ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 9452 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ต้นสาคู : พืชอาหารพลังงานที่ถูกลืม

ต้นสาคู - คนที่รู้จักต้นสาคูอาจเข้าใจว่าเม็ดสาคูมาจากต้นสาคูที่พวกเขารู้จัก แต่จริงๆแล้วไม่เป็นอย่างนั้น จริงๆแล้วเป็นไง

data-ad-format="autorelaxed">

ต้นสาคู

ต้นสาคู
                     
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์และคนทั่วไปวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศโลกซึ่งมีหลักฐานว่าโลกจะร้อนขึ้น เมื่อเหตุการณ์เป็นอย่างนั้นอาจจะมีผลต่อพืชอาหารที่ให้พลังงานปัจจุบัน เช่นมันฝรั่ง ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพดที่อาจจะปลูกไม่ได้ในพื้นที่ที่เคยปลูก ซึ่งย่อมเป็นผลให้ปริมาณอาหารพลังงานไม่เพียงพอต่อการบริโภคของประชากรโลก  สาคูอาจเป็นพืชอาหารพลังงานทางเลือกหนึ่งที่ทดแทนพืชเหล่านั้นได้เนื่องจากสาคูสามารถผลิตแป้งได้มากกว่าข้าวและข้าวสาลีหลายเท่าในพื้นที่เท่ากัน

เมื่อเอ่ยถึงสาคู เราจะคุ้นหูกับสาคูไส้หมูและขนมเปียกสาคูหน้ากะทิ ซึ่งเป็นอาหารคาว-หวานที่คนไทยชอบรับประทาน แต่น้อยคนนักที่ทราบว่าเม็ดสาคูที่ใช้ทำขนมดังกล่าวทำมาจากอะไร  คนที่รู้จักต้นสาคูอาจเข้าใจว่าเม็ดสาคูมาจากต้นสาคูที่พวกเขารู้จัก แต่จริงๆแล้วไม่เป็นอย่างนั้น  เม็ดสาคูที่ใช้ทำขนมที่เรารับประทานกันเป็นประจำทำมาจากแป้งมันสำปะหลังที่มีลักษณะคล้ายแป้งสาคู  สมัยก่อนเม็ดสาคูทำมาจากต้นสาคูที่เป็นพืชตระกูลปาล์มอย่างที่พบในภาคใต้  แต่หลังจากมีการนำเข้ามันสำปะหลังมาปลูกในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย การทำเม็ดสาคูได้ใช้แป้งมันสำปะหลังแทน  ต้นสาคูไม่ถูกนำมาใช้เป็นแป้งและเม็ดสาคูต่อไป  จนในที่สุดป่าสาคูที่มีนับแสนไร่ในประเทศไทยในอดีตถูกทำลายเหลือไม่กี่หมื่นไร่  ตัวอย่างที่เห็นในจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อปีพ.ศ.2528 มีป่าสาคูเจ็ดหมื่นกว่าไร่ จากการสำรวจของผู้เขียนพบว่า ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงพันกว่าไร่เท่านั้น การทำลายป่าสาคูเท่าที่ผู้เขียนได้ศึกษาเกิดจากความไม่รู้ของประชาชน และการเน้นส่งเสริมการปลูกพืชเพื่อการส่งออกของรัฐบาลเป็นสำคัญ ซึ่งรวมถึงมันสำปะหลังด้วย ในอนาคตหากมีการปลูกพืชชนิดนี้ซ้ำๆในพื้นที่เดิมจะทำให้ดินเสื่อมรวมทั้งการทำให้เกิดพื้นที่แห้งแล้งเป็นบริเวณกว้างได้ ตรงกันข้ามกับสาคูที่เป็นพืชสารพัดนึกในการใช้ประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์ได้ตลอดไป  ดังนั้นคนไทยควรที่จะทำความรู้จักกับพืชชนิดไว้เพื่อการฟื้นฟูให้เป็นทางเลือกสำหรับความมั่นคงทางอาหารในอนาคต

สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่รู้จักต้นสาคู ผู้เขียนแนะนำพืชชนิดนี้ดังนี้ สาคูเป็นพืชตระกูลปาล์มมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Metroxylon sagu Rottb. มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นมะพร้าว ชอบขึ้นอยู่ในที่ชื้นแฉะมีน้ำขังอยู่ตลอดเวลา  เช่นริมแม่น้ำ ริมห้วย ในหนองและในพรุทั่วไป พืชชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอย่างนี้ จึงไม่พบสาคูในพื้นที่ดอนซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงซึ่งโดยปกติจะถูกใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตรทั่วไป สาคูจึงไม่ได้แย่งพื้นที่ทำการเกษตรทั้งที่ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ แต่เป็นพืชที่ขึ้นได้ในสภาพพื้นที่ที่ทำการเกษตรอย่างอื่นไม่ได้มากกว่า ในประเทศไทยมีสาคูอยู่เพียง 14 จังหวัดภาคใต้เนื่องจากมีข้อจำกัดอยู่กับแนวเส้นรุ้งที่17 องศาใต้ ถึง 16 องศาเหนือเท่านั้น ส่วนในพื้นที่อื่นๆของโลกสาคูขึ้นอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาได้แก่ ปาปัวนีวกีนีและมาเลเซีย โดยเฉพาะรัฐซาราวัค ส่วนประเทศอื่นในแถบนี้มีไม่มาก ทั้งนื้อาจเป็นเพราะพืชชนิดนี้มีแหล่งกำเนิดในหมู่เกาะปาซิฟิกใต้ซึ่งได้แก่ ปาปัวนิวกีนีและอินโดนีเซีย ส่วนในประเทศอื่นรวมทั้งประเทศไทยถือว่ามีอยู่เป็นจำนวนน้อยเนื่องจากคนในยุคโบราณนำมาปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ

จากการที่ผู้เขียนได้ศึกษา-วิจัยเกี่ยวกับพืชนี้และคลุกคลีอยู่กับชุมชนที่มีป่าสาคู พบว่าพืชชนิดนี้มีคุณค่าและประโยชน์มากที่ควรแก่การอนุรักษ์และปลูกเพิ่มเติมสำหรับเป็นฐานทรัพยากรในการดำรงชีพและการสร้างเศรษฐกิจของคนไทยในจังหวัดภาคใต้ต่อไป ทั้งนี้เพราะสาคูเป็นพืชมหัศจรรย์ที่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ตั้งแต่รากจนถึงยอด จึงขอเล่าให้ฟังดังนี้ ชาวบ้านเคยใช้รากสาคูเป็นยาสมุนไพรสำหรับรักษาโรคท้องเสีย ลำต้นนำมาทำแป้งสาคูซึ่งมีลักษณะเป็นแป้งมันคล้ายแป้งมันสำปะหลัง เมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะใส เหนียว และนุ่ม จึงนิยมนำมา แปรรูปเป็นอาหารหลายชนิดได้แก่ เม็ดสาคู  ขนมกวนหน้าขี้มันและหน้ากะทิ  ขนมจาก  ขนมจีน เส้นหมี่ขนมปากหม้อ และขนมอบหลายชนิด ในอุตสาหกรรมอาหารได้มีการแปรแป้งดิบให้เป็นแป้งดัดแปร (modified starch) ซึ่งมีคุณสมบัติคงที่เมื่อแปรรูปเป็นอาหารต่าง ๆ

สำหรับปริมาณของแป้งสาคูใน 1 ต้นหากใครเคยเห็นต้นสาคูแล้ว คงคิดไม่ถึงว่าในต้นสาคูมีแป้งอยู่มากอย่างไม่น่าเชื่อ สาคูเป็นพืชที่เก็บคาร์โบไฮเดรตที่สังเคราะห์แสงได้ไว้ในรูปของแป้งในส่วนที่เป็นไส้ของต้น เมื่อสาคูมีอายุประมาณ 9 ปีซึ่งเป็นระยะออกดอกต้นสาคูจะสะสมแป้งไว้ในลำต้นสูงสุด ปริมาณแป้งในต้นสาคู 1 ต้น มีประมาณ 100-175 กิโลกรัมแป้งสด มีการศึกษาปริมาณแป้งที่สาคูที่ผลิตได้ในเนื้อที่ 1 ไร่ ประมาณ 3.5 ตันซึ่งมากเป็น 2.5-4 เท่าของข้าวและเป็น 7-12 เท่าของมันสำปะหลัง ในหมู่บ้านที่มีป่าสาคูมากพอที่จะทำแป้งได้อย่างบ้านดอนกลาง ที่ อ.ร่อนพิบูลย์  บ้านกะโสม ต.กะปาง อ.ทุ่งสง  จ.นครศรีธรรมราช บ้านนาแกเจ้ย และบ้านหนองตะพาบน้ำ อ.นาโยง จ.ตรัง สามารถผลิตแป้งสาคูขายสำหรับทำขนมพื้นเมือง ในราคา 40 บาทต่อ 1 กิโลกรัม ดังนั้นสาคู 1 ต้นสามารถให้มูลค่าแป้งมากถึง 4,000 บาทเป็นอย่างน้อย แต่ถ้าทำเป็นขนมกวนขายจะมีรายได้ถึง 20,000 บาททีเดียว ถ้าคิดเป็นมูลค่าแป้งต่อ 1 ไร่อาจได้ถึง 140,000 บาท ซึ่งนับว่าเป็นรายได้จำนวนมากจากผลผลิตเพียง 1 ไร่

