ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 6845 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

วงการปศุสัตว์-ประมง ระวังหมันตภัยที่มากับฤดูร้อน

สภาพอากาศที่เปลี่ยนอย่างกระทันหัน ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วย ล้มตาย ส่งผลให้เกิดความสูญเสียเป็นอย่างมาก ในภาคเกษตรกรรม

data-ad-format="autorelaxed">

ภัยร้อน ปศุสัตว์ ประมง

 

มหันตภัย!..มันมากับหน้าร้อนลางร้ายวงการปศุสัตว์-ประมง 


ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปตามฤดูกาล จะส่งผลโดยตรงต่อวงการปศุสัตว์และประมง เนื่องจากสัตว์ที่เกษตรกรเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก สัตว์ปีก และสัตว์น้ำ หากดูแลไม่ดีและสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมสัตว์เหล่านี้ไม่สามารถที่จะปรับได้อย่างกะทันหัน ส่งผลให้สัตว์ที่เกษตรกรเลี้ยงเกิดเจ็บป่วย และล้มตาย อันจะก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงทั้งภาคเศรษฐกิจและเกษตรกร จึงทำให้หลายภาคส่วนต่างออกมาเตือนพร้อมกับแนวทางในการแก้ปัญหาในช่วงนี้ไม่ว่าจะเป็นสมาคมวิชาชีพและหน่วยงานของรัฐรวมทั้งบริษัทเอกชน อย่าง นสพ.สุเมธ ทรัพย์ชูกุล นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก คาดการณ์ว่า สภาพอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา อาจก่อให้เกิดความเครียดแก่สัตว์เลี้ยงได้ เกษตรกรจึงควรจัดเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูร้อน
แนะใช้คลอรีนผสมน้ำ


กรณีหากเกิดปัญหาการขาดแคลนและน้ำไม่สะอาด นสพ.สุเมธ แนะนำว่าให้ใช้คลอรีน 2-3 ppm ผสมในน้ำเพื่อให้น้ำสะอาดไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ช่วยป้องกันอาการท้องเสียที่อาจเกิดขึ้นกับสัตว์ได้ พร้อมกันนี้ต้องหมั่นดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง ตรวจสอบโรงเรือนให้อยู่ในสภาพดี ควบคู่ไปกับการจัดการฟาร์มและการสุขาภิบาลที่ดี


ในส่วนของสัตว์ปีกอย่างไก่เนื้อ ไก่ไข่ ไก่พื้นเมือง และเป็ด ต้องระมัดระวังโรคระบาด เช่น โรคหลอดลมอักเสบ โรคอหิวาต์ โรคฝีดาษ โรคบิด และโรคที่เกิดจากสารพิษจากเชื้อราในอาหาร เนื่องจากสัตว์ปีกมักอ่อนแอง่ายกว่าปกติในสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงระหว่างวันในฤดูร้อน เกษตรกรจึงควรให้การดูแลและสังเกตอาการสัตว์ปีกอย่างใกล้ชิด ให้วิตามินละลายน้ำเพื่อป้องกันสุขภาพสัตว์ก่อน และควรให้วัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ปีกตามที่สัตวแพทย์กำหนด


นอกจากนี้เกษตรกรต้องควบคุมการให้อาหารให้เหมาะสม อาจต้องให้อาหารบ่อยครั้งขึ้น เพื่อกระตุ้นการกินอาหาร ในกรณีที่พบสัตว์ป่วยหรือตายเกษตรกรต้องมีการกำจัดให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ไม่นำไปชำแหละขายเพื่อบริโภค หรือทิ้งลงคูคลอง เพราะจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
สารพัดโรคในสัตว์กีบคู่


สอดคล้องกับการแนะนำของ นสพ.ปราโมทย์ ตาฬวัฒน์ นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ที่ระบุว่า อากาศร้อนและแล้งจะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงสุกร โดยเฉพาะในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนจัด แม้จะเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนแบบปิดที่สามารถปรับอากาศภายในโรงเรือนได้ก็ตาม แต่อุณหภูมิที่สูงนั้นทำให้ประสิทธิภาพในการปรับอากาศไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้สุกรเกิดความเครียด แสดงอาการหอบ กินอาหารน้อยลง สุกรอาจเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น และส่งผลให้การเจริญเติบโตต่ำ ยิ่งเลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิดโล่ง ยิ่งทำให้สุกรแสดงอาการมากขึ้น นอกจากนี้ที่ควรระวังคือ โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) ที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจ โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส พีอาร์อาร์เอส และยังไม่มียารักษาแต่ไม่ระบาดในคน


