ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 14987 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ต้านไวรัสมะละกอ ด้วยสารอินทรีย์สกัด

โรคใบด่างจุดวงแหวน หรือ ไวรัสวงแหวน เป็นไวรัสมะละกอ ที่เป็นภัยสูงสุด ต่อการปลูกมะละกอ ปัจจุบัน สามารถต้านได้โดย...

data-ad-format="autorelaxed">

ประเทศไทย มะละกอเป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกร เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนเร็ว มีตลาดรองรับค่อนข้างกว้าง ตัวอย่าง เช่น เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรีที่ปลูกมะละกอในพื้นที่ 8 ไร่จะมีรายได้ถึงประมาณ 1,000,000 บาทต่อปี ทั้งตลาดมะละกอดิบ มะละกอสุก มะละกอส่งโรงงาน และผลิตภัณฑ์มะละกอเพื่อตลาดส่งออก

 

ซึ่งในปี 2551-2553 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผลผลิตมะละกอถึง 201,099-211,594 เมตริกตัน และจัดเป็น 1 ใน 10 ประเทศในโลกที่มีการส่งออกมะละกอจำนวนมาก แต่ก็ยังมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1.95%ของตลาด การปลูกมะละกอเพื่อการค้าในบ้านเราก็มีความหลากหลายของสายพันธุ์มากขึ้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากโรคใบด่างจุดวงแหวน ที่เป็นอุปสรรคในการผลิตมะละกอ

 

 

โรคใบด่างจุดวงแหวน หรือไวรัสวงแหวน ถือได้ว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นมหันตภัยร้ายของการปลูกมะละกอทั่วโลก โดยโรคนี้เคยมีการระบาดรุนแรงครั้งแรกเมื่อปี 2492 ที่หมู่เกาะฮาวาย หลังจากนั้นก็ระบาดไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้พบการระบาดครั้งแรกในปี 2518 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายความรุนแรงขึ้นทุกปีจนทำลายล้างมะละกอในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างสิ้นเชิงในปี 2524 ต่อมาการระบาดได้ลุกลามไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยในปี 2545 โรคนี้ระบาดไปทั่วประเทศไทย สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ปลูกมะละกอกว่า 80% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด และในปัจจุบันก็ยังไม่มีหน่วยงานใดให้คำตอบในการแก้ปัญหานี้ได้ แม้จะมีความพยายามนำมะละกอจีเอ็มโอเข้ามาเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่วางใจจากสังคมว่าจะไม่ก่อผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป เกษตรกรจำนวนมากจะเสียโอกาสในการสร้างรายได้ และอุตสาหกรรมของประเทศที่ใช้มะละกอเป็นวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบ

 

จากประสบการณ์ในภาคสนามที่ผ่านมา ของคุณพิสุทธิ์ ศุภนาค นักวิชาการอิสระมีข้อสังเกตว่าโรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอมีความเชื่อมโยงกับการผสมข้ามสายพันธุ์ ที่มุ่งเพิ่มผลผลิตและการสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว การดำเนินการดังกล่าวได้ทำให้เกิดการกดทับภูมิต้านทานที่มีอยู่ในพันธุกรรมดั่งเดิม ประกอบกับการที่มะละกอถูกเร่งผลผลิตอย่างมหาศาลในระยะเวลาอันสั้น ทำให้มะละกอดูดกินแร่ธาตุในดินต่อเนื่องจนดินในแปลงหมดความอุดมสมบูรณ์แต่เกษตรกรเติมแร่ธาตุให้ไม่เพียงพอและไม่ทันความต้องการของพืช ความสมบูรณ์จึงถดถอยลงเรื่อย ๆ จนง่ายต่อการถูกโจมตีจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้วในธรรมชาติ โดยเฉพาะโรคไวรัสวงแหวน

 

แนวทางแก้ปัญหาคือ การส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยเติมธาตุอาหารให้แก่มะละกอ ทั้งยังควรมีจุลินทรีย์ที่มาร่วมกันปรับโครงสร้างธาตุอาหารจากดินมาเพิ่มเติม และสิ่งธาตุอาหารที่เหมาะสมกับมะละกอ ซึ่งในขณะนี้เปรียบเหมือนคนป่วยไข้ จะต้องเป็นธาตุอาหารที่มีโมเลกุลเล็กกว่าปกติที่ทำให้พืชสามารถดูดกินได้ง่าย ได้มีการนำสารสกัดไปใช้แก้ปัญหาในสวนมะละกอที่ถูกไวรัสวงแหวนโจมตีใน 2 ระดับอาการคือ

 

สวนที่ถูกคุกคามขั้นเริ่มต้น คือ ยอดหรือใบอ่อนของมะละกอส่วนใหญ่แสดงอาการเหลืองซีด มีลักษณะเป็นรอยบุ๋มไม่เรียบ มีอาการด่าง มีขนาดใบเรียวเล็กลง ลูกและดอกใหม่ร่วง สวนนี้ใช้ สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ จำนวน 800 ซีซี ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในอัตราส่วน 2 ฝา ต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับสารบำรุงดิน ในอัตราส่วนเดียวกัน ในการรักษา 24 วัน โดยในเวลา 10 วัน เริ่มเห็นการแตกยอดอ่อนขึ้นใหม่ ยอดที่แตกใหม่จะอวบใหญ่กว่าเดิม และในสัปดาห์ต่อมาก็เริ่มมีดอกเกิดขึ้น

 

สวนที่ถูกคุกคามขั้นรุนแรง คือ บนก้านใบ ก้านดอก และตรงส่วนครึ่งบนของลำต้นของมะละกอส่วนใหญ่ พบรอยช้ำเป็นขีด ๆ มีสีเขียวเข้มทั้งลำต้น ลูกและดอกใหม่ร่วง การติดผลไม่มีให้เห็น บางต้นมีอาการถึงขนาดที่ผลของมะละกอมีเนื้อแข็งกระด้าง เนื้อผลสุก มีลักษณะเป็นไต มีรสขม และมีรอยช้ำเป็นจุด ต้นเตี้ยแคระแกร็น ใบแคบหยิกงอไม่สมส่วน บางครั้งจะเล็กเรียวชะลูดแหลม และเมื่อเชื้อลามถึงยอด ยอดจะเหลือง มีขนาดเล็กลงและตายในที่สุด

 

สวนนี้ใช้ สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ จำนวน 1,400 ซีซี ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในอัตราส่วน 5 ฝา ร่วมกับสารบำรุงดินในอัตราส่วน 2 ฝา ต่อน้ำ 20 ลิตร การรักษา ใช้เวลาประมาณ 35 วัน จากวันที่เริ่มจนถึงวันที่ 25 วัน ก็เริ่มเห็นการแตกยอดอ่อนขึ้นใหม่อย่างประปราย และในสัปดาห์ต่อมายอดที่แตกใหม่เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น มีดอกเกิดขึ้น.

 

จาก dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 14987 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6147
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 6807
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6258
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 7329
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 6728
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 5721
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 5842
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>