ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 8145 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

จำปาดะ

จำปาดะ - มีถิ่นกำเนิดในดิโดนีเซีย ปลูกมากในภาคใต้ของไทย ให้ผลปีละครั้ง อร่อยมีประโยชน์ ขับไขมัน ขับสารพิษได้

data-ad-format="autorelaxed">

จำปาดะ

จำปาดะ

ชาวภาคใต้เมื่อครั้งก่อนนิยมใช้เนื้อจำปาดะสุกมาเป็นยาระบายอ่อน ๆ และเนื้อผลอ่อน มาช่วยแก้อาการท้องเสีย

จำปาดะ มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย และเกาะนิวกินี ในบ้านเราจะนิยมปลูกกันมากทางภาคใต้ ให้ผลเพียงปีละครั้ง ประมาณเดือนพฤษภาคมเนื้อของผลสุกมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงร่างกาย มีวิตามินเอสูงช่วยบำรุงและรักษาสายตา เส้นใยของจำปาดะสามารถช่วยขับไขมันและสารพิษออกไปจากร่างกายได้ ชาวภาคใต้เมื่อครั้งก่อนนิยมใช้เนื้อจำปาดะสุกมาเป็นยาระบายอ่อน ๆ และเนื้อผลอ่อน มาช่วยแก้อาการท้องเสีย ในทางภาคเหนือของมาเลเซียที่ติดกับภาคใต้ของไทยนิยมใช้รากของจำปาดะมาเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพรแบบดั้งเดิมใช้สำหรับหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร

จำปาดะ

ลักษณะทางธรรมชาติ

- เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก  ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ  เจริญเติบโตได้ดีในเขตภาคใต้ที่มีฝนตกชุก ดินดำร่วน เนื้อดินลึก มีอินทรีย์วัตถุมาก ระบายน้ำและอากาศถ่ายเทดี  ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังค้างนาน          
   
- เป็นพืชสกุลเดียวกันกับขนุนซึ่งสามารถทาบกิ่งหรือเปลี่ยนยอดไปมาซึ่งกันและกันได้

- ออกดอกติดผลทั้งที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งแก่ขนาดใหญ่  ผลที่เกิดตามลำต้นคุณภาพดีกว่าผลใต้ท้องกิ่ง  ผลที่ลำต้นเกิดต่ำใกล้พื้นดินคุณภาพดีกว่าผลที่เกิดตามลำต้นแต่อยู่สูงขึ้นไป  และผลใต้ท้องกิ่งอยู่ชิดโคนกิ่งมากกว่าจะคุณภาพดีกว่าผลที่อยู่ถัดไปทางปลายกิ่ง
             
- รูปร่างภายนอกคล้ายขนุนมาก  จนบางครั้งเรียกว่า  “ขนุนจำปาดะ”   เพียงแต่จำปาดะขนาดผลเล็กกว่า  เปลือกบางกว่า  หนามตื้นกว่า              
 
- เนื้อพูหรือยวงจำปาดะค่อนข้างเหลวเละ  เหมือน  “ขนุนละมุดหรือ ขนุนปุด”

- รับประทานโดยนำพูหรือยวงมาชุบแป้งทอด  เหมือนกล้วยแขก......นิยมรับประทานกันมากในหมู่คนไทยภาคใต้            
 
- วิธีการบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องกันหลายๆปีจนต้นสมบูรณ์เต็มที่จะออกดอกติดผลดกมาก  การซอยผลออกเหลือเป็นผลเดี่ยวที่โคนกิ่งและโคนลำต้นแต่ละผลอยู่ห่างกันเพื่อให้ได้รับน้ำเลี้ยงสม่ำเสมอจะช่วยให้ได้ผลขนาดใหญ่และคุณภาพดี    
        
- ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อยแต่ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ  ถ้าช่วงมีดอกผลขาดน้ำจะไม่มียวงและเมล็ดเล็กลีบ          
  
- ตอบสนองต่อยิบซั่มธรรมชาติและกระดูกป่นดีมาก  จึงควรใส่ยิบซั่มธรรมชาติปีละ 2  ครั้งและกระดูกป่นปีละ 1 ครั้ง          
   
- ต้นที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 7-8 ปี  ส่วนต้นที่ปลูกจากกิ่งตอน.ทาบหรือเพาะเมล็ดเสริมรากเปลี่ยนยอดจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-4 ปี  
           
- ลักษณะทรงพุ่มเหมือนขนุนแต่กิ่งก้านมากกว่าและทรงพุ่มทึบกว่า    
        
- ผลขั้วเดียวตรงขนาดใหญ่จะมีคุณภาพดีกว่าผลเป็นพวงมีขั้วเดียว  
          
- ผลแก่เก็บเกี่ยวลงมาแล้วบ่มเหมือนขนุนจะไม่สุก  ดังนั้นจึงต้องเก็บผลแก่ที่สุกคาต้นเท่านั้น

