ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 19926 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

อนาคตยางพาราไทย ปีม้า 2557 เริ่มสดใส

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้เข้าประเทศสูงถึงปีละ 5-6 แสนล้านบาท ปัจจุบันยังคงมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ

data-ad-format="autorelaxed">

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้เข้าประเทศสูงถึงปีละ 5-6 แสนล้านบาท ปัจจุบันยังคงมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 7-10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเป็นแหล่งปลูกยางใหม่ และเริ่มทยอยเปิดกรีดได้แล้ว ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและ ผู้ปลูกยางมหาศาล เม็ดเงินที่สะพัดจากยางพาราเป็นที่มาของ "กำลังซื้อ" ของผู้บริโภคทั้ง 4 ภาค เพราะหากยางราคาดี สินค้าอุปโภคบริโภค รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และมือถือต่างได้รับอานิสงส์ถ้วนหน้าพื้นที่ปลูกยางเฉียด 19 ล้านไร่ข้อมูลจากสถาบันวิจัยยางระบุว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพาราใน 67 จังหวัด โดยปี 2552 มีจำนวนทั้งสิ้น 17,254,317 ไร่ ปี 2553 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 18,320,011 ไร่ และปี 2554 จำนวน 18,461,231 ไร่ ประกอบด้วยภาคเหนือมีการปลูกในพื้นที่ 17 จังหวัด จำนวน 867,402 ไร่ ภาคอีสานปลูกในพื้นที่ 20 จังหวัด จำนวน 3,477,303 ไร่ ภาคกลางและตะวันออกปลูกในพื้นที่ 16 จังหวัด จำนวน 2,209,644 ไร่ และภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด มีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุดของประเทศ จำนวน 11,906,882 ไร่

สำหรับพื้นที่เปิดกรีดรวมทั้งประเทศ ณ เดือนมิถุนายน 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 15,130,363 ไร่ ผลผลิต 3,862,996 ตัน แบ่งเป็นภาคเหนือ 558,777 ไร่ ผลผลิต 80,951 ตัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,673,385 ไร่ ผลผลิต 521,768 ตัน ภาคกลาง 1,762,610 ไร่ ผลผลิต 487,969 ตัน และภาคใต้ 10,135,591 ไร่ ผลผลิต 2,772,308 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 225 ตัน/ไร่

ไทยพึ่งตลาดส่งออก 80%การกรีดยางพาราจะให้ผลผลิต 2 แบบ คือ น้ำยางสดและเศษยาง/ยางก้อนถ้วย ในส่วนน้ำยางสดสามารถนำไปแปรรูปได้ 2 ประเภท คือ การผลิตน้ำยางข้นและยางแห้ง น้ำยางข้นจะขายส่งเข้าสู่โรงงานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ ส่วนยางแห้งสามารถแปรรูปเป็นยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน ยางแผ่นดิบ ยางเครป สำหรับเศษยางและยางก้อนถ้วย จะถูกแปรรูปเป็นยางแท่งและยางเครป

ที่ผ่านมาไทยส่งออกยางพาราใน รูปแบบของน้ำยางข้น ยางแท่ง และ ยางแผ่นรมควัน มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 80 และใช้ภายในประเทศเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น เช่น ในปี 2555 ไทยมีผลผลิตยางทั้งหมด 3,778,010 ตัน ส่งออกจำนวน 3,121,332 ตัน หรือร้อยละ 82.61 และใช้ในประเทศ 505,052 ตัน หรือร้อยละ 17.39 ประเทศ ผู้ซื้ออันดับหนึ่งคือจีน รองลงมาคือมาเลเซียและญี่ปุ่น

สำหรับปี 2556 (ม.ค.-ก.ย.) มีการ ส่งออกยางแผ่นรมควัน 47,585.55 ล้านบาท ยางแท่ง 84,981.26 ล้านบาท น้ำยางข้น 39,047.1 ล้านบาท อื่น ๆ 4,510.25 ล้านบาท รวมมูลค่า 176,124.16 ล้านบาท (ดูรายละเอียดมูลค่ายางในตาราง)

ปัจจุบันไทยมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางใช้ในประเทศ ได้แก่ ยางแท่ง STR XL, STR 5L ยางแผ่นผึ่งแห้ง ยางแผ่นรมควัน (RSS) ใช้ทำผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ยางยืด กาวยาง เป็นต้น

