ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ดอก ไม้ประดับ | อ่านแล้ว 8341 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ไรแดง : ควบคุมไรแดงศัตรูกุหลาบด้วยชีววิธี

ไรแดง - เป็นศัตรูที่สร้างความสีหายต่อกุหลาบ เป็นเวลายาวนาน แพร่ระบาดมากช่วงแล้ง ปัจจุบ้นกำจัดได้ โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี..

data-ad-format="autorelaxed">

ไรแดง

ไรแดง

ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการใช้ไรตัวห้ำควบคุมไรศัตรูกุหลาบอย่างยั่งยืน เริ่มต้นจากการอนุรักษ์ไรตัวห้ำศัตรูธรรมชาติที่สำคัญให้มีจำนวนมากพอที่จะรักษาสมดุลธรรมชาติ

ไรแดงเป็นศัตรูของกุหลาบ ที่สร้างความเสียหายมายาวนาน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง อากาศแห้งจะพบการแพร่ระบาดในปริมาณมาก ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรจะเลือกวิธีการป้องกันด้วยวิธีที่สะดวกและรวดเร็วคือการใช้สารเคมีฉีดพ่น แต่ด้วยวงจรชีวิตไรแดงสั้น ตั้งแต่ช่วงฟักไข่ถึงระยะตัวเต็มวัยเพียงแค่ 8 วัน ทำให้เกิดการพัฒนาปรับตัวสร้างภูมิต้านทานต่อสารเคมีได้อย่างรวดเร็วกว่าแมลงชนิดอื่น จึงทำให้ไม่มีสารเคมีชนิดใดที่จะสามารถป้องกันหรือกำจัดไรแดงได้

ควบคุมไรแดง ศัตรูกุหลาบด้วยชีววิธี

น.ส.มานิตา คงชื่นสิน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านศัตรูพืช รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร บอกว่า ไรแดงที่เป็นศัตรูพืชนั้นจะมีไรตัวห้ำ ซึ่งเป็นศัตรูธรรมชาติ ที่ไม่ดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช แต่กินไรศัตรูพืชเป็นอาหาร เรียกว่าเป็นผู้กำจัดโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่การทำเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่ใช้สารเคมีมากเกินไป และมีสารเคมีบางชนิดไปทำลายศัตรูธรรมชาติด้วย ทำให้เสียสมดุล ไรศัตรูพืชจึงมีมากกว่าไรตัวห้ำศัตรูธรรมชาติ ดังนั้น การใช้ไรตัวห้ำควบคุมไรศัตรูพืชในกุหลาบ จึงเป็นการควบคุมไรศัตรูพืชโดยชีววิธี ที่มีประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนมากที่สุด

กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการใช้ไรตัวห้ำควบคุมไรศัตรูกุหลาบอย่างยั่งยืน เริ่มต้นจากการอนุรักษ์ไรตัวห้ำศัตรูธรรมชาติที่สำคัญให้มีจำนวนมากพอที่จะรักษาสมดุลธรรมชาติ ซึ่งวิธีเพาะและขยายพันธุ์ไรตัวห้ำจะใช้ไรแดงหม่อนเป็นเหยื่อ โดยปลูกต้นถั่ว เช่น ถั่วดำ ถั่วเขียว ในถุงเพาะชำจนมีอายุ 2 สัปดาห์ แล้วจึงนำไรแดงหม่อนพ่อแม่พันธุ์มาเลี้ยงขยายบนต้นถั่ว ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ ให้ไรแดงหม่อนเพิ่มปริมาณมากเต็มใบถั่ว จากนั้นจึงปล่อยพ่อแม่พันธุ์ไรตัวห้ำลงบนต้นถั่ว ในอัตรา 1: 20-50 (ไรตัวห้ำ : ไรแดงหม่อน) ซึ่งไรตัวห้ำจะกินไรแดงหม่อนและขยายพันธุ์เพิ่มประชากรบนต้นถั่ว เมื่อพบว่าไรตัวห้ำกินเหยื่อใกล้หมดแล้วให้รีบตัดใบถั่วที่มีไรตัวห้ำบรรจุลงกระบอกกระดาษปิดฝาให้แน่น เพื่อจะนำไรตัวห้ำไปใช้ในแปลงกุหลาบ ก็เพียงแค่นำใบถั่วที่มีไรตัวห้ำไปวางลงบนใบหรือลำต้นกุหลาบที่มีไรแดง ไรตัวห้ำก็จะกำจัดไรศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ

