ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 15090 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย ข้อมูลทางทฤษฎีโดยละเอียด

ข้อมูลเกี่ยวกับปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย ให้ข้อมูลทางทฤษฎีอย่างละเอียด ความรู้ประเภทของปุ๋ยต่างๆ และการใช้งานที่ต่างกัน..

data-ad-format="autorelaxed">

ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย

คำนำ
การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกอย่างรวดเร็ว ในขณะที่พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกมีจำกัด การเพิ่มผลผลิตพืชโดยการขยายพื้นที่เพาะปลูกหรือการย้ายที่ไปยังพื้นที่ซึ่งอุดมสมบูรณ์กว่า ไม่สามารถกระทำได้อีกต่อไปในปัจจุบัน เกษตรกรจำเป็นต้องหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้ปุ๋ยเป็นวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ให้ผลเร็ว และใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยวิธีนี้จึงเป็นที่นิยมของเกษตรโดยทั่วไป พื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากผ่านการเพาะปลูกมาเป็นเวลายาวนาน ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ทำให้จำเป็นต้องใช้ปุ๋ย

การใช้ปุ๋ยมีลักษณะคล้ายกับการใช้ยา โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยเคมีผู้ใช้จะต้องรู้ว่าพืชต้องการปุ๋ยชนิดใด ต้องการมากน้อยเท่าไร และควรจะให้ปุ๋ยเมื่อไร สารที่เป็นยาไม่สามารถใช้รักษาได้ทุกโรค ทำนองเดียวกับปุ๋ยที่ไม่ได้ทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นเสมอไป ยาที่หมดกำหนดให้กินวันละ 3 เม็ด ติดต่อกัน 7 วัน ย่อมมีผลในการรักษาไม่เหมือนกับกินหมดทั้ง 21 เม็ด ภายในวันเดียว การใช้ปุ๋ยไม่ถูกชนิดไม่ถูกวิธีก่อให้เกิดผลเสียแก่พืช ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่คิดว่าเป็นเรื่องเสียหายร้ายแรง อย่างไรก็ตามปัจจุบันการผลิตในภาคเกษตรมีลักษณะคล้ายกับการผลิตในอุตสาหกรรมเข้าไปทุกขณะ เกษตรกรผู้ผลิตจำเป็นต้องจำกัดต้นทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและจำเป็นต้องลดการใช้สารเคมีทุกชนิดเพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ความรู้ในเรื่องการใช้ปุ๋ยจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ผลิตพืช

ปุ๋ย คืออะไร
ปุ๋ยตามความหมายใน พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า "ปุ๋ย" หมายความว่า สารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดย ธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช
ความหมายใหม่ของปุ๋ย
ปุ๋ยตามความหมายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไม่คลอบคลุมถึงวัตถุประดิษฐ์ชนิดใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่เกิดขึ้นมากมายหลายชนิดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี นักวิทยาศาสตร์ทางดินกลุ่มหนึ่งจึงได้เสนอให้ขยายขอบเขตนิยมของปุ๋ยให้กว้างขึ้น ในความหมายใหม่นี้ปุ๋ย หมายถึง วัตถุใด ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยผ่านระบบราก ในความหมายใหม่นี้ปุ๋ยจำแนกออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. ปุ๋ยเคมี (chemical fertilizer) หมายถึง วัตถุใด ๆ ที่ให้ธาตุอาหารแก่พืช เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ยูเรีย และโพแตสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น
2. ปุ๋ยกายภาพ (physical fertilizer) หมายถึง วัตถุใด ๆ ที่ช่วยทำให้สมบัติทางกายภาพของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช สมบัติทางกายภาพดังกล่าว เช่น อัตราการซึมซับน้ำของดิน ความร่วนซุยของดิน และความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน เป็นต้น ปัจจุบันสารที่ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินเพียงอย่างเดียวไม่จัดเป็นปุ๋ย แต่เรียกว่า สารปรับปรุงดิน (soil conditiconer)
3. ปุ๋ยชีวภาพ (biological fertilizer) หรือ bio-fertilizer) หมายถึง ชีววัตถุที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น การใช้เชื้อไรโซเมียมคลุกเมล็ดถั่วก่อนปลูก เพื่อช่วยให้ถั่วมีปมรากมากขึ้น และได้รับไนโตรเจนมากขึ้น การเลี้ยงแหมแดงในนาข้าว เพื่อช่วยเพิ่มไนโตรเจนให้กับข้าว หรือการใช้ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น
ประเภทของปุ๋ย
ปุ๋ยสามารถจำแนกประเภทได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนก ตัวอย่างเช่น
1. จำแนกตามประเภทของสารที่เป็นองค์ประกอบ
1.1 ปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีสารประกอบอินทรีย์เป็นองค์ประกอบหลัก เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น
1.2 ปุ๋ยอนินทรีย์ (inorganic fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีองค์ประกอบเป็นสารอนินทรีย์ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยโนโมแอมโมเนียมฟอสเฟต ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต และปุ๋ยโพแตสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น
2. จำแนกตามแหล่งกำเนิดของปุ๋ย
2.1 ปุ๋ยธรรมชาติ (natural fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากพืชหรือสัตว์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น
2.2 ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยสังเคราะห์ (synthetic fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยกระบวนการทางเคมี เช่น แอมโมเนียมคลอไรด์ ยูเรีย ไดแอมโมเนียฟอสเฟต และโพแตสเซียมซัลเฟต เป็นต้น
3. จำแนกตามสูตรปุ๋ยหรือเกรดปุ๋ย
1.1 ปุ๋ยสูตรต่ำ (low analysis fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีร้อยละของธาตุอาหารตามที่ระบุในสูตรปุ๋ยรวมกันต่ำกว่า 15%
1.2 ปุ๋ยสูตรกลาง (medium analysis fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีร้อยละของธาตุอาหารตามที่ระบุในสูตรปุ๋ยรวมกันอยู่ระหว่าง 15-25%
1.3 ปุ๋ยสูตรสูง (high analysis fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีร้อยละของธาตุอาหารตามที่ระบุในสูตรปุ๋ยรวมกันอยู่ระหว่าง 25-30%
1.4 ปุ๋ยสูตรเข้มข้น (contrentrate fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีร้อยละของธาตุอาหารตามที่ระบุในสูตรปุ๋ยรวมกันมากกว่า 30%
ปุ๋ยคอก (farm manure)
ปุ๋ยคอก หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งขับถ่ายของสัตว์ เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ รวมทั้งเศษอาหาร ฟาง หญ้าแห้ง หรือ แกลบ ที่ใช้คลุกพื้นคอก ปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยคอกเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหลายอย่าง เช่น
  • ชนิดของสัตว์ ปุ๋ยคอกจากไก่มักมีธาตุอาหารมาก ในขณะที่ปุ๋ยคอกจากวัว หรือควาย มักมีธาตุอาหารน้อย
  • อายุของสัตว์
  • อาหารที่สัตว์กิน
  • การจัดการคอกสัตว์ เช่น การใช้หรือไม่ใช้วัสดุคลุมพื้นคอก
  • การเก็บรักษาปุ๋ยคอก ปุ๋ยคอกที่เก็บรักษาไว้นานมักมีปริมาณธาตุอาหารลดลง ไนโตรเจนมักสูญเสียไปโดยการสลายตัวกลายเป็นแก๊ส N2 หรือ NH3 ส่วนโพแตสเซียมมักสูญเสียไปโดยการชะล้างไปกับน้ำฝน ดังนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกที่ดีจึงควรเก็บในโรงเรือนที่มีหลังคาคลุม และเติมหินฟอสเฟต (0-3-0) หรือปุ๋ยฟอสเฟตอย่างอื่นลงไปประมาณ 10 กิโลกรัม ต่อปุ๋ยคอก 1 ตัน
ตารางที่ 1 ปริมาณธาตุอาหารในมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ
ชนิดของสัตว์ร้อยละของธาตุอาหารโดยน้ำหมักแห้ง
NP2O5K2O
ไก่1.8-2.92.9-4.80.8-1.4
เป็ด0.5-1.21.0-2.20.2-0.8
ม้า0.5-1.00.3-0.70.2-0.7
วัว0.3-0.80.3-0.50.2-0.5
ควาย0.8-1.20.5-1.00.5-1.0
หมู0.6-1.00.5-0.80.2-0.8
ค้างคาว1.0-6.05-100.5-1.2

