ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ปาล์มน้ำมัน | อ่านแล้ว 55411 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับภาพอากาศร้อนชื้น จัดอยู่บริเวณใกล้เคียงกับเส้นศูนย์สูตร ดังนั้

data-ad-format="autorelaxed">

ปาล์มน้ำมัน

สถานการณ์ทั่วไป

 

 

ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับภาพอากาศร้อนชื้น จัดอยู่บริเวณใกล้เคียงกับเส้นศูนย์สูตร ดังนั้ปาล์มน้ำมัน จึงเจริญเติบโตได้ดีในภาคใต้ของประเทศบริเวณพื้นที่ที่ปลูกมากที่สุด คือจังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูลและตรัง โดยจังหวัดกระบี่ ปลูกมากที่สุดจำนวน 537,637 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 39.40 และรองลงมาได้แก่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 405,213 ไร่ และจังหวัดชุมพร 216798 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 29.70 และ 15.89 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากผลตอบแทนการปลูกปาล์มน้ำมันดีกว่าการปลูกพืชชนิดอื่นเช่นยางพาราและการทำนาข้าว จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกประกอบกับมีโครงการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกปาล์มทั่วประเทศ คาดว่าปริมาณความต้องการน้ำมันปาล์มภายในเพิ่มขึ้นมากทั้งนี้เพราะราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ความแตกต่างของราคาภายในและภายนอกประเทศไม่จูงใจให้มีการลักลอบเข้ามาบริโภคทั้งหมดเพิ่มขึ้นสูงเช่นกัน โดยในปี 2539 ส่วนแบ่งของน้ำมันปาล์มต่อการบริโภครวมของโลกเท่ากับร้อยละ 15.42 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 17.81, 22.00 และ 25.39 ในปี 2543, 2553 และ 2563 ตามลำดับ

 

 


แหล่งผลิต

 

 

ในด้านการผลิต ในปี 2540 ปาล์มน้ำมัน มีเนื้อที่ให้ผลผลิต 1,047,612 ไร่ ผลผลิตปาล์ม ปาล์มสด ทั้งทะลาย 2.78 ล้านตัน ส่วนปี 2541 คาดว่าพื้นที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 60,000 ไร่ เป็นพื้นที่ให้ผลผลิต 1,109,245 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 2,794,367 ตัน ผลผลิตปาล์มน้ำมันดังกล่าวสามารถผลิตเป็น น้ำมันปาล์ม ได้ประมาณ 475,042 - 530,929 ตัน (คืดที่อัตราแปลง ร้อยละ 17 - 19) ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชที่ปลูกมากในจังหวัดภาคใต้ของไทย ซึ่งถือว่าเป็น เขตเศรษฐกิจ ปาล์มน้ำมัน ได้แก่ จังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูล ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง นครศรีธรรมราช สงขลา และพังงา โดยมีพื้นที่ ปลูกปาล์มน้ำมัน ทั้งสิ้น ประมาณ 1,364,332 ไร่

 

 


ฤดูปลูก

 

 

การปลูกปาล์มน้ำมัน ควรกำหนดเวลาให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการอยู่รอด และเจริยเติบโตของ ต้นกล้าปาล์มน้ำมัน คือ ความชื้นในดิน ฤดูฝนในภาคใต้ของประเทสไทยจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสม อยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูฝนควรปลูกเมื่อตกแล้ว เพราะดินมีความชื้นการปลูกในช่วงนี้ทำให้ต้นปาล์มน้ำมัน ตั้งตัวในแปลงได้ยาวนานก่อนถึงฤดูแล้ง

 

 


ปริมาณการผลิตทั้งประเทศ

 

 

ในปี 2540 ปาล์มน้ำมัน มีเนื่อที่ให้ผลผลิต 1,047,612 ไร่ ผลผลิต ปาล์มสด ทั้งทะลาย 2.78 ล้านตัน ส่วนปี 2541 คาดว่าพื้นที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 60,000 ไร่ เป็นพื้นที่ให้ผลผลิต 1,109,245 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 2,794,367 ตัน ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ดังกล่าวสามารถผลิตเป็น ปาล์มน้ำมันได้ประมาณ 475,042 - 530,929 ตัน (คิดที่อัตราแปลงร้อยละ 17-19)

 

 

