ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 10145 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

มะนาวออกนอกฤดู : เรียนรู้ให้ แบบใหม่

มะนาวออกนอกฤดู - ศูนย์วิจัยเกษตรพิจิตร พัฒนาบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดูด้วยวิธีใหม่ และมะนาวพันธุ์ใหม่ ที่รับรองพันธุ์แล้ว..

data-ad-format="autorelaxed">

มะนาวออกนอกฤดู

มะนาวออกนอกฤดู

ท่ามกลางผู้คนกำลังสนใจการปลูกมะนาว ที่นับวันราคาจะแพงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งนั้น มีข่าวแว่วมาสัมผัสหูให้เราตื่นตัวว่า ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร แหล่งกำเนิดของมะนาวพันธุ์ "แป้นพิจิตร 1" ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 6 ต.โรงช้าง อ.เมือง จ.พิจิตร มีอะไรดีๆ ที่จะออกมาปรากฏต่อสายตาเกษตรกรที่สนใจในแวดวงมะนาว นั่นคือ จะมีพันธุ์มะนาวใหม่ล่าสุดที่มีคุณสมบัติที่เหมาะที่สุดสำหรับเกษตรกรในยุคนี้ ที่กรมวิชาการเกษตรกำลังจะประกาศรับรองสายพันธุ์ในเร็ววันนี้ และที่นั่นยังมีการพัฒนาการบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดูด้วยเทคโนโลยีใหม่

ไม่รอช้า "ทีมท่องโลกเกษตร" ได้โอกาสมุ่งหน้าสู่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองพิจิตรไปทางเส้นที่จะไป อ.เขาประทับช้าง ราว 8 กม. ศูนย์แห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 1,194 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทาน ที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,200 มม. ชุดดินของพื้นที่ภายในศูนย์แบ่งเป็น 3 ชุด คือ ชุดตะพานหิน ชุดอุตรดิตถ์ และชุดบางมูลนาก สภาพดินมีความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 6-7

ดร.วสรรญ์ ผ่องสมบูรณ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ที่มาต้อนรับเรา บอกว่า การดำเนินงานของศูนย์แห่งนี้ แบ่งเป็นฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานแผนงานและงบประมาณ งานการเงินและบัญชีและพัสดุ งานบุคคล และงานธุรการทั่วไป ฝ่ายกลุ่มวิจัยและพัฒนา มีหน้าที่ ศึกษา วิจัย พัฒนา และทดสอบพืช/เทคโนโลยี การเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ศึกษาวิจัยและทดสอบพืช/สาขาวิชา ตามแผนงาน/โครงการวิจัยของกรมวิชาการเกษตร และผลิตพันธุ์ คัดพันธุ์หลัก และพันธุ์ขยายเมล็ดพันธุ์หรือท่อนพันธุ์พืช และกระจายพันธุ์

นอกจานี้ ยังมีกลุ่มบริการด้านวิชาการ มีหน้าที่บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตในพื้นที่รับผิดชอบ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ตรวจสอบรับรองปัจจัยการผลิต และบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ให้แก่ เกษตรกร ภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรับผิดชอบงานโครงการพิเศษ รวมถึงการควบคุม กำกับ กฎหมาย ในพื้นที่รับผิดชอบด้วย

สำหรับเป้าหมายของทีม "ท่องโลกเกษตร" นั้น เน้นไปที่งานศึกษา วิจัย พัฒนา และทดสอบพืช/เทคโนโลยีการเกษตรใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เนื่องจากทราบมาว่า ศูนย์แห่งนี้รวบรวมพันธุ์ไม้ผลและสมุนไพรหลายชนิด และที่สนใจมากที่สุดคือมะนาว เนื่องปัจจุบันกระแสนิยมกำลังมาแรง ที่มีแรงจูงใจมาจากราคาผลมะนาวสดแพงนั่นเอง ประกอบกับผู้นำประเทศ อย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งเสริมให้ทุกคนปลูกมะนาวไว้บริโภคในครัวเรือน

"งานศึกษา วิจัย พัฒนา และทดสอบพืช/เทคโนโลยีการเกษตร เราแบ่งเป็นโซน ส่วนใหญ่เน้นที่ไม้ผลใช้พื้นที่กว่าครึ่งหนึ่ง ที่นี่เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ไม้ผลหลายชนิด อาทิ ส้มโอ มีหลายสิบสายพันธุ์ ล่าสุดทางมหาวิทยาลัยรังสิต นำไปวิจัยในเรื่องของดีเอ็นเอ จำนวน 20 สายพันธุ์ เพื่อดูความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ นอกจากนี้มีมะม่วงจำนวน 69 สายพันธุ์ มะนาวชนิดต่างๆ ทั้งมะนาวแป้น อาทิ แป้นรำไพ แป้นพิจิตร 1 ที่ศูนย์พัฒนาสายพันธุ์เอง ไตฮิติ เลมอน มะนาวหนัง แม่ไข่ไก่ดก และแป้นต่างๆ และมะนาวน้ำหอม อีกโซนหนึ่งเป็นงานวิจัยของสมุนไพร ที่กำลังน่าสนใจคือสกาวเครือ ที่มีสรรพคุณน่าสนใจหลายชนิด" ดร.วสรรญ์ กล่าว

