ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 38990 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกข้าวนาปรังภาคอีสาน

ข้าวที่นิยมปลูก ส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่คือข้าวเหนียวพันธุ์ กข.10 และข้าวจ้าวพันธุ์ชัยนาถ 1 ปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือน

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกข้าว นาปรัง ภาคอิสาน

การปลูกข้าวนาปรังภาคอีสาน

การปลูกข้าวนาปรังภาคอีสาน เกษตรกรจะทำนาปรัง เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ข้าวที่นิยมปลูก ส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่คือข้าวเหนียวพันธุ์ กข.10 และข้าวจ้าวพันธุ์ชัยนาถ 1 ปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือนมีเหลือจึงแบ่งขาย แต่ราคาก็ไม่สูงเช่นเดียวกับข้าวนาปี เช่น ข้าวนาปีกิโลกรัมละ 10 บาท ข้าวนาปรัง กิโลกรัมละ 3-4 บาท ประกอบกับต้นทุนในการปลูกค่อนข้างสูง ทำให้พื้นที่ในการปลูกต่อรายไม่น้อย ประมาณ 5 - 10 ไร่ /รายเท่านั้น

การปักดำจะทำในช่วงต้นเดือนธันวาคมและจะเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนมีนาคมแต่อาจมีชาวนาบางรายที่ปักดำล่าช้าเช่นปักดำในช่วงเดือนมกราคมก็จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนเมษายน
การปลูกข้าวนาปรังนั้นสำคัญที่การควบคุมน้ำให้ขังอยู่ตลอด ทำให้ต้องผันน้ำเข้านาประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมเวลาในการเพาะปลูกประมาณ3 - 4 เดือนจึงสามารถเก็บเกี่ยวได้


วิธีการทำนาปรัง
1. การเตรียมแปลงเพาะกล้า จะทำการไถดินและตากดินไว้ 10-15 วัน จากนั้นระบายน้ำให้ท่วมแปลง แล้วทำการไถดินและเตรียมดิน ทำการปรับแปลงกว้าง 3 เมตร ความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับสภาพแปลง ระยะระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร

2. การหว่านกล้า หว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะกล้า ใช้เมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อต้นกล้าอายุได้ 7 วัน จะหว่านปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตราเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นกล้า เมื่อต้นกล้า 30 วัน ก็ถอนย้ายกล้าไปปลูก

3. การเตรียมแปลงนา ทำการไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกไถดะและตากดินไว้ 10-15 วัน แล้วปล่อยน้ำให้ท่วมขังประมาณ 10 เซนติเมตร จากนั้นไถพรวนและทำเทือกเพื่อให้ดินร่วนขึ้น

4. การปลูก การปลูกโดยใช้กล้าข้าวอายุ 30 วัน การปักดำโดยใช้กล้า 3 ต้น (1 จับ) ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร

5. การดูแลรักษา
5.1 การใส่ปุ๋ย หลังการปักดำ 15 วัน จะใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในอัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังการปักดำ 5 เดือน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ก่อนข้าวออกดอก 30 วัน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ปุ๋ยอัดเม็ดชีวภาพหว่านลงในแปลงนาควบคู่กับปุ๋ยเคมี
5.2 การควบคุมระดับน้ำ หลังการปักดำต้นข้าวยังไม่แตกกอ จะระบายน้ำให้ท่วมสูงประมาณ 10 เซนติเมตร เมื่อต้นข้าวแตกกอแล้วจะปรับระดับน้ำให้สูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร หลังจากข้าวออกรวงจะระบายน้ำออกจากแปลงเพื่อให้แปลงนาแห้ง
5.3 การป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะใช้น้ำหมักชีวภาพจากสะเดาในการฉีดพ่นในแปลงนา
5.4 การตรวจสอบต้นผิดปกติ จะทำการตรวจแปลงนาหากพบต้นข้าวที่มีลักษณะแตกต่างจากพันธุ์ปลูกก็จะทำการถอนทิ้ง เพื่อป้องกันการปลอมปน

6. การเก็บเกี่ยว
6.1 ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว ระยะที่เหมาะสมคือ ระยะที่ข้าวออกดอกแล้วประมาณ 30-35 วัน โดยสังเกตจากรวงข้าวจะโน้มลง เมล็ดข้าวมีสีฟางหรือเหลือง
6.2 วิธีการเก็บเกี่ยว ส่วนใหญ่ทำการเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานภายในครอบครัว
6.3 การตากข้าวก่อนนวด หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จะตากข้าวไว้ในขอบแปลงนา 2-3 วัน เพื่อให้เมล็ดข้าวแห้ง

7. การนวดข้าว จะใช้การนวดข้าวด้วยเครื่องนวดข้าว มีเพียงบางรายที่ใช้การนวดโดยแรงงานคน การนวดด้วยเครื่องนวดในอัตรา 270-350 บาทต่อข้าว 1,000 ฟ่อน

8. การตากข้าวหลังนวด หลังการนวดเสร็จแล้วจะมีตากข้าวบนลานตาก 2-3 วัน เพื่อให้เมล็ดข้าวแห้งก่อนนำไปเก็บรักษาหรือจำหน่ายต่อไป

9. การเก็บรักษา จะเก็บเมล็ดข้าวโดยบรรจุกระสอบก่อนนำไปเก็บรักษาเพื่อรอการจำหน่าย ส่วนใหญ่จะเก็บไว้ในยุ้งฉางของตนเอง

10.การตลาด ข้าวนาปรังจะปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือนมีเหลือจึงแบ่งขาย ราคากิโลกรัมละ 3-4 บาท ต้นทุนในการปลูกค่อนข้างสูง ทำให้พื้นที่ในการปลูกต่อรายไม่น้อย ประมาณ 5 - 10 ไร่ /รายเท่านั้น

11. ข้อแนะนำ เมล็ดพันธุ์ข้าวจะเปลี่ยนทุกๆ 3 - 4 ปี เนื่องจากหากเก็บไว้ขยายพันธุ์นานหลายปีอาจจะทำให้ข้าวกลายพันธุ์และแข็งกว่าปกติซึ่งโดยปกติข้าวนาปรังเมื่อทำให้สุกแล้วจะแข็งไม่นิ่มเหมือนข้าวนาปีและหากใช้พันธุ์ข้าวเดิมนานหลายปีจะทำให้ข้าวแข็งยิ่งขึ้น

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ. อุบลราชธานี 


อ้างอิง: http://www.rakbankerd.com/

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 38990 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6032
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6406
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8271
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 6859
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 6831
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6329
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6354
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>