ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 86226 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การวิจัยด้านปุ๋ยอ้อย

จักรินทร์ และคณะ (2535) ทดสอบปุ๋ยไนโตรเจนในอ้อย 3 พันธุ์ (อู่ทอง 1, อู่ทอง 2 และ 80-1-128) พบว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 0, 12

data-ad-format="autorelaxed">

การวิจัยด้านปุ๋ยอ้อย

รศ.ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์

ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม

จักรินทร์ และคณะ (2535) ทดสอบปุ๋ยไนโตรเจนในอ้อย 3 พันธุ์ (อู่ทอง 1, อู่ทอง 2 และ 80-1-128) พบว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 0, 12, 24 และ 36 กก.N/ไร่ (กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่) ไม่ทำให้ผลผลิตอ้อย ซีซีเอส จำนวนลำ และน้ำหนักลำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูงขึ้นมีแนวโน้มที่ทำให้ผลผลิตอ้อยสูงขึ้น สอดคล้องกับงานทดลองของ จักรินทร์ และคณะ (2528) ที่ทดลองในอ้อย 4 พันธุ์ (F140, ชัยนาท 1, 3-2-023L และ 4-2-046E) โดยใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 5 อัตรา คือ 0, 12, 24, 36 และ 48 กก.N/ไร่ ที่ไม่ได้ทำให้ผลผลิตอ้อย จำนวนลำ และซีซีเอส แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากทำการทดลองในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่ลงดินจึงมีน้อย การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะทำให้ผลผลิตอ้อยและจำนวนลำของอ้อยพันธุ์ 4-2-046E สูงขึ้น จากการทดลองในอ้อยตอของ จักรินทร์ และคณะ (2537) พบว่าการใส่ปุ๋ยอัตราต่างๆ กันทำให้ผลผลิตอ้อย ผลผลิตน้ำตาล และน้ำหนักลำ แตกต่างกันทางสถิติ โดยที่การใส่ปุ๋ยอัตรา 24 กก.N/ไร่ ให้ผลผลิตอ้อย และผลผลิตน้ำตาลสูงสุด ไม่แตกต่างจากการใส่ปุ๋ยที่อัตรา 12 กก.N/ไร่ แต่การใส่ปุ๋ยไม่ได้ทำให้จำนวนลำ และซีซีเอสแตกต่างกันทางสถิติ

 

ปุ๋ยสำหรับอ้อย

จักรินทร์ และคณะ (2537 และ 2538) พบว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้กับอ้อยพันธุ์อู่ทอง 1 ในดินชุดกำแพงแสน จำนวน 2 อัตรา (12 และ 14 กก.N/ไร่) และการใส่ปุ๋ยทั้ง 6 วิธีการ (1. ใส่ N ทั้งหมดที่อายุ 1 เดือน; 2. ใส่ 1/2N ที่อายุ 1 และ 3 เดือน; 3. ใส่ 2/3N อายุ 1 เดือน และ 1/3N อายุ 3 เดือน; 4. ใส่ 1/4N รองพื้น และ 3/4N อายุ 1 เดือน; 5. ใส่ 1/4N รองพื้น 1/2N อายุ 1 เดือน และ 1/4N อายุ 3 เดือน; และ 6. ใส่ 1/4N รองพื้น 1/4N อายุ 1 เดือน และ 1/2N อายุ 3 เดือน) ทำให้ผลผลิตอ้อย ซีซีเอส และจำนวนลำต่อไร่ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยอัตรา 12 กก.N/ไร่ ทำให้ผลผลิตน้ำตาลสูงกว่าการใส่ปุ๋ยที่อัตรา 24 กก.N/ไร่ ส่วนในอ้อยตอ ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้กับอ้อยอย่างน้อย 12 กก.N/ไร่ แต่ถ้าหากมีการให้น้ำชลประทาน อาจใส่ปุ๋ยเพิ่มเป็น 24 กก.N/ไร่ และควรแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ 1/2N หรือ 2/3N ที่อายุ 1 เดือน และครั้งที่ 2 ใส่อีก 1/2N หรือ 1/3N ที่อายุ 3 เดือน ในกรณีของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 รายงานโดย จักรินทร์ และคณะ (2537 และ 2538) พบว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 24 กก.N/ไร่ ให้ผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ำตาลสูงกว่าการใส่ปุ๋ยอัตรา 12 กก.N/ไร่ ส่วนการใส่ปุ๋ยอ้อยทั้ง 6 วิธีการ ไม่ทำให้ผลผลิตอ้อยและซีซีเอสแตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มแสดงให้เห็นว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 24 กก.N/ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ที่อายุ 1 เดือน และ 3 เดือน จะทำให้มีผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ำตาลสูงสุด ส่วนในอ้อยตอ พบว่าการใส่ปุ๋ยทั้ง 6 วิธีการ ไม่ทำให้ผลผลิตและซีซีเอสแตกต่างกันทางสถิติ การใส่ปุ๋ยอัตรา 12 กก.N/ไร่ ใส่ทั้งหมดครั้งเดียวเมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน จะทำให้อ้อยมีผลผลิตและความหวานสูงกว่าวิธีอื่น จากการทดลองของ อรรถสิทธิ์ และคณะ (2539) พบว่าการแบ่งใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตไม่ช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อย โดยการแบ่งใส่ปุ๋ย 1-5 ครั้งไม่ทำให้ผลผลิตอ้อยแตกต่างกันทางสถิติทั้งในอ้อยปลูก อ้อยตอปี 1 และ 2 การเพิ่มอัตราปุ๋ยทำให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงในอ้อยทั้ง 3 ตอ โดยในอ้อยปลูกตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยสูงกว่าในอ้อยตอ

