ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 8311 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เชื้อบีทีเป็นแบคทีเรียธรรมชาติ ที่ใช้กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชอย่างได้ผลดีมาก และปลอดภัยที่สุด

เชื้อแบคทีเรียน Bacillus thuringiensis หรือเรียกว่าเชื่อ บีที (Bt) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จัดเป็นจุ..

data-ad-format="autorelaxed">

บีที (Bt) คืออะไร

เชื้อแบคทีเรียน Bacillus thuringiensis หรือเรียกว่าเชื่อ บีที (Bt) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์

สามารถนำมาใช้กำจัด หนอน แมลงศัตรูพืช และศัตรูมนุษย์ได้หลายชนิด เนื่องจากมีความเฉพาะเจาะจงสูในการทำลายเฉพาะแมลงเป้าหมายเท่านั้น

เชื้อบีที จึงเป็นจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ สัตว์เลือดอุ่น ปลา และนก รวมทั้งแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ผึ้ง แมลงห้ำและแมลงเบียนเป็นต้น จากข้อดีของความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย ปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ทั่วโลกจึงได้มีการวิจัยและพัฒนาเชื้อบีทีอย่างกว้างขวาง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำมาใช้เป็นสารชีวินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช และศัตรูมนุษย์

บีที กำจัดหนอน

รูปร่างลักษณะของเชื้อบีที (Bt)

เชื้อบีทีเป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงถึง 400 เท่า จึงจะสามารถมองเห็นได้ เชื้อบีทีมีรูปร่างเป็นแท่ง ความกว้างประมณ 0.5 – 0.8 ไมโครเมตร ยาว 1.0 – 3.0 ไมโครเมตร สามารถสร้างสปอร์และสารพิษภายใน
เซลล์ของมัน เราเรียกสารพิษนี้ว่า เดลต้า – เอ็นโดท็อกซิน (delta – endotoxin) มีรูปร่างเป็นผลึกคล้ายขนมเปียกปูนหรือรูปสี่เหลี่ยม ขบวนการสร้างสารพิษนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างสปอร์ หลังจากเซลล์สร้งสปอร์และสารพิษเสร็จเรียบร้อยแล้ว เซลล์จะแตกสปอร์และสารพิษหลุดออก
จากเซลล์

เชื้อแบคทีเรียบีที ฆ่าแมลงได้อย่างไร

เชื้อบีทีแตกต่างจากสารเคมีฆ่าแมลงที่ส่วนใหญ่มักจะถูกตัวตาย แต่เชื้อบีทีกำจัดแมลงตัตรูพืชนั้น แมลงจะต้องกินเชื้อบีทีเข้าไปถึงจะออกฤทธิ์ทำลายแมลงได้ โดยทั่วๆ ไปเชื้อบีทีจะทำลายเฉพาะตัวอ่อนของเมลงเท่านั้น เช่น ตัวหนอน หรือลูกน้ำยุง จะไม่ทำลายศัตรูพืชระยะที่เป็นไข่หรือตัวเต็มวัย ยกเว้นบีทีบางสายพันธุ์ที่สามาระทำลายได้ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของด้วงปีกแข็งบางชนิดเมื่อแมลงกินสารพิษ และสปอร์เข้าไปในกระเพาะ น้ำย่อยในกระเพาะมีคุณสมบัติเป็นด่างค่อนข้างสูง จะย่อยสารพิษซึ่งอยู่ในรูป protoxin ให้เป็น active toxin (สารพิษแท้จริง) ซึ่งจะเข้าทำลายเซลล์เยื้อบุผนังกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารและระบบทางเดินอาหารถูกทำลาย ระดับความเป็นกรด – ด่างภายใน ลำตัวของแมลงเปลี่ยนไป ส่งผลให้แมลงเป็นอัมพาตหรือเคลื่อนไหวช้าลง ทำให้แมลงไม่สามารถกินอาหารได้ ขณะเดียวกันเมื่อผนังของกระเพาะอาหารถูกทำลาย สปอร์ของบีทีและเชื้อโรคที่อยู่ในกระเพาะสามารถไหลผ่านจากรูแผลบนผนังกระเพาะเข้าสู่ระบบเลือดของแมลง จะขยายทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้โลหิตเป็นพิษ แมลงจะตายในเวลาต่อมา โดยทั่ว ๆ ไปเชื้อบีทีจะทำลายแมลงโดยใช้ระยะเวลา 2 – 3 วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของแมลง และปริมาณเชื้อของบีทีที่แมลงกินเข้าไปด้วย

ชนิดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญที่สามารถควบคุมด้วยเชื้อบีที

หนอนใยผัก หนอนคืบกระหล่ำ หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนร่านกินใบปาล์ม หนอนแปะใบ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนแก้วส้ม หนอนกินสนสามใบ

วิธีการใช้เชื้อบีที

1. ควรอ่านฉลากข้างภาชนะบรรจุเสียก่อน เพื่อให้ทราบว่าเชื้อบีทีชนิดนี้สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดใดได้บ้าง มีเชื่อแมลงศัตรูพืชที่ต้องการกำจัดระบุอยู่บนฉลากหรือไม่ ทั้งนี้ ในท้องตลาดมีบีทีหลายสายพันธุ์ ประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงจะแตกต่างไป

2. เชื้อบีทีเป็นสิ่งมีชีวติ จะถูกทำลายโดยรังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) จากแสงแดด ดังนั้น จึงควรพ่นบีทีหลังบ่ายสามโมงเย็นไปแล้ว จะช่วยยืดอายุเชื้อบีทีบนต้นพืชให้มีรปะสิทธิภาพอยู่ได้นานขึ้น

3. แมลงต้องกินเชื้อเข้าไป บีที จึงจะสามารถทำลายแมลงได้ แมลงศัตรูผักบางชนิด เช่น หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ มักอาศัยกัดกินอยู่ด้านล่างของใบ ดังนั้น การพ่นบีทีควรครอบคลุมบริเวณส่วนล่างของใบพืชด้วย จึงจะสามารถควบคุมหนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. การปรับหัวฉีดเครื่องพ่นสารให้ละอองเล็กที่สุดจะช่วยให้ละอองยาเกาะผิวใบได้ดี และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงได้ดีขึ้น

5. ควรผสมสารจับใบในการพ่นเชื้อบีทีทุกครั้งตามอัตราแนะนำการใช้ที่ข้างขวด

6. การพ่นเชื้อบีทีควรพ่น เมื่อสำรวจพบหนอนตัวเล็ก ซึ่งเป็นหนอนวัยแรก ๆ (วัย 1 – 3) จะให้ผลในการควบคุมดีกว่าการพ่นเชื้อเมื่อพบหนอนตัวใหญ่ (วัย 4 – 5)

7. ไม่ควรผสมเชื้อบีทีกับสารป้องกันกำจัดโรคพืช เพื่อใช้พ่นในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิดอาจทำให้เชื้อบีทีเสื่อประสิทภาพได้

8. เนื่องจากเชื้อบีทีออกฤทธิ์ช้า ใช้เวลา 2 – 3 วัน แมลงถึงจะตาย ดังนั้น การใช้อัตราสูงกว่าคำแนะนำไม่ช่วยให้แมลงตายเร็วขึ้น การใช้อัตราต่ำกว่าคำแนะนำ จะส่งผลทำให้แมลงไม่ตาย และทำความเสียหายแก่ผลผลิต จึงควรใช้เชื้อบีทีตามอัตราที่แนะนำ

9. เมื่อพบการระบาดของแมลงรุนแรง ควรพ่นเชื้อบีทีตามอัตราแนะนำ โดยพ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง ระยะห่างกัน 3 – 4 วัน จะช่วยลดความเสียหายจากแมลงได้ดีกว่าการพ่นเพียงครั้งเดียว