ที่มา : ดุสิต มานะจุติ (2535) หน้า 283
ปุ๋ยหมัก (Compost)
ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากองรวมกันเพื่อปล่อยให้เน่าเปื่อยจนเป็นฮิวมัสแล้วจึงนำไปใช้ วิธีทำปุ๋ยหมักทำโดยนำเศษพืชหรือสิ่งปฏิกูลมากองเป็นชั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอหนาชั้นละ 15-30 เซนติเมตร ระหว่างชั้นโรยด้วยปุ๋ยคอกหนาประมาณ 10 เซนติเมตร ถ้าปุ๋ยคอกมีจำกัดอาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์แทน โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 2.5 กิโลกรัม ชุเปอร์ฟอสเฟต 1 กิโลกรัม และโพแตสเซียมคลอไรด์ 2.5 กิโลกรัม ต่อพื้นที่กองปุ๋ย 10 ตารางเมตร อาจโดยปูนขาวด้วยก็ได้ กองเป็นชั้น ๆ เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ประมาณ 4-6 ชั้น ชั้นบนสุดคลุมด้วยดินหนาประมาณ 2.5-5.0 เซนติเมตร รดน้ำกองปุ๋ยให้ชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา กลับกองปุ๋ยหมักทุกเดือน ภายในเวลา 3-4 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักพร้อมใช้ ในกรณีที่ต้องการย่นระยะเวลาในการหมักลงให้ใช้จุลินทรีย์ช่วยเร่งปฏิกริยาการหมัก โดยผสมลงในกองปุ๋ยเป็นชั้น ๆ จุลินทรีย์ช่วยเร่งเหล่านี้ซื้อได้จากกรมพัฒนาที่ดิน หรือเอกชนที่ผลิตจำหน่าย
ตารางที่ 2 ปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ยหมักบางชนิด
ชนิดของปุ๋ยร้อยละของธาตุอาหารโดยน้ำหมักแห้ง
NP2O5K2O
ฟางข้าว0.8-1.50.2-1.00.8-1.0
ฟางข้าวผสมมูลวัว1.80.20.5
ฟางข้าวหลังเพาะเห็ด1.20.41.2
ผักตบชวา1.40.50.5
ผักตบชวาผสมมูลหมู1.80.80.8
ซังข้าวโพดผสมมูลวัว2.02.01.0
หญ้าขมผสมมูลไก่2.02.51.5

ที่มา : ดุสิต มานะจุติ (2535)
ปุ๋ยพืชสด (green manure)
ปุ๋ยพืชสด หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการไถกลบพืชสดลงไปในดิน พืชที่นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดได้แก่ พืชตระกูลถั่ว และพืชอื่นที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้ และโตเร็ว ทั้งนี้เพราะพืชเหล่านี้มีไนโตรเจนสูง เมื่อถูกย่อยสลายจะปลดปล่อยไนโตรเจนในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชปลูก
ตารางที่ 3 ปริมาณธาตุอาหารหลักในพืชบางชนิดที่ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด
พืชร้อยละของธาตุอาหารโดยน้ำหมักแห้ง
NPK
ต้นถั่วเขียวแก่2.0-3.00.1-0.31.5-3.0
ต้นถั่วเขียวกำลังออกดอก2.0-4.00.1-0.52.0-4.0
ต้นถั่วเหลืองแก่2.0-4.00.1-0.51.0-3.0
ต้นถั่วเหลืองกำลังออกดอก2.5-4.00.1-0.51.0-3.0
ต้นข้าวโพดแก่0.2-0.50.1-0.21.0-3.0
ต้นข้าวโพดกำลังออกดอก0.2-1.50.2-0.51.0-4.0