อรรถสิทธิ์ และคณะ (2537) ศึกษาอิทธิพลของปุ๋ย N P และ K ต่อการออกดอกของอ้อยในอ้อยปลูก พบว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 0, 20, 40 และ 60 กก.N/ไร่ ไม่ทำให้การออกดอกของอ้อยแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่าปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 20-60 กก.N/ไร่ มีแนวโน้มทำให้การออกดอกของอ้อยลดลง ส่วนการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมอย่างละ 15 กก. P2O5 และ K2O ต่อไร่ ทำให้อ้อยมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกไม่แตกต่างกันทางสถิติ อรรถสิทธิ์ และคณะ (2538 และ 2539) รายงานว่าการใส่ปุ๋ยอัตราสูง (30 และ 45 กก.N/ไร่) ให้กับอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 สามารถยับยั้งการออกดอกของอ้อยได้ แตกต่างจากอ้อยที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย โดยเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้ปุ๋ยยับยั้งการออกดอกของอ้อยคือเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม แต่การใส่ปุ๋ยให้กับอ้อยในเดือนกรกฎาคมมีแนวโน้มทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาลสูงสุดด้วย อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาการใส่ปุ๋ยเพื่อยับยั้งการออกดอกของอ้อยยังขึ้นอยู่กับสถานที่ด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

 

จักรินทร์ ศรัทธาพร, ปรีชา พราหมณีย์ และสุรวิทย์ สุริยพันธุ์. 2537. การศึกษาวิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2, . 433-441. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2537 อ้อย เล่ม 2 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

จักรินทร์ ศรัทธาพร, ปรีชา พราหมณีย์ และสุรวิทย์ สุริยพันธุ์. 2537. การศึกษาวิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อย (อ้อยตอ 1), . 486-493. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2537 อ้อย เล่ม 2 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

จักรินทร์ ศรัทธาพร, ปรีชา พราหมณีย์, สุรวิทย์ สุริยพันธุ์ และประสงค์ สิทธิไทย. 2535. ศึกษาผลตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของอ้อยพันธุ์ 81-1-026 และ 80-1-128, . 305-313. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2535 อ้อย ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

จักรินทร์ ศรัทธาพร, สุนทร แสงศิลา, มนัส ประทุมทอง และสุรวิทย์ สุริยพันธุ์. 2528. ศึกษาผลตอบสนองของอ้อย 4 พันธุ์ ที่มีต่อปุ๋ยไนโตรเจน, . 367-374. ใน รายงานผลงานวิจัย ปี 2528 อ้อย ยาสูบพื้นเมือง ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