“บีที” เป็นสารชีวินทรีย์กำจัดแมลงศัตรูพืช ที่มีประสิทธิภาพกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าการออกฤทธิ์ของบีทีจะต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าแมลงศัตรูพืชจะตาย แต่เป็นการทำลายแมลงศัตรูพืชที่เป็นวิธีการที่ปลอดภัยกว่าการ
ใช้สารเคมีโดยทั่วๆ ไป

ผลิตภัณฑ์แนะนำ ที่เกี่ยวข้องกับบีที

ไอกี้-บีที : กำจัดหนอนปลอดสารพิษ

ฆ่าหนอน กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชด้วยสารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง ไอกี้ - บีที [ Aiki-BT ] เพิ่มศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกร โดยการรวมประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของเชื้อ เมื่อแมลงศัตรูพืชได้รับสารพิษนี้เข้าไป ลำตัวเหี่ยวแห้ง และตายภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตราต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค..

ไอกี้บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ

ไอกี้ - บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ

ประกอบด้วยจุลินทรีย์สายพันธ์ บีที (BT) ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ Bacillus thuringiensis var. aizawai และ Bacillus thuringi
ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ

ไอกี้ - บีที [ Aiki-BT ]
ชื่อสามัญ : บาซิลลัส ทูริงเยนซิส [ Bacillus truringiensis ] กลุ่มสารเคมี : Bacterium
สารสำคัญ : Bacillus thuringiensis var. kurstaki

นำหนักสุทธิ : 500 กรัม

ฆ่าหนอน กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชด้วยสารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง ไอกี้ - บีที [ Aiki-BT ] เพิ่มศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกร โดยการรวมประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มการปลดปล่อยสารพิษในการทำลายแมลงศัตรูพืช ด้วยการสร้างสารพิษผลึกโปรตีน delta-endotoxins ที่มีอยู่ในเชื้อ Bacillus thuringiensis เมื่อแมลงศัตรูพืชได้รับสารพิษนี้เข้าไป จะทำให้เกิดพิษในกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต ลำตัวเหี่ยวแห้ง และตายภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตราต่อสิ่งแวดล้อม แมลงศัตูธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

วิธีการใช้
อัตราส่วนการใช้ 40-60 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว ทุกๆ 4-7 วัน

วิธีเก็บรักษา
ต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดแน่นและมีฉลากปิดมิดชิด ห่างจากแสงแดด เด็ก สัตว์เลี้ยง และอาหาร

คำเตือน
- ขณะใช้ควรสวมถุงมือ และผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันไม่ให้สารเข้าจมูก หรือสูดดมเข้าไป
- ห้ามฉีดพ่นในเขตใกล้เคียงกับบริเวณที่เลี้ยงหนอนไหม
- ห้ามล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ และเครื่องพ่น ลงในแม่น้ำลำคลอง
- ปิดฝาภาชนะให้แน่นสนิททุกครั้งหลังใช้
- เมื้อใช้เสร็จแล้ว ควรทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย

การแก้พิษเบื้องต้น

หากกลืนกินสารนี้เข้าไป ให้รีบทำให้ผู้ป่วยอาเจียน ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังต้องล้างออกด้วยน้ำสะอาด และสบู่ รีบนำผู้ป่วยออกมาอยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมทั้งภาชนะบรรจุ และฉลาก

สนใจผลิตภัณฑ์ หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย

สั่งซื้อผ่านระบบตระกร้าสินค้าออนไลน์ ที่ http://www.farmkaset.net..

ติดต่อ ฟาร์มเกษตร หรือ FarmKaset.ORG
คุณ ปิยะมาศ
โทร: 089-459-9003
e-mail: [email protected]

อ้างอิงข้อมูลเกี่ยวกับบีที จาก กรมวิชาการเกษตร http://www.doa.go.th..


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 8311 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6024
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6398
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8258
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 6844
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 6819
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6319
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6341
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>