- จำปาดะมีกลิ่นจัดมากจึงกลายเป็นตัวล่อให้แมลงวันผลไม้และแมลงวันทองเข้าหา วิธีป้องกันต้องห่อผลด้วยทางมะพร้าวหรือถุงปุ๋ยเมื่อผลใกล้สุกเท่านั้น    
         
- ผลสุกสีเปลือกมีสีเหลืองชัดเจน                

สายพันธุ์ต่างๆของ จำปาดะ                

จำปาดะขนุน    

เนื้อนิ่มเหลว  สุกงอมแล้วรสหวานเข้มกลิ่นจัด  ยวงมักไม่เต็มผล (ผลแป้ว)  แกะยวงจากเปลือกค่อนข้างยาก  ติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น  ขนาดผลโตกว่าจำปาดะบ้าน

จำปาดะบ้าน     

ขนาดต้นใหญ่กว่าขนุนจำปาดะ  ออกดอกช่วงหน้าแล้งและติดผลปีละรุ่น  มียวงเต็มผลหรือไม่แป้ว  ติดผลดกมากบางครั้งติดผลเต็มรอบลำต้น  เปลือกหนาแต่ฉีกหรือแกะจากยวงได้ง่าย รสหวาจัดกลิ่นแรงเนื้อเหลว  เมล็ดกลมและต้มสุกแล้วรับประทานอร่อยกว่าจำปาดะขนุน

ทั้งสองสายพันธุ์ยังแยกเป็นพันธุ์มีเมล็ดและพันธุ์ไร้เมล็ดด้วย
                         

การขยายพันธุ์ จำปาดะ               

ตอน.  ทาบกิ่ง.  เสียบยอด.  เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).  เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด (ดีที่สุด).                

ระยะปลูก จำปาดะ                

    - ระยะปกติ  6 X 6 ม. หรือ  6 X 8 ม.              
    - ระยะชิด   4 X 4 ม. หรือ  4 X 6 ม.                

เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ ปลูกจำปาดะ                 

    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
    - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง              
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่มล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง    
         

หมายเหตุ :                

- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  

เตรียมต้น                 

ตัดแต่งกิ่ง : 

- จำปาดะออกดอกติดผลที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งขนาดใหญ่  ดกมากหรือดกน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการปฏิบัติบำรุง              
- ไม่ว่าสายพันธุ์ใดจะออกดอกติดผลที่ส่วนใดของต้นมากก็ตาม  ทุกสายพันธุ์ไม่ควรมีกิ่งขนาดเล็กภายในทรงพุ่ม  การตัดแต่งกิ่งให้ตัดแล้วเรียกใบชุดใหม่เฉพาะปลายกิ่งเท่านั้น  ช่วงตัดแต่งกิ่งควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี                    
- ตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วทรงพุ่ม  กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
- ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้              
- ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี                    
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย              
- นิสัยการออกดอกของจำปาดะไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว  แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น          
     

ตัดแต่งราก :                 

- จำปาดะระยะต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
- ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม


จำปาดะ (chempedak) 

เป็นไม้ผลสกุลเดียวกับ ขนุน คืออยู่ในวงศ์ Moraceae แต่ขนาดของผลเล็กกว่า กลิ่นแรงกว่า และเนื้อเละกว่า มีการกระจายพันธุ์อยู่ในบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยนิยมปลูกทางภาคใต้ จัดให้เป็นไม้ที่ไม่ผลัดใบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpusinteger Merr ผลนำมากินสดๆ ได้ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารหลากหลายได้ทั้งของหวานและของคาว ทั้งไม้ของมันยังใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ด้วย

จำปาดะมีดอกตัวผู้และ ตัวเมียอยู่ในตัวเดียวกัน ลำต้นสูงประมาณ 20 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ออกผลตามลำต้นและกิ่ง ใบมีลักษณะรูปไข่สีเขียวเป็นมัน มีขนเล็กๆ สีน้ำตาลบนใบ ขนาดของใบ 5-12 x 2.5-12 เซนติเมตร ลักษณะดอกตัวผู้เป็นทรงกระบอก ขนาด 3-3.5 เซนติเมตร สีขาวหรือเหลือง ก้านช่อดอกตัวผู้ยาว 3-6 เซนติเมตร เกสรตัวเมียมีขนาด 1.5 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีน้ำตาลปนเหลือง ขนาด 20-35 x 15 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่น (หอม) รุนแรง


การขยายพันธุ์ เป็นไม้ที่ถ้าขยายพันธุ์จากเมล็ดจะให้ผลภายใน 3-6 ปี แต่ก็สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีติดตา ต่อกิ่ง ทาบกิ่งจากพืชชนิดเดียวกัน เช่น ขนุนใช้ต้นตออายุ 8-11 เดือน จัดเป็นไม้ผลที่ปลูกง่ายเช่นเดียวกับขนุน พันธุ์ที่ดี มีผลใหญ่ สีเนื้อสวย เช่น พันธุ์ CH29 มีเนื้อสีส้ม และพันธุ์ CH26, CH27 และ CH28 ให้ผลผลิตสูง ส่วนราคานั้นอยู่กับขนาดของผลและคุณภาพของเนื้อ ซึ่งทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ดีมาก

