ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 20056 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เมื่อผลไม้ ปลูกในกระถางได้ จะไว้กิน ไว้ขาย ก็ทำได้ดังใจ

การปลูกผลไม้ในกระถาง หรือภาชนะต่างๆ ดูแลง่าย ประหยัดพื้นที่ เช่น มะม่วง ละมุด มะละกอ ชมพู ก็ปลูกได้ทั้งหมด..

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกผลไม้ ในกระถาง

วิธีการปลูกไม้ผลในภาชนะ หรือผลไม้ต่างๆ ไว้กินไว้ขาย ดูแลง่าย ประหยัดพื้นที่ เช่น มะม่วง ละมุด มะละกอ กล้วย มะดัน ชมพู่ ลองกอง เงาะ มังคุด ทุเรียน เชอรรี่ มะขาม มะไฟ มะเฟือง ลิ้นจี่ ส้ม ส้มโอ มะนาว ขนุน น้อยหน่า มะปราง รวมถึงผลไม้อื่นๆ ตามใจชอบ ยิ่งสำหรับบ้านสมัยนี้พื้นที่น้อยลง การที่จะปลูกพืชผักผลไม้สักอย่างลงดินเลยนั้นอาจจะทำให้ไม่สามารถทำได้ หรือทำให้รกพื้นที่ การปลูกไม้ผลในภาชนะ จึงเป็นอีกวิธีที่ดีมากๆ

การปลูกไม้ผลในภาชนะ ได้ผลไม้ปลอดสารไว้กินเอง

การปลูกพืชผักผลไม้ในภาชนะ จะทำให้เจริญเติบโตได้เร็วกว่าปลูกลงดิน เพราะดินปลูกมีความร่วนซุย และ โปร่ง ใช้พื้นที่น้อย ให้ผลผลิตเร็ว ดูแลรักษาด้านโรค แมลง วัชพืช และการห่อผลง่าย บังคับออกดอกติดผลได้ ควบคุมคุณภาพ และรสชาติได้ ดีกว่าปลูกลงดินสามารถเคลื่อนย้ายได้ ใช้เป็นไม้ประดับภายในบ้าน นอกจากนี้แล้วยังช่วยให้บริเวณบ้านของเรามีความเย็นเพิ่มขึ้นอากาศดีมากขึ้นด้วย สรุปง่ายๆว่า ได้ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม สำหรับคนที่ทำงานเครียดๆมาการปลูกพืชในภาชนะก็จะเป็นการช่วยลดความตรึงเครียดของอารมไปด้วย ถือว่าเป็นงานอดิเรกที่ได้ประโยชน์หลายๆอย่างเลยทีเดียว

พืชที่ใช้ปลูกในภาชนะ เช่น ผักสวนครัวต่างๆ ที่ได้ใช้บ่อยๆในการทำอาหาร และไม้ผล ผลไม้ เช่น มะม่วง ละมุด มะละกอ กล้วย มะดัน ชมพู่ ลองกอง เงาะ มังคุด ทุเรียน เชอรรี่ มะขาม มะไฟ มะเฟือง ลิ้นจี่ ส้ม ส้มโอ มะนาว ขนุน น้อยหน่า มะปราง รวมถึงผลไม้อื่นที่ผู้ปลูกชื่นชอบก็ลองนำมาลองปลูกดูกันได้ ยิ่งเมืองไทยของเราแล้วผลไม้มีเยอะจนเลือกไม่ถูกเลยเอาเป็นว่าแอดมิน BangkokToday.net ขอแนะนำว่าเอาที่ชื่นชอบแล้วกัน

เลือกภาชนะที่ใช้ปลูก

การปลูกไม้ผลในภาชนะ หาจากของเหลือใช้ เช่น ปีบ กะละมัง ถังน้ำ ตุ่มใส่น้ำ ตุ่มกรองน้ำ หม้อต่างๆ ยางรถยนต์ ถังสี หรือเลือกซื้อกระถาง ตามชอบใจถ้าจะเน้นเรื่องประดับตกแต่งด้วย ถ้าสำหรับท่านใดต้องการเน้นเชิงธุรกิจแนะนำเป็นกระถางหรือวงบ่อซีเมนต์ จะดีเพราะได้มาตรฐาน ง่ายต่อการคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆสำหรับ วัสดุ ในการลงทุน