ควบคุมไรแดง ศัตรูกุหลาบด้วยชีววิธี

ทั้งนี้ ผลการทดลองในแปลงกุหลาบของเกษตรกร ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยปล่อยไรตัวห้ำในอัตรา 9-10 ตัวต่อต้น ทุก 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ไรตัวห้ำเพิ่มประชากรสามารถตั้งรกรากอาศัยในพืชที่ปลูกได้อย่างถาวร หลังจากนั้นเมื่อเกิดความสมดุลก็ลดการปล่อยไรตัวห้ำลงเหลือ 3-4 ตัวต่อต้น ทุก 1 เดือน ผลการศึกษาพบว่าไรตัวห้ำสามารถควบคุมไรศัตรูกุหลาบ ทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดไรได้อย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรรายนี้ได้พัฒนาการผลิตไรตัวห้ำไว้ใช้เองในแปลง และสามารถเป็นแปลงต้นแบบในการควบคุมไรศัตรูกุหลาบแบบชีววิธีอย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย

ที่สำคัญจากการเก็บสถิติต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะค่าสารเคมีกำจัดไรในแปลงกุหลาบของเกษตรกรต้นแบบ พบว่าพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ตั้งแต่ปี 2548 มีค่าสารเคมีกำจัดไรประมาณ 28,070 บาทต่อเดือน และเพิ่มสูงขึ้นเป็น 37,850 บาท ในปี 2550 แต่เมื่อเริ่มใช้ไรตัวห้ำตั้งแต่ปลายปี 2550 เป็นต้นมา สามารถลดการใช้สารเคมีกำจัดไรลงเหลือเพียง 4,580 บาทภายในปี 2553 และมีการปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลผลิตที่ได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้นด้วย

เกษตรกรที่สนใจสามารถการแก้ปัญหาไรแดงในแปลงกุหลาบติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-3053, 0-2579-4128 ในวันและเวลาราชการ.“

ข้อมูลจาก  : www.dailynews.co.th

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 8341 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ดอก ไม้ประดับ]:
กุหลาบต้นแห้ง กุหลาบใบเหลือง กุหลาบใบเป็นจุด กุหลาบใบแห้ง เป็นโรครา แก้ไขได้อย่างไร?
กุหลาบจำนวนไม่น้อย ที่โดน โรคใบจุดสีดำ เข้าทำลาย โรคใบจุดสีดำในกุหลาบ ระบาดได้ทั่วไปตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในฤดูฝน
อ่านแล้ว: 9919
เปลี่ยนจากอ้อย หันมา ปลูกดาวเรือง ใช้เวลาปลูกเพียง 60 วัน ตัดดอกขายได้
ปลูกดาวเรือง นอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถาน..
อ่านแล้ว: 9490
ซ้ำรอย จัสมินไรซ์ ฝรั่งชิงจดสิทธิบัตร ไม้ประดับ ลิ้นมังกร
ลิ้นมังกร - เร่งยื่นคัดค้านต่างชาติฉกจดสิทธิบัตร ลิ้นมังกร เป็นพันธุ์พืชในสหรัฐ-อียูซ้ำรอย จัสมินไรซ์ ผู้ประกอบการ..
อ่านแล้ว: 9090
ฝนตกทำให้ ดอกมะลิ อมน้ำเป็นโรคเชื้อราเน่าเสีย ขาดรายได้
ดอกมะลิ - ฝนตกส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกมะลิขาย ทำให้อมน้ำ และเป็นโรคเชื้อราเน่าเสียหายกว่า 40 เปอร์เซ็นต์
อ่านแล้ว: 8237
การปลูกกุหลาบ
การปลูกกุหลาบ กุหลาบควรปลูกในฤดูฝนและฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงของการเจริญเติบโตของกุหลาบ ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงเดือนมิถุนายน
อ่านแล้ว: 10774
ปลูกดาวเรือง - ชาวนาลพบุรี ปลูกดาวเรืองขาย รายได้เหยียบแสนต่อวัน
ปลูกดาวเรือง รวยไม่รู้เรื่อง! ชาวนาหัวใส จ.ลพบุรี สู้ภัยแล้งเจาะบ่อบาดาล หันปลูกดาวเรืองขาย ทำรายได้เหยียบเเสนต่อวัน..
อ่านแล้ว: 8170
ปลูกโป๊ยเซียนขาย รายได้เดือนละ 100,000 บาท งานเบาๆของวัยเกษียณราชการ
คุณลุงวัยกว่า 70 ปี คนขยัน เพาะชำต้นโป๊ยเซียน ไม้ดอกไม้ประดับกว่า 100 สายพันธุ์ จำนวนมากกว่า 20,000 กระถาง..
อ่านแล้ว: 8604
หมวด ไม้ดอก ไม้ประดับ ทั้งหมด >>