ที่มา : ดุสิต มานะจุติ (2535)
ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยเคมีที่จะกล่าวถึงในหัวข้อนี้หมายถึงปุ๋ยที่สังเคราะห์ขึ้นโดยกระบวนการทางเคมี รวมทั้งสินแร่ต่าง ๆ ที่นำมาใช้เป็นปุ๋ย ปุ๋ยเคมีอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามธาตุอาหารที่พืชได้รับจากปุ๋ยเคมีนั้น ๆ ดังนี้
1. ปุ๋ยธาตุหลัก
ปุ๋ยธาตุหลัก หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแตสเซียม โดยอาจมีเพียงธาตุใดธาตุหนึ่งหรือมีมากกว่าหนึ่งธาตุในปุ๋ยชนิดเดียวกันก็ได้ ปุ๋ยธาตุเหล็กสามารถแยกย่อยตามธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น ได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสฟอรัส ปุ๋ยโพแตสเซียม และปุ๋ยผสม
2. ปุ๋ยธาตุรอง
ปุ๋ยธาตุรอง หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน โดยอาจมีเพียงธาตุใดธาตุหนึ่งหรือมีมากกว่าหนึ่งธาตุในปุ๋ยชนิดเดียวกันก็ได้
3. ปุ๋ยจุลธาตุ
ปุ๋ยจุลธาต หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุเหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โมลิมดินัม หรือโบรอน
ปุ๋ยไนโตรเจน
1. แอมโมเนีย (NH3)
แอมโมเนีย เป็นแก๊ส สังเคราะห์ขึ้นจากปฏิกริยาระหว่าง N2 กับ H2 ดังสมการ
N2 เป็นวัตถุดิบที่ได้จากอากาศจึงเกือบจะไม่มีต้นทุนใด ๆ ในการผลิต ส่วน H2 มักผลิตจากแก๊สธรรมชาติ น้ำมัน หรือถ่านหิน การใช้เป็นปุ๋ยสามารถใช้ได้ทั้งในรูปแอมโมเนียเหลว (แก๊ส NH3 ที่นำมาอัดให้ความดันสูงจนเป็นของเหลว) โดยใช้เครื่องมือพิเศษฉีดลงในดิน หรือใช้ในรูปแอมโมเนียน้ำ (แก๊ส NH3 นำมาละลายน้ำ) ใช้โดยการฉีดพ่น เนื่องจากความยุ่งยากในการใช้และการขนส่ง เกษตรกรไทยยังไม่นิยมใช้ปุ๋ยชนิดนี้
2. ยูเรีย (Urea : NH2CONH2)
ยูเรียเป็นสารที่สังเคราะห์จากปฏิกริยาระหว่าง CO2 กับ NH3ดังสมการ
ยูเรียเป็นปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนตกถึงร้อยละ 46 และ มักมีราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารต่ำกว่าปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นของแข็งชนิดอื่น ทำให้ปุ๋ยยูเรียได้รับความนิยมแพร่หลาย ยูเรียเป็นสารที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง แต่เมื่อใส่ปุ๋ยยูเรียลงในดิน ยูเรียจะถูกไฮโดรไลซ์โดยมีเอนไซม์ urease ช่วยเร่งปฏิกริยา และถ้าอยู่ในภาวะที่มีออกซิเจนเพียงพอ NH4+ ที่เกิดขึ้นจะถูกจุลินทรีย์ออกซิไดซ์ต่อไปเป็น NO3- ดังปฏิกริยา
การเปลี่ยนยูเรียเป็นแอมโมเนียมหรือไนเตรตใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ พืชจึงตอบสนองต่อปุ๋ยยูเรียช้ากว่าปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นสารประกอบไนเตรต ยูเรียนอกจากใช้เป็นปุ๋ยทางดินแล้วสามารถใช้เป็นปุ๋ยทางใบได้ดีอีกด้วย ปุ๋ยยูเรียมีผลตกค้างทำให้ดินเป็นกรด ดังนั้นเมื่อใช้ปุ๋ยยูเรียติดต่อกันเป็นเวลานาน จะต้องหว่านปูนเพื่อกำจัดกรดที่เกิดขึ้น
3. แอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2SO4)
ปุ๋ยชนิดนี้อาจผลิตโดยตรงจากปฏิกริยาเคมีระหว่างแอมโมเนียกับกรดซัลฟูริค หรือเป็นผลพลอยได้ (by-product) เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ร่วม (Co-product) ของการผลิตสารเคมีชนิดอื่น เช่น การกลั่นถ่านหิน การผลิตคาร์โปรเลคเทม การผลิต TiO2 หรือ การผลิตปุ๋ยยูเรีย เป็นต้น ปุ๋ยตัวนี้มีไนโตรเจน 21% และกำมะถัน 24% จึงเป็นปุ๋ยที่ให้ทั้งธาตุหลักและธาตุรอง เหมาะกับดินที่มีทั้งไนโตรเจนและกำมะถันต่ำ ปุ๋ยนี้มีผลตกค้างในดินเป็นกรด เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจึงต้องใส่ปูนเพื่อเพิ่ม pH ของดิน
4. แอมโมเนียคลอไรด์ (ammonium chloride : NH4Cl)
ปุ๋ยชนิดนี้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเกือบทั้งหมดเป็นผลพลอยได้จากการผลิต Soda ash (Na2CO3) และการผลิตผงชูรส ปุ๋ยตัวนี้มีไนโตรเจนประมาณ 25% พืชโดยทั่วไปต้องการคลอไรด์เพียงเล็กน้อย การใช้ปุ๋ยตัวนี้ติดต่อกันอาจทำให้ดินมีความเค็มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เหมาะกับพืชที่ต้องการคลอไรด์สูง เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ปุ๋ยตัวนั้นมีผลตกค้างในดินเป็นกรดเช่นเดียวกัน เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจึงต้องใส่ปูนเพื่อเพิ่ม pH ของดิน
5. แอมโมเนียไนเตรต (ammonium nitrate : NH4NO3)
ปุ๋ยชนิดนี้ผลิตจากปฏิกริยาเคมีระหว่างแอมโมเนียกัลกรดไนตริกมีไนโตรเจนประมาณ 34 % ปุ๋ยตัวนี้มีข้อดีที่ละลายน้ำได้ดีพืชจึงสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ดินดูดซับ NH4+ ได้ดี แต่ถ้าใช้ในดินด่างจะทำให้สูญเสีย NH4+อย่างรวดเร็ว จากปฏิกริยา
NH4+   +   OH-   ->   NH3   +   H2O
ปุ๋ยตัวนี้เป็นสารออกซิไดซ์อย่างดี จะต้องเก็บรักษาห่างจากวัตถุไวไฟ หรือวัตถุที่ติดไฟได้ทุกชนิด มีผลตกค้างในดินเป็นกรดเช่นเดียวกับปุ๋ยไนโตรเจนชนิดอื่นที่กล่าวแล้ว สำหรับประเทศไทย สารนี้จัดเป็นยุทธปัจจัย ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยตาม พรบ. ปุ๋ย 2518 ได้ 
6. โซเดียมไนเตรต (Sodium nitrate : NaNO3)
ปุ๋ยตัวนี้ส่วนใหญ่ได้จาก chilean saltpeter ซึ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1830 ในประเทศชิลี ปุ๋ยตัวนี้มีไนโตรเจนเพียง 16% และมีโซเดียมซึ่งพืชโดยทั่วไปไม่ต้องการ ทำให้ตกค้างในดินและดินมีความเค็มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในธรรมชาติมีสารนี้อยู่น้อยทำให้มีการใช้น้อย
7. แคลเซียมไนเตรต (calcium nitrate : Ca(NO3)2)
ปุ๋ยชนิดนี้ผลิตจากประเทศนอรเวเป็นส่วนใหญ่มีไนโตรเจนเพียงประมาณ 17% แต่มีแคลเซียมซึ่งเป็นธาตุอาหารรองที่พืชต้องการ โดยเฉพาะพืชที่ปลูกในดินกรด ปุ๋ยชนิดนี้ดูดความชื้นได้ดีมาก ทำให้ยากต่อการเก็บรักษาและราคาในท้องตลาดมักแพงเมื่อเทียบกับยูเรีย
8. แคลเซียมไซยามามีด (calcium cyanamide : CaCN2)
ปุ๋ยชนิดนี้ปัจจุบันมีใช้น้อย มีประเทศผู้ผลิตเพียงรายเดียว คือ ประเทศญี่ปุ่น มีไนโตรเจนประมาณ 21-22% พืชไม่สามารถใช้สารตัวนี้ได้โดยตรง แต่เมื่อใส่ปุ๋ยนี้ลงในดินจะเกิดปฏิกริยากับน้ำในดินได้แก๊ส NH3 ดังสมการ
 
