ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่กาแฟ | อ่านแล้ว 21529 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ภาพรวมสถานการณ์เมล็ดกาแฟของไทยเมื่อเปิด AEC

กาแฟ เป็นหนึ่งในอาหารเช้ายอดนิยมของคนทั่วโลกมาเป็นเวลานาน และสำหรับประเทศไทยนั้น..

data-ad-format="autorelaxed">

กาแฟ เมล็ดกาแฟ การปลูกกาแฟ

กาแฟ เป็นหนึ่งในอาหารเช้ายอดนิยมของคนทั่วโลกมาเป็นเวลานาน และสำหรับประเทศไทยนั้น กาแฟนอกจากจะเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันแล้ว กาแฟยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรกรในภาคใต้และภาคเหนือของไทย ในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ และเชียงรายซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการเพาะปลูกกาแฟเป็นจำนวนมาก ครอบคลุมครัวเรือนเกษตรกร 28,698 ครัวเรือนในปี 2551 และสามารถทำรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกเมล็ดกาแฟในปี 2551 เป็นมูลค่า 150.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณเท่ากับ 1,662 ตัน ซึ่งหากเทียบกับประเทศคู่แข่งในอาเซียนด้วยกันแล้ว พบว่าไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 3 รองจากประเทศเวียดนามซึ่งเป็นประเทศส่งออกกาแฟอันดับหนึ่งของเซียนและอันดับสองของโลก และประเทศอินโดนีเซีย


จากการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะเริ่มแล้วในการลดภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟในปี 2553 นั้น ได้มีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเมล็ดกาแฟ และกาแฟสำเร็จรูปด้วย โดยสินค้ากาแฟสำเร็จรูป ได้ลดภาษีนำเข้าเป็น 0% ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน แต่สำหรับสินค้าเมล็ดกาแฟนั้นถูกจัดว่าเป็นสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List) ที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับตัวนานกว่าสินค้ากลุ่มอื่นๆ จึงกำหนดให้ลดภาษีนำเข้าในปี 2553 มาอยู่ที่ 5% และจะลดลงเป็น 0% ในปี 2558 เช่นเดียวกับประเทศบรูไนและมาเลเซียที่กำหนดให้สินค้ากาแฟเป็นสินค้าอ่อนไหวเช่นกัน สำหรับสถานการณ์ด้านการผลิต การบริโภค รวมถึงการส่งออกกาแฟของไทย

การประเมินสถานการณ์เมื่อเปิดเสรีอาเซียน AEC ในปี 2558
จากปัจจุบันปี 2554 จนถึง 2558 ไทยอาจเสียส่วนแบ่งการตลาดเมล็ดกาแฟในตลาดอาเซียนให้เวียดนาม 0.1% เป็นมูลค่าประมาณ 0.2ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากเสียเปรียบเรื่องต้นทุน และพื้นที่การเพราะปลูกที่ไม่เพียงพอ

สรุปยุทธศาสตร์เมล็ดกาแฟไทย ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

1. ยุทธศาสตร์เพิ่มประสิทธิภาพให้พื้นที่ปลูกกาแฟ
ต้องเสริมสร้างรากฐานการผลิตกาแฟให้มีประสิทธิภาพ เช่น ต้นทุนต่ำ ผลผลิตต่อไร่สูง ผลผลิตมีคุณภาพ และปริมาณผลผลิตสม่ำเสมอ เป็นต้น โดยจัดการระบบ ชลประทานในพื้นที่ขาดแคลนน้ำให้มีน้ำเพียงพอในช่วงที่จำเป็นต่อการเพาะปลูกกาแฟ วิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกกาแฟทั้งประเทศ คุณสมบัติของดิน สภาพอากาศ และประเมินความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เพื่อดำเนินการจัดอบรมความรู้ให้เกษตรกรในแต่ละพื้นที่
2. ยุทธศาสตร์เพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่
2.1 ปรับปรุงต้นกาแฟที่เสื่อมโทรม โดยการตัดต้นกาแฟเพื่อให้เกิดการแตกกิ่งใหม่ ทั้งนี้หน่วยงานและนักวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้องควรลงพื้นที่สาธิตวิธีการทำที่ถูกต้องให้เกษตรกร
2.2 พัฒนาประสิทธิภาพดิน เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตและทำให้กาแฟมีคุณภาพ โดยการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกกาแฟในประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินเพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมและประสิทธิภาพของดินในแต่ละพื้นที่ จัดทำฐานข้อมูลลักษณะของดินในแต่ละพื้นที่เพาะปลูก จัดทำแปลงสาธิตและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร

3. ยุทธศาสตร์รักษาคุณภาพผลผลิตกาแฟ
3.1 ปรับปรุงกาแฟสายพันธุ์ใหม่ให้มีปริมาณผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพันธุ์เก่า สามารถต้านทานโรคพืชต่างๆ ได้ดีกว่า
3.2 ส่งเสริมให้เกษตรกรกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานเพื่อลดการใช้สารเคมี จัดทำคู่มือแจกให้เกษตรกรทราบวิธีการที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการรักษาคุณภาพของกาแฟไทยให้ปลอดสารพิษ
3.3 พัฒนาการผลิตของเกษตรกรให้ได้มาตรฐาน GAP(Good Aquaculture Practice) โดยการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตกาแฟ จัดเวทีชุมชนเพื่อวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ปัญหา ความต้องการเกษตรกร แนวทางการพัฒนาเฉพาะพื้นที่
4. ยุทธศาสตร์ลดต้นทุนการผลิต
4.1 ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชแซม เช่น ยางพารา สะตอ ไม้ผล เป็นต้น เพื่อรักษารายได้ ลดความเสี่ยงและแรงกดดันของรายได้ในกรณีราคากาแฟตกต่ำ
4.2 รวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้มีการซื้อวัตถุดิบในการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และสารเคมี เป็นต้น ในปริมาณมาก ซึ่งจะได้ราคาถูกกว่า รวมทั้งเป็นการเฉลี่ยต้นทุนด้านการขนส่งวัตถุดิบ และเมล็ดกาแฟ
4.3 กำหนดช่วงของค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและแรงงานในแต่ละช่วงเวลา
4.4 ส่งเสริมให้เกิดการจ้างแรงงานที่มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่นั้นๆ โดยสนับสนุนสวัสดิการทางสังคม เพื่อจูงใจให้แรงงานกลับมาทำงานพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง
5. ยุทธศาสต์ด้านการเพิ่มมูลค่า และส่งเสริมการบริโภคกาแฟไทย
5.1 สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ สูตรกาแฟ และบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด
5.2 คิดค้นกาแฟสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และมีรสชาติดี กลิ่นหอม
5.3 รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้คนไทยบริโภคกาแฟไทย รวมทั้งให้ความรู้ประชาชนและผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อยได้ทราบถึงประโยชน์ของการดื่มกาแฟที่มีคุณภาพ และเทคนิคในการเลือก
6. ยุทธศาสตร์การสร้างเอกลักษณ์ของกาแฟไทย
6.1 กำหนดเอกลักษณ์กาแฟไทย ทั้งกลิ่น รสชาติ และถิ่นที่ปลูก พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ หรือออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำได้ว่ากาแฟไทยมีกลิ่นและรสชาติอย่างไร
6.2 ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มสร้างตราสินค้าของตนเอง โดยให้สถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่สนใจเข้าร่วมสร้างตราสินค้าและรูปแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
7. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร และผู้ผลิตกาแฟสำเร็จรูป
7.1 เพิ่มช่องทางการเผยแพร่ ข่าวสาร และแหล่งข้อมูลให้เกษตรกร เช่น การส่งข้อความสั้นผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทางไปรษณีย์ เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรทราบและหาข้อมูลเพิ่มเติมได้เอง
7.2 จัดการประชุมร่วมกันระหว่างเกษตรกรและผู้ผลิตกาแฟสำเร็จรูปในประเทศไทย เพื่อร่วมกันกำหนดราคาขายเมล็ดกาแฟที่เหมาะสม รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านอื่นๆ เช่น คุณภาพเมล็ดกาแฟที่ต้องการความต้องการเมล็ดกาแฟปีหน้า เป็นต้น ทำให้ความสัมพันธ์เข้มแข็ง
8. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ
ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินยุทธศาสตร์กาแฟของไทย ควรมีการดำเนินงานอย่างจริงจัง และจัด
ประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 21529 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่กาแฟ]:
กาแฟตายยอด กาแฟใบไหม้ กาแฟรากเน่า โคนเน่า โรครากาแฟ แก้ไขอย่างไร?
อาการใบกาแฟเหลือง อาจเกิดจากขาดธาตุหลัก ขาดไนโตเจน หรือไนโตรเจนไม่เพียงพอ แต่หากเราได้ให้ปุ๋ยธาตุหลักอย่างเพียง..
อ่านแล้ว: 4713
กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร โกย60ล้าน ใช้โรงอบแสงอาทิตย์
กระทรวงพลังงาน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟถ้ำสิงห์ ได้ร่วมกันประยุกต์ใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนา
อ่านแล้ว: 5044
ดาว คอฟฟี่ กาแฟลาว ลุยออนไลน์

อ่านแล้ว: 5261
ALLRIDE กับ3เป้าหมายอัพเกรดเมล็ดกาแฟไทยสู่ระดับพรีเมียม
เริ่มจากเมื่อ 3 ปีก่อน เปิดร้านกาแฟในปั๊มนํ้ามัน ปตท. ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว โดยชื่อแบรนด์กาแฟ ALLRIDE มากจาก..
อ่านแล้ว: 4581
กาแฟเทพเสด็จ หนึ่งในกาแฟรสชาติเยี่ยมของจังหวัดเชียงใหม่
กาแฟเทพเสด็จ ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเดิมเกษตรกรบ้านแม่ตอน มีการปลูกเมี่ยง หรือชา เป็นอาชีพหลัก
อ่านแล้ว: 6366
ไร่กาแฟ พืชความหวังของคนบนดอย!
ไร่กาแฟ - สืบเนื่องจากการที่โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา ได้มีโครงการวิจัยกาแฟอาราบิก้า เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขา..
อ่านแล้ว: 6358
กาแฟลาว และชาของลาว (ชายอดเดียว หอมมากและอร่อยมากจริงๆค่ะ)
กาแฟลาว ต่อไปจะขึ้นผงาดเป็นอันดับต้นๆของโลกแน่นอน เพราะนักลุงทุนหลายประเทศ มุ่งหน้าสู่ ลาว ที่มีจุดเด่นด้านสภาพภูมิอากาศ
อ่านแล้ว: 6004
หมวด ไร่กาแฟ ทั้งหมด >>