ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 6663 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ทานตะวัน การปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากทานตะวัน

ทานตะวัน เป็นพืชที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ทั้งในตลาดคนรักสุขภาพ ตลาดอุตสาหกรรม และตลาดค้าปลีก ตามมาดูกันครับ..

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกทานตะวัน

ฤดูปลูกทานตะวัน

- ในสภาพไร่ ปลูกในช่วงปลายฤดูฝน เดือนกันยายน-กลางเดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนตกกระจายสม่ำเสมอตลอดช่วงฤดูปลูก 400-600 มิลลิเมตร

- ในสภาพนา ปลูกในช่วงฤดูแล้ง เดือนตุลาคม-ธันวาคม

- ในสภาพไร่ที่มีน้ำชลประทาน สามารถปลูกในช่วงดังกล่าวได้เช่นกัน

ดอกทานตะวัน

การเตรียมดินปลูกทานตะวัน

- ในสภาพไร่ ไถดะลึก 30-35 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7 วัน แล้วไถพรวนดินด้วยผาล 7 อีกครั้งหนึ่ง

- ในสภาพนา ไถดะลึก 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7 วัน แล้วไถพรวนดินด้วยผาล 7 อีกครั้ง ยกร่องปลูก อาจเป็นร่องสำหรับ ปลูกแถวเดียว หรือแถวคู่ โดยยกร่องกว้าง 1.5 เมตร

วิธีการปลูกทานตะวัน

ระยะปลูก 75 x 25 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2 เมล็ดต่อหลุม ลึก 4-5 เซนติเมตร แล้วกลบหลุม ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุมหลังงอกแล้ว 10 วัน รวมประมาณ 8,533 ต้นต่อไร่

เพาะเมล็ดทานตะวันงอก

การดูแลรักษาทานตะวัน

การให้ปุ๋ยทานตะวัน

- ดินร่วนทราย หรือดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมปลูก (รองก้นร่อง หรือก้นหลุม) 25 กิโลกรัม และอีกครึ่งหนึ่งให้ครั้งที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก หรือสูตร 16-8-8 อัตรา 60-70 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งครึ่ง ครึ่งแรกใส่รองก้นร่องพร้อมปลูก และครั้งที่ 2 โรยข้างแถวแล้วพรวนกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก

- ดินร่วนสีน้ำตาล ให้ปุ๋ยสูตร 20 - 20 - 0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 16-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูก และที่อายุ 20-25 วันหลังงอก ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ

- ดินเหนียวสีดำ ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ พร้อมปลูก รองก้นหลุม 25 กิโลกรัม และอีกครึ่งหนึ่ง ให้ครั้งที่ 2 โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังปลูก

- ดินเหนียวสีแดง ให้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมปลูก (รองก้นร่อง หรือก้นหลุม) 25 กิโลกรัม และให้ครั้งที่สองอีก 25 กิโลกรัมเมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก

การให้น้ำทานตะวัน

- ในสภาพนา หรือในสภาพไร่ การปลูกในช่วงฤดูแล้ง โดยการให้น้ำ ชลประทาน ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในปริมาณ 30-35 มิลลิเมตรต่อครั้ง ทุก ๆ 10-14 วัน และหยุดให้น้ำเมื่อสิ้นสุดระยะสร้างเมล็ด หรือประมาณ 20-25 วันหลังดอกบานแล้ว รวม 6-7 ครั้งตลอดฤดูปลูก

- ในกรณีที่ให้น้ำตามร่องระหว่างแถวปลูก ควรให้น้ำสูงระดับ 2 ใน 3 ของระดับความลึกของร่อง หลังให้น้ำแล้ว ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมแปลงปลูก เกิน 24 ชั่วโมง

 

การเก็บเกี่ยวผลผลิตทานตะวัน

เก็บเกี่ยวทานตะวันตามช่วงอายุของพันธุ์ที่ปลูก หรือเมื่ออายุประมาณ 90- 120 วัน หรือหลังจากจานดอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วประมาณ 7-14 วัน โดยใช้กรรไกรตัดจานดอก โดยเลือกเฉพาะดอกที่สมบูรณ์

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวทานตะวัน

- นำจานดอกที่เก็บเกี่ยวแล้วตากแดด 1-2 แดด บนลานซีเมนต์ หรือตาก บนผืนผ้าใบและคลุมกองจานดอกทานตะวันด้วยผืนผ้าใบในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันน้ำค้าง

- กะเทาะเมล็ดจากจานดอก โดยใส่จานดอกในถุงผ้า หรือกระสอบแล้ว ใช้ท่อนไม้ทุบ หรือใช้เครื่องนวดถั่วเหลืองที่ดัดแปลงแล้วความเร็วรอบ 200 -350 รอบต่อนาที