CaCO3 ที่เกิดขึ้นทำให้ดินมี pH สูงขึ้น นอกจากนี้หากดินเป็นดินด่าง NH3 ที่เกิดขึ้นจะระเหยไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นปุ๋ยชนิดนี้จึงเหมาะที่จะใช้ในดินกรด CaCN2 เป็นสารที่มีพิษ จึงสามารถใช้กำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะพวกไส้เดือนฝอยได้ด้วย
ปุ๋ยฟอสฟอรัส
1. หินฟอสเฟต (rock phosphate)
ปุ๋ยชนิดนี้ได้จากการนำหินฟอสเฟตมาบด โดยไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีใด ๆ หินฟอสเฟตมีฟอสฟอรัสทั้งหมดประมาณ 25-35% P2O5 แต่มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพียงประมาณ 3-10% P2O5 ปุ๋ยชนิดนี้จะสลายตัวปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาอย่างช้า ๆ อัตราการสลายตัวจะเร็วขึ้นถ้าดินเป็นกรด ปุ๋ยชนิดนี้จึงเหมาะกับการใช้เพื่อหวังผลในระยะยาว เช่น ใช้เป็นปุ๋ยรองก้นหลุม หรือใช้กับไม้ยืนต้น เป็นต้น
2. ชูเปอร์ฟอสเฟตธรรมดา (ordinary superphosphate)
ปุ๋ยชนิดนี้ผลิตโดยนำหินฟอสเฟตมาทำปฏิกริยากับกรด H2SO4 เพื่อทำให้ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์กับพืชมีเพิ่มขึ้นเป็น 20-21 % P2O5 ปุ๋ยชนิดนี้นอกจากมีธาตุอาหารหลักแล้ว ยังมีธาตุอาหารรอง คือ แคลเซียมและกำมะถันอยู่ด้วย
3. ทริปเปิลชูเปอร์ฟอสเฟต (triple superphosphate)
ปุ๋ยชนิดนี้ผลิตโดยนำหินฟอสเฟตมาทำปฏิกริยากับกรด H3PO4 ทำให้ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์กับพืชมีสูงถึง 45-46% P2O5
4. โมโมแอมโมเนียมฟอสเฟต (momoammonium phosphate : MAP)
ปุ๋ยชนิดนี้ผลิตโดยนำแก๊สแอมโมเนียมาทำปฏิกริยากับกรด H3PO4 โดยใช้อัตราส่วนจำนวนโมลเป็น 1 : 1 ปุ๋ยชนิดนี้จึงมีธาตุอาหารหลักทั้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัสโดยมีสูตรปุ๋ยเป็น 12-62-0
5. ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (diammonium phosphate : DAP)
ปุ๋ยชนิดนี้ผลิตโดยนำแก๊สแอมโมเนียมาทำปฏิกริยากับกรด H3PO4 โดยใช้อัตราส่วนจำนวนโมลเป็น NH3:H3PO4 = 2:1 ปุ๋ยชนิดนี้จึงมีธาตุอาหารหลักทั้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัส โดยมีสูตรปุ๋ยเป็น 21 -53 - 0
6. แคลเซียมเบตาฟอสเฟต (ealcium metaphosphate : Calmeta)
ปุ๋ยชนิดนี้ผลิตโดยนำหินฟอสเฟตมาทำปฏิกริยากับแก๊ส P2O5 (phosphorus pentoxide) ปุ๋ยชนิดนี้มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์กับพืชสูงถึงประมาณ 63 % P2O5 อย่างไรก็ตามต้นทุนในการผลิตปุ๋ยชนิดนี้มีราคาแพง ทำให้มีการใช้น้อย
ปุ๋ยโพแตสเซียม
1. โพแตสเซียมคลอไรด์ (potassium chloride : MOP)
ปุ๋ยชนิดนี้ได้จากแร่ silvite หรือ silivinite ที่นำมาแยกเอาสิ่งเจือปนออกจนได้โพแตสเซียมประมาณ 50-60% K2O ปุ๋ยโพแตสเซียมที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยชนิดนี้ เนื่องจากมีราคาถูก แต่ปุ๋ยชนิดนี้ไม่เหมาะกับพืชที่ต้องการคลอไรด์น้อย การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้คลอไรด์สะสมในดินมาก ทำให้ดินมีความเค็มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการสะสมไม่ค่อยมีปัญหาสำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกชุก
2. โพแตสเซียมซัลเฟต (potassium sulfate : SOP)
ปุ๋ยชนิดนี้ผลิตจากแร่ longbetnite หรือแร่ kainite มีโพแตสเซียมประมาณ 50-54 % K2O นอกจากใช้เป็นปุ๋ยโพแตสเซียมแล้ว ยังใช้เป็นปุ๋ยกำมะถันได้อีกด้วย พืชส่วนใหญ่ต้องการกำมะถันมากกว่าคลอไรด์ แต่ราคาที่แพงกว่า KCl จึงอาจไม่คุ้มค่าที่จะใช้กำมะถันจากปุ๋ย K2SO4
3. โพแตสเซียมฟอสเฟต (KH2PO4)
ปุ๋ยชนิดนี้ผลิตจากปฏิกริยาเคมีระหว่าง KCl กับกรด H3PO4 มีสูตรปุ๋ยเป็น 0-52-35 มีข้อดีที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูงและมีทั้งฟอสฟอรัสและโพแตสเซียมอยู่ในสารตัวเดียวกัน เหมาะที่จะใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการเพิ่มความเข้มข้นของเกลือ หรือต้องการความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง เนื่องจากเป็นปุ๋ยที่มีราคาแพงจึงมีปริมาณการใช้น้อย
ปุ๋ยธาตุรอง
โดยทั่วไปพืชต้องการธาตุอาหารรอง (Ca, Mg, S) น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก (N, P, K ) ทำให้มีโอกาสขาดแคลนน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยธาตุรองจึงไม่แพร่หลาย หรือไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของเกษตรกร พืชมีโอกาสขาดธาตุรองได้หากดินมีธาตุรองอยู่น้อย และพืชที่ปลูกต้องการธาตุรองมาก ปุ๋ยธาตุรองได้จาก 2 แหล่ง คือ
1. เป็นส่วนประกอบของปุ๋ยธาตุอาหารหลัก เช่น
ปุ๋ยหินฟอสเฟต มี Ca อยู่ด้วย
ปุ๋ย OSP มี Ca และ S อยู่ด้วย
ปุ๋ย (NH4)2SO4 มี S อยู่ด้วย
ปุ๋ย K2SO4 มี S อยู่ด้วย

