบินทร์บุรี
6. มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารแบบไทย
7. สามารถใช้งานได้

 

โคพื้นเมืองไทย

ภาพที่ 2 โคพื้นเมืองไทย ทนทาน เลี้ยงง่าย

 

ข้อเสีย

1. เป็นโคขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด
2. ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดโคขุนต้องการ คือที่น้ำหนักมีชีวิต 450 กก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก
3. เนื่องจากแม่โคมีขนาดเล็กจึงไม่เหมาะที่จะผสมกับโคพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โรเล่ส์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการคลอดยาก

 

 

โคพันธุ์บราห์มัน(Brahman)

มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย แต่ถูกปรับปรุงพันธุ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โคพันธุ์นี้ที่เลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย แล้วนำมาคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์โดยกรมปศุสัตว์และ ฟาร์มของเกษตรกรรายใหญ่ในประเทศ เป็นโคที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวกว้าง ยาว และลึก ได้สัดส่วน หลังตรง หนอกใหญ่ หูใหญ่ยาว จมูก ริมฝีปาก ขนตา กีบเท้าและหนังเป็นสีดำ เหนียงที่คอและหนังใต้ท้องหย่อนยาน โคนหางใหญ่ พู่หางสีดำ สีจะมี สีขาว เทา และ แดง ที่นิยมเลี้ยงกันมากคือสีขาวเพศผู้โตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 800 – 1,200 กก. เพศเมีย ประมาณ 500 – 700 กก.

 

ข้อดี

1. ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศร้อนของเมืองไทยได้ดี
2. ทนทานต่อโรคและแมลง โตเร็ว
3. เหมาะสำหรับเป็นโคพื้นฐานเพื่อผลิตโคเนื้อคุณภาพดีและโคนม เช่น ผสมกับพันธุ์ชาร์โรเล่ส์เพื่อผลิตโคขุน ผสมกับพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน(ขาวดำ)เพื่อผลิตโคนม และผสมกับพันธุ์ซิมเมนทัลเพื่อผลิตโคกึ่งเนื้อกึ่งนม
4. สามารถใช้งานได้

 

ข้อเสีย

1. เป็นโคพันธุ์ที่มีอัตราการผสมติดค่อนข้างต่ำ ให้ลูกตัวแรกช้า และให้ลูกค่อนข้างห่าง
2. ส่วนใหญ่เลือกกินเฉพาะหญ้าที่มีคุณภาพดี เมื่อหญ้าขาดแคลนจะทรุดง่าย ซึ่งจะเห็นได้จากเมื่อปล่อยเข้าแปลงหญ้าจะเดินตระเวนไปทั่วแปลงหญ้าก่อนแล้วจึงค่อยเลือกกินหญ้า

 

โคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์(Charolais)

มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส มีสีขาวครีมตลอดทั้งตัว รูปร่างมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขาสั้น ลำตัวกว้าง ยาว และลึก มีกล้ามเนื้อตลอดทั้งตัว นิสัยเชื่อง เป็นโคที่มีขนาดใหญ่มาก เพศผู้เมื่อโตเต็มที่หนัก ประมาณ 1,100 กก. เพศเมีย 700 – 800 กก.

 

โคพันธุ์ชาร์โรเลส์

ภาพที่ 3 โคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์

 

ข้อดี

1. มีการเติบโตเร็ว ซากมีขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม เนื้อสันมีไขมันแทรก(marbling)เป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี
2. เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคบราห์มันหรือลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกมาเลี้ยงเป็นโคขุน

 

ข้อเสีย

1. ถ้าเลี้ยงเป็นพันธุ์แท้หรือมีสายเลือดสูงๆจะไม่ทนต่อสภาพอากาศในบ้านเรา
2. ไม่เหมาะที่จะใช้ผสมกับแม่โคขนาดเล็กเพราะอาจทำให้คลอดยาก

 

ที่มา : กลุ่มวิจัยและพัฒนาโคเนื้อ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6036 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7012
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7098
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 6758
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 7857
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6302
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5565
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 5874
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>