ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 15318 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกเมล่อนในโรงเรือน

สิ่งแรกที่ควรคำนึงเรื่อง การปลูกเมล่อนในโรงเรือน คือวัสดุปลูก ที่ควรจะใช้เพียงแกลบดำเท่านั้น และต้องฆ่าเชื้อราก่อน..

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกเมล่อนในโรงเรือน

การปลูกเมล่อนในโรงเรือนสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือวัสดุปลูกที่ใช้ควรจะใช้เพียงแกลบดำเท่านั้น เนื่องจากวัสดุปลูกส่วนใหญ่จะนำมาใช้ซ้ำ เพียงแต่ทุกครั้งที่จะทำการปลูกวัสดุปลูกที่อยู่ในถุงจะต้องทำการฆ่าเชื้อราก่อนเท่านั้น

การจัดการแบบนี้จะทำให้ไม่สิ้นเปลืองเรื่องของการซื้อวัสดุปลูกเพราะนำกลับมาใช้ได้อีก เมื่อจัดเรียงถุงปลูกและเดินระบบน้ำเรียบร้อยแล้วก็พร้อมที่จะย้ายกล้าจากถาดเพาะปลูกลงถุงในโรงเรือน พอย้ายกล้าเสร็จก็ต้องให้น้ำตามเพื่อให้แกลบดำกระชับกับราก จากนั้นก็ให้น้ำให้ปุ๋ยตามปกติ ราว 15 วันหลังย้ายปลูกก็จะถึงเวลามัดหรือผูกต้นให้ตั้งขึ้น

การปลูกเมล่อนในโรงเรือน

เนื่องจากเมล่อนเป็นพืชตระกูลเถาที่ไม่มีมือเกาะ ดังนั้นหากเอาขึ้นค้างก็ต้องช่วยจับมัดให้เถาเลื้อยขึ้นค้าง ราววันที่ 21-22 วันหลังการย้ายปลูก จะเป็นขั้นตอนของการเด็ดแขนงข้างออก โดยจะเด็ดแขนงตั้งแต่ใบจริงใบแรกจนถึงใบจริงใบที่ 10 ออกให้หมด จากนั้นก็จะเป็นช่วงของการไว้แขนงข้างเพื่อจะไว้ผลเมล่อน

โดยจะไว้แขนงเพื่อให้เมล่อนติดผลในช่วงข้อใบที่ 11 ถึงข้อใบที่ 13 ซึ่งจะเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการไว้ผลเมล่อน แต่ในเรื่องของตำแหน่งไว้ผลเมล่อนนั้นอาจจะปรับเปลี่ยนตามฤดูกาลและสภาพของดอก การติดผลว่าสมบูรณ์หรือไม่ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการไว้ผลเลื่อนขึ้นไปถึงข้อที่ 12-15 ก็มี ต้องดูดอกตัวเมียว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด

เพราะแขนงที่ไว้ 3 แขนงนั้นจะออกดอกเป็นดอกตัวเมีย (แขนงนั้นจะออกดอกเป็นดอกตัวเมีย ส่วนดอกตัวผู้จะอยู่ที่ลำต้นหลัก) เมื่อดูว่าดอกตัวเมียดอกนั้นมีความสมบูรณ์ ก็จะต้องช่วยผสมดอกด้วยมือ วิธีการผสมดอกช่วยด้วยมือโดยเด็ดดอกตัวผู้ ตัดกลีบดอกออกทิ้งเหลือแต่ก้านเกสรตัวผู้ นำไปผสมกับเกสรตัวเมียของดอกที่คงไว้จะช่วยให้ดอกนั้นพัฒนาเป็นผลคุณภาพดี

การปลูกเมล่อนในโรงเรือน

อีกเหตุผลหนึ่งที่ต้องใช้การผสมดอกช่วยเพราะการปลูกในโรงเรือนจะไม่มีแมลงจากธรรมชาติมาช่วยผสมเกสร โดยการเลือกใช้ละอองเกสรจากดอกตัวผู้ที่สามารถใช้จากต้นของมันเองก็ได้ หรือใช้จากต้นอื่นหรือจากสายพันธุ์อื่นก็ได้เพราะลักษณะเด่นอยู่ที่แม่ สำหรับการนำละอองเกสรจากดอกตัวผู้มาผสมให้กับดอกตัวเมียที่ต้องการให้เกิดเป็นผลเมล่อน ดอกตัวเมียนั้นจะบานในช่วงเช้า ควรช่วยผสมเกสรช่วงเช้าคือไม่เกินเวลา 10.00 น. เพราะหากสายกว่านี้อากาศจะร้อนทำให้ผสมไม่ติด หลังจากผสมได้ 1 วัน ถ้าสังเกตเห็นรังไข่ของดอกตัวเมียเริ่มพองตัวแสดงว่าผสมติด เมื่อ 3 แขนงที่ไว้ได้รับการผสมเกสร ก็จะติดผล 3 ผล ซึ่งเมล่อน 3 ผลนี้ก็จะถูกคัดเลือกผลที่สวยสมบูรณ์มากที่สุดไว้เพียงผลเดียวเท่านั้น

จะทำการคัดเลือกหลังจากการผสมผลไปได้ราว 1 อาทิตย์หรือขนาดผลเท่ากับลูกส้ม ซึ่งเมล่อนอ่อนอีก 2 ผล จะถูกเด็ดออกด้วยมือเท่านั้น การปลูกเมล่อนนั้นจะไม่มีการใช้กรรไกรเลยในขั้นตอนการดูแล จะใช้เพียงครั้งเดียวตอนเก็บเกี่ยวออกจากต้นเท่านั้น

เพราะการใช้กรรไกรหรือมีดนั้นจะส่งผลต่อการระบาดของเชื้อไวรัส ที่จะติดไปกับกรรไกรที่เราใช้นั่นเอง ถือเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการทำงานหรือการปลูกเมล่อน ผลเมล่อนอ่อนจะนำไปขายที่ตลาด กิโลกรัมละ 20 บาท ซึ่งสามารถเอาไปแกงเหมือนแตงอ่อนทั่วไป ผลอ่อนเมล่อนจะได้ความหวานหอม ทำให้มีรายได้เสริมไม่ได้ทิ้งเลย

เมื่อไว้ผลที่สวยที่สุดแล้วก็ต้องมาดูเรื่องของการไว้ใบ ต้นเมล่อน 1 ต้นจะต้องมีใบประมาณ 24-25 ใบ ส่วนยอดต้องตัดทิ้งไปเลย เพื่อหยุดการเติบโตของยอดเถา.

จาก dailynews.co.th
 

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 15318 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6126
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 6788
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6235
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 7306
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 6700
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 5700
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 5815
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>