2. ได้จากสินแร่ หรือสารที่มีธาตุอาหารรอง เช่น

หินปูน (CaCO3) หรือปูนขาว (Ca(OH2))
ยิปซัม (CaSO4 .2H2O)
โดโลไมต์ (CaCO3.MgCO3)
ดีเกลือ (MgSO4 .7H2O)
langbeinite ( K2SO4 .2MgSO4)
Carnallite (KCl. MgCl2.6H2O)
Kieserite (MgSO4 .H2O)

การเลือกใช้ปุ๋ยธาตุรองขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหาและราคา

ปุ๋ยจุลธาตุ
พืชต้องการจุลธาตุในปริมาณน้อย ดินโดยทั่วไปไม่ค่อยขาดจุลธาตุ ทำให้ปุ๋ยจุลธาตุไม่มีจำหน่ายแพร่หลายเหมือนปุ๋ยธาตุหลัก อย่างไรก็ตามพืชมีโอกาสขาดได้เช่นกัน การให้ปุ๋ยจุลธาตุทางดินมักแก้ปัญหาได้ช้า ดังนั้นหากพบว่าพืชขาดจุลธาตุมักนิยมใช้ปุ๋ยทางใบ ซึ่งจะแก้ปัญหาได้รวดเร็วกว่า จากนั้นจึงค่อยให้ปุ๋ยทางดินเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว สารเคมีที่ใช้เป็นปุ๋ยจุลธาตุ แสดงในตาราง
ตารางที่ 4 สารเคมีที่ใช้เป็นปุ๋ยจุลธาตุ
ชื่อสารสูตรเคมีร้อยละของธาตุอาหาร
Ferrous sulfateFeSO4. 7H2O20% Fe
Manganese sulfateMnSO4 . 3H2O23% Mn
Manganese chlorideMnCl2. 4H2O27% Mn
Copper sulfateCuSO4. 5H2O25% Cu
Copper chlorideCuCl2. 2H2O37% Cu
Zinc sulfateZnSO4. 7H2O35% Zn
BoraxNa2B4O7.10H2O11% B
Boric acidH3BO317% B
Sodium molybdateNa2MoO4. 2H2O39% Mo