การผสมดินในภาชนะ

ดินดำ (หน้าดิน) 1 ส่วน

แกลบดิบ (เปลือกข้าว) 2 ส่วน

มูลวัว , มูลควาย 1 ส่วน

(หรือใครมีสูตรต่างๆที่อยากจะทดลองหรือศึกษามาแล้วก็ลองได้หรือตามเท่าที่หาได้หากไม่ได้ทำเชิงการค้ามากนัก)

สำหรับการปลูกไม้ผลในวงบ่อซีเมนต์ แบบง่ายๆ

ผสมดิน 1 ส่วน แกลบดิบ (เปลือกข้าว) 2 ส่วน และปุ๋ยคอก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ลงในวงบ่อซีเมนต์ เหลือขอบวงบ่อซีเมนต์ไว้ประมาณ 3 นิ้ว นำไม้ผลลงปลูกใช้วัสดุคลุมหน้าดิน และรดน้ำ ปักไม้ผูกเชือกลำต้นกันลมโยก เป็นอันว่าเสร็จกระบวนการ
การใช้วัสดุคลุมดินในการปลูกไม้ผลในภาชนะ จะช่วยประหยัดน้ำ และประหยัดแรงงานในการให้น้ำ ปกติการปลูกไม้ผลในภาชนะต้องรดน้ำ วันเว้นวัน ถ้าหาก ใช้วัสดุคลุมหน้าดิน 4 วันรดน้ำ 1 ครั้ง เนื่องจากการระเหยของน้ำจากแสงแดด ป้องกันวัชพืช เพิ่มธาตุอาหาร และประหยัดเงินในการซื้อปุ๋ย ไม่เกิดมลภาวะในการเผาทำลาย

วัสดุคลุมดิน ได้แก่ ฟางข้าวแห้ง หญ้าแห้ง ชังข้าวโพดแห้ง กิ่งไม้บดแห้ง แกลบ (เปลือกข้าว) ผักตบชวาแห้ง เศษผัก เศษอาหาร พืชตะกุลถั่ว มูลวัว กากแอปเปิ้ล ฟางข้าวสาลี กระดาษ ขี้เลื่อย กาแฟบด เปลือกไม้ ขยะผลไม้ มูลสัตว์ปีกสด มูลม้า หนังสือพิมพ์ ใบสน มูลที่เน่าเปื่อย ใบไม้แห้ง

ข้อดีของการปลูกพืชในภาชนะ ที่เห็นได้ชัดเจนเลย ประหยัดพื้นที่ ควบคุมดูแลง่าย พืชบางชนิดสามารถบังคับให้ออกผลนอกฤดูกาลได้ ตัวอย่างเช่น มะนาว พืชเศรษฐกิจ ที่สามารถขายได้ราคาดี ความต้องการยังสูง แม้จะมีการปลูกมากขึ้นแล้วก็ตาม เพราะพื้นที่ในการปลูกและองค์ประกอบอื่นของผู้เพาะปลูกด้วย ส่วนพืชผักสวนครัวก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในบ้าน อีกทั้งทำให้เราได้ผักที่ปลอดสาร อย่างมั่นใจเพราะทำเอง

ปลูกไม้ผลในกระถาง ช่องทางผลิตให้ปลอดสารได้ เป็นโอกาสทำเงิน

โอกาสสร้างรายได้จากผลไม้ปลอดสาร ยังมีช่องการทำตลาด โดยกระแสความนิยมเรื่องสุขภาพ จากการใส่ใจดูแลสุขภาพของคนในปัจจุบัน ตลอดจนการขยายตัวของชนชั้นกลางที่มากขึ้น การเปลี่ยนเปลงไปสู่สังคมเมือง ผลไม้ พืชผักต่างๆ ที่ผลิตด้วยวิธีการที่ปลอดสาร สามารถทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ จะขายได้ในราคาที่ดี นอกจากนี้หากมีการตลาดเข้ามาช่วยแล้ว โอกาสส่งขายต่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปสำหรับเกษตรกรไทย

ข้อมูล: ขอบคุณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เรียบเรียงโดย BangkokToday.net

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 20056 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6122
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 6788
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6234
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 7305
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 6697
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 5697
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 5815
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>