- นำเมล็ดที่กะเทาะแล้วไปตากแดด 1-2 แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ด ให้เหลือประมาณ 12-14 เปอร์เซ็นต์ แล้วทำความสะอาดเมล็ด

- บรรจุเมล็ดที่ได้ในกระสอบป่านที่ไม่ชำรุด สะอาด

- ตัดแต่งปากกระสอบให้เรียบร้อย และเย็บปากกระสอบด้วยเชือกฟาง

- ควรวางกระสอบที่บรรจุเมล็ดทานตะวันในที่ร่ม บนพื้นที่มีแผ่นไม้รอง

การขนส่งทานตะวันหลังเก็บเกี่ยว

- ระหว่างการขนส่ง ไม่ควรให้เมล็ดทานตะวันถูกความชื้น

- รถบรรทุกต้องสะอาด และเหมาะสมกับปริมาณเมล็ดทานตะวัน

- ไม่ควรเป็นรถที่ใช้บรรทุกดิน สัตว์ มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี หรือสารป้องกัน กำจัดศัตรูพืช เพราะอาจมีการปนเปื้อน ยกเว้นจะทำความสะอาดอย่าง เหมาะสม ก่อนนำมาบรรทุก

- กรณีมีการขนส่งเมล็ดทานตะวันในช่วงฤดูฝน ต้องมีผ้าใบคลุม เพื่อป้องกัน เมล็ดทานตะวันถูกความชื้น และได้รับความเสียหาย

 

ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากทานตะวัน

ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ประมาณปลายพฤศจิกายนไปจนถึงปลายธันวาคม ที่จังหวัดลพบุรีจะมีสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่ชักนำนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศทั่วไทยให้มาเยี่ยมมาเยือน รวมถึงทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม ของเราด้วยเช่นกัน สถานที่แห่งนั้นคือ “ทุ่งดอกทานตะวัน” ช่วงที่กล่าวข้างต้นที่จังหวัดลพบุรีจะเต็มไปด้วยทุ่งดอกทานตะวันสีเหลืองสดใสออกมาท้าทายแดดจ้า เชื้อเชิญให้พวกเราเข้าไปเก็บภาพถ่ายกันจนจุใจ เมื่อเที่ยวชมเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะพลาดไม่ได้และเป็นไฮไลท์ของปากท้องก็คือ “ของฝาก” นั่นเอง แล้วที่ทุ่งดอกทานตะวันจะมีอย่างอื่นเป็นของฝากได้อย่างไรถ้าไม่ใช่ “เมล็ดทานตะวัน”

เมล็ดทานตะวัน พระเอกของงานนี้จะถูกจับไปปรุงแต่ง ปรับรสชาติให้น่าลิ้มลอง กลายเป็น เมล็ดทานตะวันอบเกลือ เมล็ดทานตะวันอบน้ำผึ้ง เมล็ดทานตะวันอบสมุนไพร บางส่วนถูกส่งไปสร้างสัมพันธไมตรีกับแป้งสาลีกลายมาเป็น “คุ้กกี้เมล็ดทานตะวัน” เพิ่มความแปลกใหม่ สำหรับสนนราคาของเมล็ดทานตะวันอบรสชาติต่าง ๆ ถุงเล็กประมาณ 20-25บาท ถุงใหญ่ 35บาท 3 ถุง 100ถ้าต้องการมากกว่านั้น ก็สั่งต่างหากได้ตามต้องการ สำหรับคุ้กกี้อยู่ที่กล่องละ 35 บาท 3 กล่อง 100 หรือจะเลือกน้ำผึ้งดอกทานตะวัน ก็มีหลายขนาดตั้งแต่ประมาณ 70 บาทต่อขวด ถึง 170 บาทต่อขวด

หากท่านใดไม่พิศมัยของฝากที่เป็นของกิน ก็มีของที่ระลึกให้เลือกซื้อมีทั้งที่คั่นหนังสือรูปดอกทานตะวันสีสันสดใส กรอบรูปที่ตกแต่งด้วยดอกทานตะวัน เข็มกลัด ที่ติดผม และข้าวของเครื่องประดับต่าง ๆ ที่เต็มไปด้วยดอกทานตะวันน้อยใหญ่จากฝีมือของเหล่าชาวบ้านในชุมชมนั้น สนนราคาก็เริ่มตั้งแต่ 5 บาทเป็นต้นไป

น้ำผึ้งทานตะวัน

น้ำผึ้งดอกทานตะวัน

ทานตะวันงอก

ทานตะวันงอก

น้ำมันทานตะวัน

น้ำมันจากทานตะวัน

น้ำมันดอกทานตะวัน

น้ำมันจากทานตะวัน

เมล็ดทานตะวัน
เมล็ดทานตะวัน


อ้างอิง pirun.ku.ac.th

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6663 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6022
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6392
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8250
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 6836
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 6816
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6311
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6339
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>