ปุ๋ยผสม
การใช้ปุ๋ยให้ตรงตามความต้องการของพืช และเหมาะสมกับดิน โดยทั่วไปต้องใช้ปุ๋ยชนิดที่กล่าวแล้วหลายชนิดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดความไม่สะดวกกับเกษตรกรผู้ใช้ เนื่องจากต้องจัดหาปุ๋ยหลายชนิด นอกจากนี้ยังเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจกับเกษตรกรสำหรับหน่วยงานของรัฐที่ดูแลด้านการส่งเสริมเกษตร ดังนั้นจึงมีการคิดค้นการผลิตปุ๋ยผสมขึ้น และใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ปุ๋ยผสมสามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิด ตามกรรมวิธีการผลิต คือ
1. ปุ๋ยผสมคลุกเคล้า (bulk blend) ปุ๋ยผสมชนิดนี้ผลิตโดยนำแม่ปุ๋ยตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมคลุกเคล้ากันด้วยวิธีกล (mechanical mixing) การผลิตปุ๋ยผสมชนิดนี้มีต้นทุนในการผลิตต่ำ ในประเทศไทยมีโรงงานผลิตปุ๋ยผสมแบบนี้มากกว่า 10 โรง ปุ๋ยผสมชนิดนี้เลือกใช้แม่ปุ๋ยได้น้อยชนิด เนื่องจากแม่ปุ๋ยจะต้องไม่เกิดปฏิกริยาเคมีต่อกัน มีขนาดเม็ดปุ๋ยและความหนาแน่นใกล้เคียงกัน เพื่อไม่ให้ปุ๋ยแยกออกจากกันระหว่างการขนส่ง
2. ปุ๋ยผสมแบบปั้นเม็ด (steam granulation) ปุ๋ยผสมชนิดนี้ผลิตโดยนำแม่ปุ๋ยตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมกับสารถ่องน้ำหนัก (filler) และ/หรือสารเติมแต่ง (fortilizer additive) มาผสมกัน ฉีดพ่นไอน้ำ หรือสารละลายต่าง ๆ เช่น NH4OH, H2SO4 หรือ H3PO4 เป็นต้น ลงไปเพื่อให้ส่วนผสมชื้น ปล่อยให้ปฏิกริยาเคมีต่าง ๆ เกิดขึ้นจนสมบูรณ์ แล้วจึงปั้นส่วนผสมทั้งหมดให้เป็นเม็ด ปุ๋ยผสมชนิดนี้มีธาตุอาหารพืชสม่ำเสมอทุกเม็ด ใช้แม่ปุ๋ยได้หลากหลายชนิด และสามารถผลิตปุ๋ยผสมได้มากสูตรกว่าปุ๋ยผสมชนิดคลุกเคล้า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ผลิตปุ๋ยผสมชนิดนี้อยู่ 3 ราย คือ บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด และบริษัท ปุ๋ยไทย จำกัด
หลักในการใช้ปุ๋ย
เพื่อให้พืชที่ผลิตมีการเจริญเติบโตที่ดี มีผลผลิตสูงและมีคุณภาพของผลผลิตตรงตามที่ตลาดต้องการ เกษตรกรจะต้องใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ปุ๋ยเป็นสินค้าที่ประเทศไทยยังจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีวัตถุดิบภายในประเทศ แต่ประเทศไทยสามารถผลิตปุ๋ยใช้เองได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ
ตารางที่ 5 ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศ
ปี พ.ศ.ปริมาณ (ตัน)มูลค่า (พันล้านบาท)
25342,374,30410,334,568
25352,866,15912,585,797
25363,265,88313,693,724
25373,107,85713,549,811
25383,160,98615,812,074
25393,439,99918,242,196
25402,990,99516,933,863
25412,873,51417,851,881