ในส่วนของมะนาวตามที่ "ทีมท่องโลกเกษตร" สนใจ และอยู่ในความดูแลของ ดร.วสรรญ์ นั้น เขาบอกว่า แบ่งพื้นที่เป็นโซนย่อย อาทิ แหล่งรวบรวมชนิดของต้นพันธุ์ที่จะใช้เป็นต้นต่อ ที่เน้นการขยายพันธุ์ด้วยเสียบกิ่งมากกว่า เพราะมีรากแก้วไว้หาอาหาร แหล่งแม่พันธุ์ สำหรับงานวิจัย แปลงสาธิตการตัดแต่งกิ่งไม่ให้โทรม, แปลงปลูกมะนาวระยะชิดเพื่อประหยัดพื้นที่, และแปลงบังคับให้ออกผลผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วย "ยูนิโคนนาโซล" แทนการใช้สารพาโคลบิวทราโซล ที่มีสารตกค้างค่อนข้างนานและมากกว่า

"ทุกวันนี้ฝนฟ้าตกไม่ตรงกับฤดูกาล ทำให้การบังคับมะนาวนอกฤดูด้วยวิธีการอดน้ำ คงทำลำบาก ต้องใช้เทคโนโลยีตัวใหม่ด้วยการลาดสารยูนิโคนนาโซล เพราะพิสูจน์ได้ว่า มีสารตกค้างน้อยกว่า พาโคลบิวทราโซล ที่บังคับมะม่วงออกนอกฤดูถึง 10 เท่าตัว แต่การใช้ลักษณะคล้ายกัน คือจะเริ่มจากมะนาวที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป จากนั้นตัดแต่งกิ่งให้เป็นทรงพุ่มกว้าง 2 เมตร พอถึงกลางเดือนสิงหาคม-ต้นกันยายน จะทำการลาดสารยูนิโคนนาโซล เพื่อให้ผลผลิตออกมาช่วงปลายเดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงมะนาวแพงพอดีผลละ 6-10 บาท มะนาว 1 ต้น อายุ 2 ปีจะได้ผลผลิตต้นละราว 1,200-1,500 ผล หากอายุมากจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย" ดร.วสรรญ์ กล่าว

สำหรับมะนาวพันธุ์ใหม่นั้น ดร.วสรรญ์ บอกว่า ไม่สามารถให้รายละเอียดได้ เพราะอยู่ในขั้นตอนการขอให้กรมวิชาการเกษตรรับรองสายพันธุ์ แต่ขอบอกว่า เดือนกันยายนนี้มีข่าวดีแน่นอน เพราะมะนาวพันธุ์ใหม่ผ่านการวิจัย และทดลองจนสายพันธุ์นิ่งแล้ว เป็นการพัฒนาจากสายพันธุ์พิจิตร 1 กับแม่พันธุ์แป้น เป็นมะนาวที่ทนต่อโรคแคงเกอร์มากกว่าพิจิตร 1 ผลโต เปลือกบาง เมล็ดน้อย กลิ่นหอม ต่างกับพิจิตร 1 ตรงที่เปลือกหนา เมล็ดเยอะ บางตลาดให้ราคาไม่ดี แต่พันธุ์ใหม่ที่ว่านี้ต้องรอก่อน ไม่ทราบว่าทางกรมวิชาการเกษตรจะตั้งชื่อว่าอะไร แต่ออกมาแล้วรับรองเป็นมะนาวที่เหมาะที่สุดสำหรับประเทศไทยแน่นอน

สนใจการปลูกมะนาวระบบชิด เพื่อประหยัดพื้นที่ การตัดแต่งกิ่ง และบังคับให้ออกนอกด้วยเทคโนโลยีใหม่ การปลูกมะนาวในวงซีเมนต์ การเสียบมะนาวแบบง่ายด้วยหลอดกาแฟ ชมแปลงเกษตรในกองบิน 46 พิษณุโลก ลุยถึงถิ่น ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองราคาแพง "หลง-หลินลับแล" ที่อุตรดิตถ์

ข้อมูลจาก komchadluek.net

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 10145 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 7582
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6315
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6307
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 7657
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7033
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7322
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6586
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>