ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 10314 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

กรมพัฒนาที่ดิน : ส่งเสริมการฟื้นฟูดิน ลดการใช้สารเคมี

กรมพัฒนาที่ดิน - ส่งเสริมความรู้ การฟื้นฟูดิน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนเกษตรกร

data-ad-format="autorelaxed">

กรมพัฒนาที่ดิน

กรมพัฒนาที่ดิน : ส่งเสริมการฟื้นฟูดิน ลดการใช้สารเคมี

ปัจจุบันเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักและหันมาให้ความสนใจกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น ทั้งนี้ ก็เพื่อหลีกหนีจากต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะด้านปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงขึ้นจนรับไม่ไหว จนต้องหันมาพึ่งพาปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถผลิตได้เองจากวัสดุเหลือใช้ทางภาคเกษตรที่มีอยู่จำนวนมาก

นายสมโสถติ์ ดำเนินงาม ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจด้านการพัฒนาและจัดการที่ดิน การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตลอดจนด้านการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์/สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยเฉพาะในยุคที่ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรมีการปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทบต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกร กรพัฒนาที่ดิน จึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร มุ่งเน้นให้เกษตรกรผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ลดการพึ่งพาสารเคมีทางการเกษตรให้ใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อลดต้นทุนการผลิต และได้ปรับปรุงฟื้นฟูคืนความสมบูรณ์ให้กับทรัพยากรดิน เกษตรกรจะได้มีที่ดินทำกินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรแล้วจำนวน 73,699 กลุ่ม เกษตรกรจำนวน 3.6 ล้านราย และมีบางกลุ่มที่มีความพร้อมเข้าสู่การผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานได้ ในปีนี้กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้พัฒนากลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว จำนวน 117 กลุ่ม เกษตรกร 585 ราย ในพื้นที่ 43 จังหวัด โดยให้การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมและเต็มใจเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตเกษตรอินทรีย์ที่จำเป็นสำหรับการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านเกษตรอินทรีย์ให้กับกลุ่มเกษตรกร ดำเนินการยื่นสมัครขอรับการรับรองมาตรฐานพืชอินทรีย์กับกรมวิชาการเกษตร และมาตรฐานข้าวอินทรีย์กับกรมการข้าว หรือในกรณีที่มีความพร้อมยื่นสมัครขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มาตรฐาน IFOAM จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)

อย่างไรก็ดี กลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ฯ บางกลุ่ม เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ทำเกษตรอินทรีย์ด้วยจิตวิญญาณ เป็นวิถีชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล เรียกว่า“เกษตรอินทรีย์พื้นบ้าน” เกษตรกรเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงหน่วยตรวจรับรองได้ เพราะมีค่าตรวจรับรองสูงและไม่คุ้มกับผลผลิตที่มีน้อย รวมทั้งมีระบบเอกสารให้บันทึกจำนวนมาก การขับเคลื่อนกลุ่มผลิตเกษตรอินทรีย์จำเป็นต้องทำสอดคล้องกันทั้งระบบตั้งแต่การผลิต การรับประกันคุณภาพจนถึงการตลาด ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตต้องการเข้าสู่ตลาดระดับใดที่คู่ค้าและผู้บริโภคยอมรับ ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ คือการดำเนินการรับรองแบบมีส่วนร่วม ที่เรียกว่า พีจีเอส (Participatory Guarantee Systems : PGS) ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย ให้ดำเนินโครงการ “Promoting Participatory Guarantee Systems (PGS) for Small Scale Organic Farming in Thailand” นำร่องในพื้นที่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย 5 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ ลำปาง เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ และนครปฐม

นายสมโสถติ์กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้โครงการดังกล่าวขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้เรื่องระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Training for Master Trainer หลักสูตร “ผู้จัดการกระบวนการรับรองการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม” ให้กับเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ที่เรียกว่า มิสเตอร์เกษตรอินทรีย์ ที่รับผิดชอบปฏิบัติงานโครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ปี 2558 รวมถึงผู้แทนกลุ่มเกษตรกรฯ ที่เข้าร่วมโครงการ เกษตรกรแกนหลักเป้าหมายโครงการ PGS ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานและเครือข่ายที่ร่วมบูรณาการดำเนินงานกับกรมพัฒนาที่ดินด้วย เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้สามารถเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ตามเป้าหมาย

โดยแบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 5 รุ่น ซึ่ง รุ่นที่ 1 จัดขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 15-17 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่ จ.เพชรบูรณ์ ส่วนรุ่นที่ 2 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน 2558 ณ โรงแรมเกษมการ์เด้น อ.เมือง จ.สุรินทร์ รุ่นที่ 3 วันที่ 2-4 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รุ่นที่ 4 วันที่ 9-11 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์ อ.สามพราน จ.นครปฐม และรุ่นที่ 5 วันที่ 16-18 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเกษมการ์เด้น อ.เมือง จ.สุรินทร์


ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวจะทำให้มิสเตอร์เกษตรอินทรีย์ระดับพื้นที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ได้ทราบถึงบทบาทของตนเอง รวมถึงแนวทางและขั้นตอนการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้เข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดยใช้กระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม ที่สำคัญเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับองค์ความรู้ด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แนวทางและขั้นตอนจัดทำตามกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม จนผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในที่สุด

ข้อมูลจาก naewna.com/local/164740

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 10314 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9126
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7474
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7547
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7878
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6859
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8125
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7352
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>