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2539,2542)
หลักในการใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพ
1. ใช้ปุ๋ยชนิดที่พืชต้องการ ชนิดของปุ๋ยในที่นี้ หมายถึง ชนิดของธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ย พืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารในสัดส่วนที่แตกต่างกัน พืชตระกูลถั่วต้องการปุ๋ยไนโตรเจนน้อย เนื่องจากพืชตระกูลถั่วนี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้เอง แต่ขณะเดียวกันก็ต้องการ Ca สูงและต้องการ Co สำหรับการสร้างเอนไซม์ของจุลินทรีย์ที่ปมราก ดินที่ปลูกเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งในการกำหนดชนิดของปุ๋ย ดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงมักต้องการไนโตรเจนและกำมะถันน้อย เพราะพืชได้รับธาตุอาหารทั้งสองจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ ดินกรดมักมีฟอสฟอรัสต่ำ เนื่องจากฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่ได้จากการสลายตัวของแร่ apalite (Ca10(PO4CO3)6(F,OH,Cl)2) แร่ชนิดนี้สลายตัวได้เร็วในดินกรด ดังนั้นดินที่เป็นกรดจึงมักไม่มีแร่ชนิดนี้เหลืออยู่อย่างเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวมักมีธาตุโพแตสเซียมสูงกว่าดินทราย ดินเหนียวจึงอาจไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยโพแตสเซียมหรือใช้น้อยกว่าดินทราย อย่างไรก็ตามการกำหนดชนิดของปุ๋ยที่ถูกต้องควรกำหนดจากผลการวิเคราะห์ดินหรือพืช
2. ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการ การใช้ปุ๋ยในปริมาณที่มากเกินความต้องการของพืชย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ธาตุอาหารพืชบางชนิด โดยเฉพาะจุลธาตุหากใช้ในปริมาณที่สูงเกินไปจะทำให้เป็นพิษต่อพืช ธาตุไนโตรเจนถึงแม้พืชจะต้องการในปริมาณมาก แต่ถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้พืชลุกช้า คุณภาพผลไม่ดี กิ่งก้านและใบไม่แข็งแรงหักโค่นได้ง่าย และไม่ต้านทานต่อโรคและแมลง ปุ๋ยส่วนเกินมักถูกชะล้างลงสู่น้ำใต้ดินหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ
3. ใช้ในปริมาณที่คุ้มค่าต่อการลงทุน การทำให้พืชได้ผลผลิตสูงสุดอาจไม่เป็นผลดีกับเกษตรกรเสมอไป หากการลงทุนนั้นได้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าของเศรษฐกิจ ดังนั้นควรลงทุนใช้ปุ๋ยเฉพาะกรณีที่ทำให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า ผลตอบแทนอาจไม่อยู่ในรูปของเงินที่ได้รับในการปลูกพืชครั้งนั้น แต่อาจได้รับเมื่อปลูกพืชครั้งต่อ ๆ ไป
4. ใส่ปุ๋ยเมื่อพืชต้องการ ระยะการเจริญเติบโตของพืชที่แตกต่างกันทำให้พืชต้องการชนิดและปริมาณปุ๋ยที่แตกต่างกันออกไป สำหรับพืชฤดูเดียว (พืชล้มลุก) ควรต้องการธาตุอาหารแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
  • ระยะเริ่มงอก อายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงประมาณ 30-45 วัน ระยะนี้พืชยังต้องการธาตุอาหารน้อย เนื่องจากระบบรากยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ การให้ปุ๋ยควรเน้นที่ปุ๋ยไนโตรเจน และธาตุที่ดินมีไม่เพียงพอ แต่ต้องให้ในปริมาณน้อย
  • ระยะแตกต่างหรือสร้างตาดอก อายุประมาณ 30-60 วัน ระยะนี้พืชจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และต้องการธาตุอาหารมาก หากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้เพียงพอกับความต้องการของพืช
  • ระยะสร้างผลและเมล็ด หรือระยะที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว พืชต้องการธาตุอาหารลดลงเรื่อย ๆ จนผลร่วงหรือฝักแก่ การให้ปุ๋ยในระยะนี้ไม่ค่อยจำเป็น โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนไม่ควรให้ในระยะนี้


สำหรับไม้ผลความต้องการปุ๋ยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คล้ายกับพืชฤดูเดียว คือ