แป้งสาคูในต่างประเทศที่ประเทศผู้ผลิตต่างๆส่งออกไปขายเป็นตลาดใหญ่ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและใต้หวัน ประเทศเหล่านี้นอกจากใช้แป้งสาคูทำอาหารและขนมต่างๆแล้ว ยังใช้แป้งสาคูในอุตสาหกรรม กระดาษ อุตสาหกรรมไม้อัด อุตสาหกรรมกาว อุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลเด็กโทรส อุตสาหกรรมแป้งดัดแปรที่พร้อมจะนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่นที่ต่อเนื่องจากแป้งดัดแปรต่อไป อุตสาหกรรมผงชูรส ในอนาคตหากมีแป้งสาคูมากพอก็สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเอเทอร์นอล และอุตสาหกรรมพลาสติกย่อยสลายได้  เกี่ยวกับความสนใจเรื่องสาคูของญี่ปุ่นได้แสดงให้เห็นอย่างจริงจังและก้าวหน้าไปมาก จากการที่ญี่ปุ่นตั้งองค์กรชื่อ The Society of Sago Palm Studies ในมหาวิทยาลัยโตเกียวเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี(Tokyo University of Agirculture and Technology)ทำหน้าที่ศึกษาวิจัยอย่างจริงจังเพื่อใช้ประโยชน์จากพืชที่ถูกใช้น้อยมากนี้ให้มากที่สุด สำหรับในประเทศไทยยังมีการศึกษาเกี่ยวกับพืชนี้น้อย แต่อย่างน้อยก็มีทีมวิจัยของ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สนใจศึกษาเรื่องนี้ จึงจัดว่าเป็นทีมบุกเบิกเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยสาคูในประเทศไทยได้เหมือนกัน

การใช้ประโยชน์จากต้นสาคูนอกเหนือจากการใช้แป้งแล้ว เกษตรกรบางคนนิยมใช้เนื้อไส้สาคูเลี้ยงด้วง ไส้สาคู 1 ต้นจะเลี้ยงด้วงสาคูได้ประมาณ 15 กิโลกรัม ราคาในตลาดท้องถิ่นขายกันกิโลกรัมละ 200 บาท ใบของต้นสาคูใช้เย็บจากเป็นวัสดุมุงหลังคาบ้านในชนบทซึ่งทำให้อากาศภายในบ้านเย็นสบาย ตลอดปีต้นสาคู 1 ต้นสามารถตัดใบเย็บจากได้ 20 ตับราคาขายในท้องถิ่นตับละ 10 บาท ในพื้นที่ 1 ไร่ซึ่งต้นสาคูได้ 30 ต้น จะสามารถผลิตจากได้ถึง 600 ตับ สร้างรายได้ประมาณ 6.000 บาท ส่วนทางหรือก้านใบที่ตัดใบใช้แล้วยังสามารถลอกผิวใช้สานเสื่อได้อีก ราคาเสื่อสาคู 1 ผืนขนาดกว้าง ยาว 1.5 เมตรมีราคาถึงผืนละ 1,000 บาท ส่วนที่เป็นเนื้อในของทางหลังลอกผิวออกแล้วก็สามารถใช้ทำจุกข้าวหลาม จุกขวด และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เกษตรกรบางคนยังใช้ทางสาคูที่ตัดใบออกแล้วมาสับให้วัว ควายกินได้

ผลตอบแทนโดยอ้อมของป่าสาคูที่ให้กับชุมชน คือการให้พืชพรรณนับร้อยชนิดที่เป็นอาหารและยารักษาโรค ส่วนในน้ำบริเวณป่าสาคูก็จะมีปลานานาชนิด ผู้เขียนและทีมวิจัยได้รวบรวมปลาพื้นเมืองในป่าสาคูที่ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราชได้ถึง 16 ชนิด ส่วนสัตว์ป่าอื่นๆมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน เปรียบเสมือนซุปเปอร์มาร์เก็ตของพวกเขาทีเดียว

เรื่องที่เล่าเกี่ยวกับสาคูเป็นเพียงข้อมูลเล็กน้อยเพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของพืชชนิดนี้ที่อยู่ในภาวะวิกฤติถูกทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากสภาพการทำลายสาคูและการไม่ศึกษาให้เห็นประโยชน์ที่มีมากมายมหาศาลของมันยังคงเป็นอยู่เช่นปัจจุบัน ก็เป็นที่น่าเสียดายที่คนในภาคใต้มีของดีแต่ใช้ไม่เป็น.

โดย รศ.นิพนธ์ ใจปลื้ม
คณะเกษตรศาสตร์  มทร.ศรีวิชัย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รองศาสตราจารย์นิพนธ์  ใจปลื้ม  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
เลขที่ 109  หมู่ที่ 2  ต.ถ้ำใหญ่  อ.ทุ่งสง  จ.นครศรีธรรมราช  80110
โทรศัพท์ 089-7444521 

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 9452 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6126
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 6788
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6235
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 7306
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 6700
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 5700
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 5815
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>