จำปาดะมีน้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 600-3,500 กรัม น้ำหนักของเนื้อ 100-1,200 กรัม น้ำหนักแห้งของเนื้อ 100 กรัม คุณค่าทางอาหารมีโปรตีน 3.5-7 กรัม ไขมัน 0.5-2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 84-87 กรัม กาก 5-6 กรัม เถ้า 2-4 กรัม และในเนื้อสดจะมีน้ำอยู่ 58-85% ส่วนน้ำหนักแห้งของเมล็ดมีโปรตีน 10-13% ไขมัน 0.5-1.5% คาร์โบไฮเดรต 77-81% กาก 4-6% เถ้า 3-4% เมล็ดสดจะมีน้ำผสมอยู่ 46-78% ใน 1 ผลมีน้ำหนัก 65-880 กรัม

การใช้ประโยชน์ ลำต้นใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นวัสดุในการก่อสร้าง และทำอุปกรณ์การเกษตร แก่นของลำต้นนำไปต้มย้อมจีวรพระ ใบอ่อนเป็นผักจิ้มหรือกินกับส้มตำ ผลอ่อนใช้ปรุงอาหาร ผลสุกรับประทานสด หรือประยุกต์เป็นขนม ดังนี้

จำปาดะ กวน นำส่วนผสมได้แก่เนื้อจำปาดะบดละเอียด 3 ถ้วยตวง เมล็ดจำปาดะต้มสุกบดละเอียด 2 ถ้วยตวง หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วยตวง ใส่เนื้อและเมล็ดจำปาดะที่บดแล้วในกระทะทองเหลือง ใส่กะทิและน้ำตาลทรายขาว คนให้เข้ากัน ตั้งกระทะทองเหลืองบนไฟอ่อนปานกลาง กวนด้วยช้อนไม้ขนาดใหญ่จนเหนียวดี ลองปั้นดูไม่ติดมือจึงใช้ได้ ยกลงจากเตา ตักขนมใส่ถาดทิ้งไว้ให้เย็นแล้วตัดแบ่งเป็นชิ้นๆ เทคนิคคือควรใช้จำปาดะสุกดี เพื่อจะได้เนื้อสีเหลืองแก่ สวย

จำปาดะ มีชื่อสามัญว่า Champeak ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus integer (Thunb.) Merr. พม่าเรียกว่า sonekadat อินโดนีเซียเรียกว่า chempedak มาเลเซียเรียกว่า bankong ถิ่นกำเนิดของจำปาดะอยู่ในคาบสมุทรมลายูแถมประเทศ มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย

* จำปาดะอยู่ในวงศ์ Moraceae เช่นเดียวกับขนุนและ สาเก ใบสีเขียว หน้าใบเป็นมัน ตามกิ่งอ่อนมีขนอ่อนขึ้นคลุมรอบ ผลคล้ายกับขนุน แต่มีขนาดเล็กกว่า ผลกลมยาวคล้ายผลฟัก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 12-15 ซม. ยาว 25-30 ซม. เปลือกบาง ผลดิบเปลือกแข็ง มียางสีขาวขุ่นแทรกซึมอยู่ตามเปลือก ผลสุกเปลือกนิ่ม และมียางน้อยลง เนื้อยวงเหลว รสหวานแหลม มีกลิ่นหอมมากกว่าขนุในแต่ยวงมีเมล็ด 1 เมล็ด

* ช่วงที่จำปาดะสุกอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ปลูกมากแถบภาคใต้ เป็นผลไม้ขึ้นขื่อของอำเภอเกาะยอ จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล ยวงเนื้อของจำปาดะพร้อมเมล็ดนำมาชุบแป้งทอง คล้ายกล้วยแขก เนื้อแป้งกรอบ หอมเนื้อจำปาดะ และมันด้วยเมล็ดที่สุก เนื้อล่อน จำปาดะกินยวงเนื้อสด ๆ รสหวานจัด เนื้อเละเหนียว กลิ่นหอมแรง ส่วนเมล็ดนำไปต้มกิน หรือเอามาแกงไตปลาก็ได

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ 

จำปาดะ มีเส้นใยแบบละลายน้ำ ซึ่งเป็นเส้นใยที่สามารถขับไขมันและสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีนและน้ำตาลสูง เนื้อผลอ่อน ช่วยฝาดสมาน แก้ท้องเสีย เนื้อผลสุก บำรุงกำลัง เป็นยาระบายอ่อน ๆ เมล็ด ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด และบำรุงร่างกาย

อ้างอิง
dailynews.co.th
paiboonrayong.com

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 8145 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6146
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 6801
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6251
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 7325
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 6724
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 5715
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 5837
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>