  • ระยะสร้างใบ ระยะนี้มักอยู่ในช่วงต้นฤดูฝนหรือช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ต้นไม้ต้องการสร้างอาหารสะสมไว้เพื่อการออกดอกและให้ผลผลิตในฤดูกาลต่อไป ในช่วงนี้จึงควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง หรือให้ปุ๋ยสัดส่วนเสมอ (1 :1 :1) เช่น สูตร 15-15-15 ในกรณีของพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การให้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วยก็จะช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
  • ระยะสร้างดอก ระยะนี้มักเป็นช่วงฤดูฝนพืชต้องการธาตุอาหารในการสร้างตาและดอกค่อนข้างสูง ปุ๋ยที่ควรให้จึงเป็นปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัส เช่น สูตร 6-24-6 หรือ 12-24-12 หรือใช้แม่ปุ๋ยในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ปุ๋ยฟอสฟอรัสเป็นปุ๋ยที่ตกค้างในดินได้นาน หากใช้ปุ๋ยในอัตราสูงติดต่อกันหลายปี ควรนำดินหรือพืชไปวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบว่าพืชยังคงขาดฟอสฟอรัสหรือไม่
  • ระยะที่พืชกำลังติดผล พืชต้องการธาตุไนโตรเจนเพื่อการเจริญเติบโตของผล ถ้าไนโตรเจนมากเกินไปพืชมักจะสลัดผลอ่อนทิ้ง หากให้ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะที่ 1 และ 2 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยไนโตรเจนอีก พืชต้องการโพแตสเซียมสูงขึ้นเพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ทั้งด้านรสชาติและการเก็บรักษาหลังเก็บเกี่ยว
5. ใส่ในบริเวณที่พืชดูดไปใช้ได้ง่าย การใส่ปุ๋ยควรใส่ในบริเวณที่รากพืชแผ่ขยายไปถึง โดยคำนึงถึงความสามารถในการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยไปหารากประกอบด้วย ปุ๋ยไนโตรเจน สามารถเคลื่อนที่ได้ดีในดิน การหว่านบนผิวดินจึงให้ผลไม่ต่างจากการสับกลบ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนครั้งละมาก ๆ ทำให้ปุ๋ยถูกชะล้างผ่านชั้นรากพืชไปก่อนที่พืชจะดูดไปใช้ โดยเฉพาะเมื่อรากพืชกระจายอยู่ในชั้นหน้าดินเป็นส่วนใหญ่ เช่น พืชฤดูเดียว หรือไม้ผลที่ขยายพันธุ์ด้วยกิ่งตอน หรือปักชำ ดังนั้นการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนจึงควรใส่ครั้งละน้อย ๆ แต่บางครั้ง ปุ๋ยฟอสฟอรัสเคลื่อนย้ายในดินได้ช้า จึงควรใส่โดยวิธีสับกลบ หรือใส่เป็นปุ๋ยรองพื้น ปุ๋ยโพแตสเซียมเคลื่อนย้ายในดินได้ช้ากว่าไนโตรเจนเนื่องจากมีประจุมาก แต่เคลื่อนย้ายได้เร็วกว่าฟอสฟอรัส ปุ๋ยโพแตสเซียมจึงสามารถใส่ได้ทั้งหว่านบนดินและสับกลบ
วิธีการใส่ปุ๋ย
1. การใส่รองพื้น (basal application) การใส่ปุ๋ยวิธีนี้ หมายถึง การใส่ปุ๋ยก่อนปลูกพืชหรือพร้อมการปลูกพืช ปริมาณที่ใส่ประมาณ ของปริมาณที่ต้องใส่ในฤดูปลูกนั้น ๆ วิธีใส่ปุ๋ยรองพื้นมี 2 วิธี คือ
  1. การใส่แบบหว่าน (broadcasting) เป็นการหวนปุ๋ยบนผิวดินทั่วทั้งแปลงอย่างสม่ำเสมอแล้วไถกลบ จากนั้นจึงปลูกพืช การใส่แบบนี้เหมาะสำหรับพืชที่ปลูกโดยการหว่านเมล็ดหรือหยอดเมล็ด เช่น ข้าว ข้าวโพด หญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
  2. การใส่รองก้นหลุม (bedding) เป็นการใส่ปุ๋ยลงไปในหลุมปลูกก่อนการปลูกพืช วิธีนี้เหมาะกับพืชที่ต้องขุดหลุมปลูก หรือปลูกโดยการย้ายต้นกล้า เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้นต่าง ๆ 
2. การใส่หลังปลูก (Top dressing) เป็นการใส่ปุ๋ยเมื่อพืชเจริญเติบโตเข้าสู่ระบบเจริญทางด้านลำต้น (vegetative growth) ซึ่งประมาณ 30-45 วัน หลังปลูกสำหรับพืชฤดูเดียว ปริมาณปุ๋ยที่ใช้อาจเป็น หรือ ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใช้ทั้งฤดู วิธีใส่มีหลายวิธีดังนี้
  • การใส่แบบหว่าน (broadcasting) เป็นการใส่โดยหว่านให้ทั่วทั้งแปลงอย่างสม่ำเสมอ วิธีนี้ใช้กับพืชที่มีระยะปลูกสม่ำเสมอ เช่น ข้าว หญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
  • การใส่แบบโรยเป็นแถว (banding application) เป็นการใส่โดยโรยเป็นแถวไปตามแถวที่พืชปลูก หรือขุดหลุมหยอดปุ๋ยไปตมแถวพืชที่ปลูก หรือทำร่องขนาดไปกับแถวพืชที่ปลูกแล้วโรยปุ๋ยลงในร่อง วิธีนี้เหมาะกับพืชที่ปลูกเป็นร่อง หรือเป็นแถว เช่น ฝักต่าง ๆ หรือ ข้าวโพด เป็นต้น
  • ใส่รอบโคนต้น (ring application) เป็นการใส่โดยโรยปุ๋ยรองโคนต้นตามแนวรัศมีพุ่มใบ หรืออาจทำเป็นร่องตื้น ๆ เพื่อป้องกันฝนชะ หลังจากโรยปุ๋ยแล้วให้ใช้ดินกลบ วิธีนี้เหมาะกับพืชยืนต้น ต่าง ๆ 
3. การฉีดพ่นทางใบ (foliar application) ถึงแม้ในพืชจะไม่ใช้อวัยวะดูดซับธาตุอาหาร แต่ธาตุอาหารสามารถซึมซับเข้าใส่ใบได้ การให้ปุ๋ยทางใบใช้ในกรณ๊ที่พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารชนิดนั้น ๆ โดยเฉพาะจุลธาตุ หรือกรณีที่ต้องการเร่งการเจริญเติบโต หรือให้เพื่อเสริมการดูดซับทางรากในระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารนั้นมาก การฉีดพ่นทางใบจะต้องกระทำบ่อยครั้ง ทำให้มีค่าแรงที่สูงกว่าการใช้ปุ๋ยทางดิน ในระยะยาวการให้ปุ๋ยทางดินจึงคุ้มค่า ความเข้มข้นของปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช หากใช้ความเข้มข้นสูงเกินไปจะทำให้ใบพืชไหม้ การฉีดพ่นควรกระทำในตอนเย็น และควรเติบสารจับใบลงไปด้วยเพื่อช่วยให้หยดสารละลายปุ๋ยเกาะอยู่บนในพืชสนามพอที่จะซัมซับเข้าไปในใบได้

บรรณานุกรม
  • ดุสิต มานะจุติ (2535). ปฐพีวิทยาทั่วไป, กองบริการการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
  • พิชิต พงษ์สกุล และปรีดา พวกเพียร บก. 2535 คู่มือการปรับปรุงดินและการใช้ปุ๋ย. คณะกรรมการการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มกองทุน ศ.ดร.สรสิทธิ์ วัชโรทยาน กรุงเทพฯ
  • ปิยะ ดวงพัตรา. 2538. หลักการและวิธีใช้ปุ๋ยเคมี ภาควิชาปฐพีวิทยา, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัย เกษตรค้าสัตว์ กรุงเทพฯ
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2539. สถิติการเกษตร ปีเพาะปลูก 2537/2538.
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2542. สถิติการเกษตร ปีเพาะปลูก 2540/2541.

จาก http://agri.wu.ac.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 15090 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

อาลีฟ
[email protected]

ข้อมูลดี good jobs!


07 ก.พ. 2558 , 09:36 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9164
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7490
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7561
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7895
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6880
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8145
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7371
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>