"ช่วงหน้าร้อนเกษตรกรต้องระมัดระวังการเกิดโรคระบาดในสัตว์ เช่น โรคอหิวาต์ในสุกร โรคท้องเสียติดต่อ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคเหล่านี้หากมีการระบาดขึ้นจะสร้างความเสียหายย่างร้ายแรง บางพื้นที่กลางวันร้อนสลับฝนตกและอากาศเย็นในช่วงเช้าตรู่และพลบค่ำ ทำให้สัตว์ต้องปรับสภาพร่างกายค่อนข้างยาก โดยเฉพาะสัตว์กีบคู่ทั้งโค กระบือ ดังนั้นเกษตรกรต้องเฝ้าระวังเรื่องโรคติดต่อที่มักพบบ่อยคือ โรคปากและเท้าเปื่อย โดยมีนก หนู สุนัข แมว เป็นตัวพาหะนำเชื้อโรค ตลอดจนเชื้อที่ติดมากับบุคคลด้วย" นสพ.ปราโมทย์ กล่าว


อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นควรโรยปูนขาว (Calcium carbonate 4%) ที่สามารถลดปริมาณเชื้อไวรัส FMD ได้ ที่สำคัญต้องเน้นการให้วัคซีนตามโปรแกรมที่สัตวแพทย์กำหนด รวมทั้งการถ่ายพยาธิภายในและกำจัดพยาธิภายนอกเป็นประจำทุก 6 เดือน ซึ่งจะช่วยให้สัตว์มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง


เทคนิคเลี้ยงปลาฝ่าวิกฤติแล้ง

ด้านนายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ระบุว่า จากการประเมินสถานการณ์ภัยแล้งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าปี 2558 นี้ ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางมีปริมาณน้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ 5,432 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำปริมาณน้ำต้นทุนที่ไหลลงสู่ที่ราบมีน้อยลง จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของปลาเลี้ยงทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลานิลและปลาทับทิมที่เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะปลาพวกนี้เหมาะกับอุณหภูมิน้ำอยู่ที่ 26-32 องศาเซลเซียสเท่านั้น


ดังนั้นเกษตรกรที่เลี้ยงปลาในแหล่งน้ำเปิด อันดับแรกต้องหลีกเลี่ยงการเลี้ยงในแหล่งน้ำตื้น อัตราการไหลของน้ำมีน้อย หรือเป็นจุดตกตะกอน แหล่งน้ำที่ใช้วางกระชังปลาต้องเป็นน้ำสะอาด มีกระแสน้ำไหลดีตลอดเวลาไม่ต่ำกว่า 15 เมตรต่อนาที และต้องลดปริมาณปลาที่จะเลี้ยงลงเหลือร้อยละ 60-70 จากภาวะปกติ เพื่อให้ปลาอยู่สบายไม่แออัดช่วยลดความเครียดที่จะเกิดขึ้นได้


กรณีที่ปริมาณน้ำลดลงมากอาจมีผลต่อปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีน้อยลง เกษตรกรควรเพิ่มออกซิเจนในน้ำด้วยการติดตั้งเครื่องให้อากาศในกระชัง โดยเทคโนโลยีนี้ซีพีเอฟได้พัฒนาต่อยอดมาจากระบบให้อากาศในบ่อเลี้ยงกุ้ง พบว่าสามารถเพิ่มอากาศในน้ำของระบบกระชังปลาได้เป็นอย่างดี

"สภาพอากาศร้อนจัด ปลาจะเครียด ทำให้ปลามีภูมิต้านทานลดลง เกษตรกรจึงควรเพิ่มวิตามินซีให้ปลากินสัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน เพื่อช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคแก่ปลา ควบคู่กับการใช้สารโปรไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์เพื่อช่วยควบคุมเชื้อก่อโรคในตัวปลาได้ และควรให้สารเพิ่มภูมิต้านทานคือ เบต้ากลูแคน ที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของปลาช่วยป้องกันโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียต่างๆ ได้" นายอดิศร์ กล่าว


อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับสัตว์เลี้ยง กรมปศุสัตว์ได้มีการเผยแพร่สถานการณ์โรคระบาดสัตว์รายสัปดาห์ที่เว็บไซต์ dcontrol.dld.go.th และขอความร่วมมือจากประชาชน เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ หากพบเห็นสัตว์ป่วยตายอย่างผิดปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุ อย่านำไปแจกจ่าย ขาย หรือประกอบอาหารอย่างเด็ดขาด และสามารถแจ้งเบาะแสให้อาสาปศุสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ของท่านหรือ “สายด่วนแจ้งโรคระบาดสัตว์ กรมปศุสัตว์” โทรศัพท์ 0-2653-4421 หรือ 0-2635-4412


จาก komchadluek.net


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6845 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7012
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7097
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 6756
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 7856
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6301
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5565
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 5873
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>