ยางแท่ง STR 20 ยางแผ่นรมควัน ชั้น 2, 3, 4, 5 ใช้ในการผลิตยางรถยนต์ ยางหล่อดอก ผลิตภัณฑ์ยางอะไหล่ ยางใช้ในงานวิศวกรรมและใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ส่วนน้ำยางข้นใช้ทำผลิตภัณฑ์ถุงมือ ลูกโป่ง ถุงยางอนามัย หัวนมสำหรับทารก ที่นอน หมอน ตุ๊กตาฟองน้ำ เป็นต้น

ผู้ใช้ยางในประเทศ 205 ราย

ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2555 ประเทศไทยมีโรงงานที่จดทะเบียนเป็นผู้ใช้ยางในประเทศรวม 205 ราย แยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ดังนี้ หล่อดอก 8 ราย ยางรถยนต์ 22 ราย ยางรถจักรยานยนต์/จักรยาน 11 ราย ยางรัดของ 14 ราย ถุงมือยาง 8 ราย พื้นรองเท้า 14 ราย รองเท้ายาง (ผ้าใบ/ฟองน้ำ) 26 ราย ยางยืด 6 ราย อะไหล่รถยนต์ 31 ราย ลูกโป่ง 1 ราย กาว/เทปพันสายไฟ 6 ราย ฟองน้ำ 3 ราย ท่อยาง 7 ราย สายพาน 8 ราย ยางขัดสีข้าว 6 ราย อุปกรณ์กีฬา 8 ราย เครื่องมือทางการแพทย์/วิทยาศาสตร์

4 ราย รวม 205 ราย ลดลงจากปี 2554 ที่มี 234 ราย และปี 2552 ที่มีอยู่ 268 ราย

ราคายางจาก 16 บาท

ทะลุ 174 บาทปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคายางพารา ได้แก่ การผลิต และสต๊อก การใช้ยาง สภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน และการเก็งกำไร

หากย้อนไปดูราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพาราในช่วงปี 2534 จนถึงปัจจุบันพบว่า ในปี 2534 ราคายางแผ่นดิบอยู่ที่ 16.99 บาท ซึ่งราคาขยับขึ้นได้สูงสุดเพียง 34.47 บาท/กก.ในปี 2538 หลังจากนั้นราคายังคงไต่ระดับอยู่ที่ 20 กว่าบาท/กก. และตกต่ำลงไปอยู่ที่ 19.76 บาท/กก.ใน ปี 2542 ซึ่งเป็นยุคขาลงนานถึง 3 ปี

ทั้งนี้ราคายางเริ่มเข้าสู่ยุค ขาขึ้นตั้งแต่ปี 2546 โดยราคาได้พุ่งขึ้นมาแตะที่ 40.17 บาท/กก. และยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 ราคาประมูลสูงสุดอยู่ที่ 132.43 บาท/กก. ขณะที่ราคาซื้อขายในบางล็อตทะยานสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ที่ราคากิโลกรัมละ 174.44 บาท อย่างไรก็ตาม ราคายางได้ลดลงอย่างรวดเร็วจากหลายปัจจัย เช่น ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป ส่งผลให้ราคายางลดลงมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 89.70 บาทในเดือนธันวาคม 2554 และในปี 2555 ราคายางก็ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ล่าสุดวันที่ 6 ธันวาคม 2556 ราคายางแผ่นดิบ ณ ตลาดกลางยางพาราสงขลาอยู่ที่ 72.63 บาท/กก. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคา 75.66 บาท/กก. น้ำยางสด 70 บาท/กก. ทั้งนี้ราคายางมีแนวโน้มทรงตัว หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว

แม้ราคายางจะยังอยู่ในภาวะทรงตัว แต่ก็มีเกษตรกรอีก จำนวนไม่น้อยที่หันมาปลูกยางเป็นพืชหลัก เนื่องจากยาง เป็นพืชที่ยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าพืชชนิดอื่น โจทย์ใหญ่ของประเทศไทยในวันนี้ก็คือ การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราอย่างจริงจัง

การเลือกพันธุ์ยางพาราให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะต้องปลูกนานถึง 7 ปีจึงจะเปิดกรีดได้ ซึ่งพันธุ์ยางแต่ละชนิด จะให้ปริมาณน้ำยางและทนโรคแตกต่างกัน พันธุ์

ยางแนะนำโดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำ

สวนยาง (สกย.) มีดังนี้

พันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง 1) พันธุ์ RRIT 251 ลักษณะเด่น ให้เนื้อยางสูงมาก ต้านทานโรคเส้นดำได้ดี

เปลือกแห้งน้อย ข้อจำกัด ในระยะยางอ่อนถ้าปลูกในพื้นที่ฝนตกชุกจะอ่อนแอต่อโรคใบจุดนูน พื้นที่แนะนำปลูกได้ทั่วไป ยกเว้นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่มีระดับเลือกพันธุ์ยางให้เหมาะกับดิน-น้ำ-โรคน้ำใต้ดินสูง และพื้นที่ลมแรง

2) พันธุ์ RRIT 226 ลักษณะเด่น ให้เนื้อยางมาก ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจาก เชื้อไฟทอปโทรา และโรคเส้นดำได้ดี เปลือกแห้งน้อย ข้อจำกัดคือ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคราแป้ง ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

3) พันธุ์ BPM 24 ลักษณะเด่น ให้เนื้อยางสูงมากในระยะแรกของการเปิดกรีด เปลือกหนา เรียบ ทำให้กรีดง่าย ต้านทานโรคดี โดยเฉพาะโรคใบร่วงและโรคเส้นดำ ข้อจำกัด ถ้ากรีดติดต่อกันผลผลิตจะ ลดลง เปลือกแห้งง่าย ลำต้นและกิ่งจะมี รอยแตก ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป พื้นที่ ลาดชัน หน้าดินตื้น ระดับน้ำใต้ดินสูง และ ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงของโรคใบร่วงไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ

4) พันธุ์ RRIM 600 ลักษณะเด่น ปรับตัวดี ให้ผลผลิตได้เกือบทุกพื้นที่ ทนทานต่อการกรีดมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ และมีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย ข้อจำกัด อ่อนแอต่อโรคใบร่วง โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป

พันธุ์ให้น้ำยาง/เนื้อไม้สูง

1) พันธุ์ PB 235 ลักษณะเด่น ให้เนื้อยางและเนื้อไม้มาก เติบโตดีมากในทุกพื้นที่ ต้านทานโรคราสีชมพูได้ดี ข้อจำกัด อ่อนแอต่อโรคใบร่วง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพู ถ้ากรีดติดต่อกันจะให้น้ำยางน้อย

ลงและเปลือกแห้งง่าย ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่หน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

2) พันธุ์ PB 255 ลักษณะเด่น ให้เนื้อยางและเนื้อไม้มาก เปลือกหนานิ่ม กรีดง่าย และต้านทานลมได้ดี ข้อจำกัด อ่อนแอต่อโรคใบร่วง ใบจุดนูน และโรคราสีชมพู ถ้ากรีดติดต่อกันจะให้น้ำยางน้อยลง และเปลือกแห้งง่าย ปลูกได้ทั่วไป พื้นที่ลาดชัน พื้นที่หน้าดินตื้น พื้นที่ระดับน้ำใต้ดินสูง แต่ปลูกไม่ได้ในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วง โรคใบจุด และโรคราสีชมพูระบาดรุนแรง

3) พันธุ์ PB 260 ให้เนื้อยางและเนื้อไม้มาก ต้านทานโรคราสีชมพูได้ดี และต้านทานลมค่อนข้างดี ข้อจำกัด ถ้ากรีดติดต่อกันจะทำให้เปลือกแห้งง่าย พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ทั่วไป

4) พันธุ์ RRIC 110 ให้เนื้อยางและเนื้อไม้มาก เติบโตดีมากในระยะก่อนเปิดกรีด เปิดกรีดได้เร็ว ต้านทานโรคใบร่วงได้ดี ข้อจำกัด เปลือกบาง ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นที่ลาดชัน พื้นที่หน้าดินตื้น พื้นที่ระดับน้ำใต้ดินสูง และพื้นที่ลมแรง

สำหรับพื้นที่ในจ.บึงกาฬเป็นพื้นที่หน้าดินตื้น ความชื้นสูง มีฝนมากกว่าจังหวัดอื่นในภาคอีสานแต่ยังน้อยกว่าภาคใต้ จึงควรพิจารณาเลือกพันธุ์ยางให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ Souce: ประชาชาติธุรกิจ (Th)


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 19926 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 7641
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 6924
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7001
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6304
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7209
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6262
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 6635
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>