จักรินทร์ ศรัทธาพร, อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, ปรีชา พราหมณีย์, สุรวิทย์ สุริยพันธุ์ และจรัญ อารีย์. 2538. การศึกษาวิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยพันธุ์อู่ทอง 1 (อ้อยตอ 2), . 363-370. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2538 อ้อย เล่ม 1 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

จักรินทร์ ศรัทธาพร, อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, ปรีชา พราหมณีย์, สุรวิทย์ สุริยพันธุ์ และจรัญ อารีย์. 2538. การศึกษาวิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 (อ้อยตอ 1), . 356-362. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2538 อ้อย เล่ม 1 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, จรัญ อารีย์, ปรีชา พราหมณีย์, เจริญ บัวคงดี และสมพงษ์ กาทอง. 2538. เวลาของการใช้และอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสม เพื่อลดการออกดอกของอ้อย, . 327-336. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2538 อ้อย เล่ม 1 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, ปรีชา พราหมณีย์, จรัญ อารีย์, เจริญ บัวคงดี และประพันธ์ ประเสริฐศักดิ์. 2539. การเพิ่มจำนวนครั้งและปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในเขตอาศัยน้ำฝน, . 73-83. ใน รายงานผลการทดลอง ปี 2539 อ้อย เล่ม 1 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, ปรีชา พราหมณีย์, จรัญ อารีย์, เจริญ บัวคงดี และสมพงษ์ กาทอง. 2539. การเพิ่มจำนวนครั้งและปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในเขตอาศัยน้ำฝน, . 324-332. ใน รายงานผลการทดลอง ปี 2539 อ้อย เล่ม 1 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, ปรีชา สุริยพันธุ์, จรัญ อารีย์, ธงชัย ตั้งเปรมศรี, ปรีชา พราหมณีย์ และประพันธ์ ประเสริฐศักดิ์. 2537. ผลของการใช้ปุ๋ย N P K ที่มีผลต่อการออกดอกของอ้อย, . 477-485. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2537 อ้อย เล่ม 2 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 86226 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

คุณSam FarmKaset
[email protected]
http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00158  ตามลิงค์นี้ครับ
29 ม.ค. 2556 , 01:44 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

คุณอัทธานุ คุ้มหมู่
[email protected]
อยากทราบสุตรปุ๋ยเคมีใส่อ้อยดินปนทราย อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ทุกระยะการเติบโต และสำหรับอ้อยตอด้วย หรือแนะนำเว็บ ขอบคุณมากครับ
29 ม.ค. 2556 , 01:27 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

เกษตรไทย
[email protected]
ออ ลืม บอกไป ควร ผสม แม่ ปุ๋ยใช้เอง เพื่อความ ประ หยัด และ ตรง ตาม ที่ต้องการ ควบคู่ กับ การ ใส่ ปุุ๋ยอินทรีย์  
15 พ.ค. 2555 , 07:46 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

เกษตรไทย
[email protected]
ตอบ เด็กเกษตรรุุ่่่่นใหม่ ก็เป็นความ คิดทีี่ดีนะคับ แต่ ว่า ขี้ ไก่ มันมีแกลบผสมอยู่มาก จะทำให้ไม่ได้ อัตตรา ส่วน ที่ต้อง การ และการ ให้ ปุ๋ย ควร ตรวจดิน ก่อนว่า ดิน มี ธาตุอาหาร อะไร บ้าง และยังขาดธาตุอะไร อยู่ ตาม ที่ อ้อย ต้องการ และก็ควรใส่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เพื่อ บำรุง ดิน ด้วย จะ ดี มาก โดยแบ่งใส่ ปุ๋ยเคมีเป็น สองครั้ง

15 พ.ค. 2555 , 07:38 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

บุญมี อัคฮาดศรี
[email protected]
คลังปุ๋ยราคาส่งปุ๋ยชนิดน้ำปุ๋ยชนิดเม็ดสารบำรุงพืชสัตว์บกสัตว์น้ำสินค้าการเกษตรกว่า10บริษัทให้ท่านเลือกติดต่อดาวน  ///  081-4319494////
20 พ.ย. 2554 , 07:35 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

webmaster
[email protected]
อยากให้คุณสุรชัย ศึกษาจากหน้า http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00158 หน้านี้นะครับ อาจจะยาวหน่อย แต่มีรายละเอียดเยอะ น่าจะพอตอบคำถามได้ครอบคลุมครับ
16 มี.ค. 2554 , 04:01 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

สุรชัย
[email protected]
อยากได้คำแนะนำเกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยว่าควรจะใส่ปุ๋ยสูตรอะไร และช่วงระยะเวลาใด
16 มี.ค. 2554 , 08:07 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

อ้วน คะนองนา
[email protected]
ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสด ไม่ทำให้ดินเค็มหรอกครับ มีแต่ทำให้เกิดแก็ส ทำให้การตรึงไนโตรเจนลดลง แต่หากเราไถกลบปุ๋ยพืชสดหรือปุ๋ยคอกทิ้งไว้ สัก 30-40วันก็ไม่เป็นไร หรือใช้ปุ่ยคอกอัดเม็ดที่มีการหมักจุลินทรีย์มา 8-9เดือนและอบความชื้นแล้วจะไม่มีปัญหาทั้ง 2 อย่างเลย ใช้ปุ๋ยเคมีเสริมช่วยรองก้นหลุมเพื่อเร่งรากในระยะแรกเกิด + ปุ๋ยคอกหมักให้ผลระยะยาวโดยไม่ต้องใช้ยูเรียอีกเลย ดินจะดีอีกนานครับ หรือจะเอายูเรียแต่งหน้าช่วงเดือนที่ 3-4 ก็จะดี ช่วยกระตุ้นการใช้ไนโตรเจนของพืช โดยทั้งหมดต้องใช้ขณะที่ดินมีความชื้นนะครับ จะได้ผลดี
ตอนนี้ผมจะเอาไปใช้ตอนปลูกอ้อยใหม่ทั้งหมด แต่ยังติดขัดเรื่องการขนส่ง เพราะต้องใช้เยอะมาก จะเห็นผลใกล้เคียงกับปุ๋ยเคมี แต่ยั่งยืนกว่า ที่ราคาต้นทุนเท่ากันครับ
17 มิ.ย. 2553 , 11:02 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

สุภาวดี
[email protected]
หรือบอกแหล่งข้อมูลที่จะค้นหาก็ได้ค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
15 มิ.ย. 2553 , 09:54 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

สุภาวดี
[email protected]
ข้อมูลละเอียดดีค่ะ แต่ดิฉันขอความกรุณาให้รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการแบ่งท่อนพันธุ์เป็น 3 ส่วนหน่อยได้ไหมค่ะ คือต้องการทราบว่าการแบ่งท่อนพันธุ์เป็นส่วน ปลาย กลาง และโคน เราจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ค่ะ นับข้อ ดูอายุ หรือใช้เกณฑ์ไหนหรือค่ะ ขอด่วนไดไหมค่ะกรุณาส่งมาเมลล์นี้นะค่ะ ขอบคุณค่ะ
15 มิ.ย. 2553 , 09:52 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

อ้วน คะนองนา
[email protected]
ไม่ค่อยดีเท่าไรครับ หากเราจะใช้เคมีรองพื้น ควรใช้ตัวหน้าต่ำ อย่าเช่นสูตร 15-15-15 เพราะจะช่วยเร่ารากแลกการเติบโตช่วงแรก ส่วนปุ๋ยขี้ไก่ ดีแน่นอนเห็นผลช้า แต่ดีระยะยาว มีข้อเสียคือต้องใส่ปริมาณมากๆ ถึงจะเห็นผลครับ
17 พ.ค. 2553 , 09:56 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

เด็กเกษตรรุ่นใหม่
[email protected]
นำปุ๋ยขี้ไก่และปุ๋ยยูเรีย อัตราส่วน 60/40ในการรองพื้นก่อนปลูกจะทำให้ดินเค็มเกินไปมั้ยคับ ผมคิดว่าเป็นการลดต้นทุนแทนทีจะไช้ปุ๋ยยูเรียรองพื้นทั้งหมดเลยนะคับช่วยแนะนำทีนะคับ(ปลูกครั้งแรกในชีวิต)
15 มี.ค. 2553 , 10:14 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

yaky
[email protected]
ก็ดีนะเพื่อความก้าวหน้าของเกษตรกรไทย
26 ม.ค. 2553 , 01:08 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 6816
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 6691
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9017
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 7562
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 7875
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 7925
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 6933
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>