  ปี เนื้อที่ให้ผล1,000 ไร่ ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่
  1,000 ไร่ %เพิ่มขึ้น 1,000 ตัน %เพิ่มขึ้น กิโลกรัม %เพิ่มขึ้น
  2537 869.753 4.40 1,922.520 5.21 2,210.000 0.79
  2538 918.835 5.64 2,255.453 17.32 2,455.000 11.05
  2539 1,011.895 10.13 2,657.003 17.80 2,626.000 6.97
  2540 1,047.612 3.53 2,777.683 4.54 2,651.000 0.98
  ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  ส่งเสริม (ลักษณะประจำพันธุ์)

พันธุ์ที่ส่งเสริม เทเนร่า หรือ ดี x พี


การใช้ประโยชน์

1. น้ำมันปรุงอาหาร
2. มาการีนหรือเนยเทียม
3. น้ำมันสำหรับทอด (Frying Fat)
4. เนยขาว
5. น้ำมันปาล์มเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated Palm Oil)
6. นมข้นหวาน
7. ไอศครีม
8. ครีมเทียมและนมเทียม
9. กรดไขมันอิสระ (Palm Fatty Acid Distilled PEAD)
10. สบู่ น้ำมันปาลืมสามารถนำมาใช้ผลิตสบู่ได้ ทั้งสบู่ฟอกร่างกายและสบู่ซักล้าง การทำสบู่มีหลายสูตร ยกตัวอย่างสูตรทำสบู่ฟอกร่างกายสูตรหนึ่งใช้ปาล์มสเตียรีนร้อยละ 40 น้ำมันปาล์มร้อยละ 40 และใช้น้ำมันเมล็ดในปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าวร้อยละ 10

ภาวะการตลาด

การค้า น้ำมันปาล์ม ของไทยไม่มีนัยสำคัญทางการค้า ทั้งนี้เพราะปริมาณผลผลิตใช้บริโภคภายในเป็นหลัก กอร์ปกับราคา น้ำมันปาล์ม ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ อย่างไรก็ตามในปี 2537 ต่อต้นปี 2538 เนื่องจากมาเลเซียและอินโดนีเซียเกิดปัญหาอุปทานตึงตัวและ น้ำมันปาล์ม มีราคาเพิ่มขึ้นสูง ขณะที่ไทยสามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้เกินความต้องการ จึงมีการส่งออกน้ำมันปาล์มปริมาณ 15,704 ตัน มูลค่า 265.72 ล้านบาท ในปี 2538
สำหรับการนำเข้า น้ำมันปาล์ม ในอดีต เนื่องจากน้ำมันปาล์มเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้า แต่ในทางปฏิบัติไม่อนุญาตให้นำเข้า อย่างไรก็ตามในปี 2538 ไทยต้องการยกเลิกมาตรการดังกล่าวภายใต้ข้อตกลงองค์การค้าโลก (WTO) และใช้มาตรการด้านภาษีเพียงอย่างเดียว ดังนั้นในปี 2538 ไทยปริมาณการนำเข้านอกเหนือจากปริมาณที่ต้องเปิดตลาดเรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 157 อย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ภายในเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าการเพิ่มขึ้นของผลผลิต จึงทำให้ราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหาราคาภายในประเทศ ไทยจึงได้ขยายปริมาณเปิดตลาดนำเข้า น้ำมันปาล์ม เป็นจำนวน 15,000 ตัน และเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 10 ดังนั้น ในปี 2538 ไทยนำเข้า น้ำมันปาล์ม รวมทั้งสิ้น 19,421.71 ตัน มูลค่า 337.80 ล้านบาท ส่วนปี 2539 เนื่องจากภาวะการขาดแคลน น้ำมันปาล์ม ในช่วงปลายปี 2538 ต่อต้นปี 2539 ไทยจึงเปิดตลาดนำเข้า น้ำมันปาล์ม จำนวน 25,000 ตัน ส่งผลให้ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2539 ปริมาณนำเข้ามีรวมทั้งสิ้น 25,253.52 ตัน มูลค่า 350.93 ล้านตัน

ความต้องการภายในประเทศ

ปริมาณการบริโภคและความต้องการใช้ น้ำมันปาล์ม ภายในประเทศจะกระจายไปยังผู้ใช้ระดับต่าง ๆ คือ การบริโภคโดยตรงในรูปน้ำมันพืชสำหรับปรุงอาหารประมาณร้อยละ 65 ของการผลิตทั้งหมดและอีกประมาณร้อยละ 35 จะใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่นอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสบู่ อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยา อุตสาหกรรมฟอกหนัง อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรในอุตสาหกรรมสิ่งทอและถลุงแร่ เป็นต้น
โดยในปี 2540 คาดว่าจะมีความต้องการใช้ น้ำมันปาล์มดิบ ประมาณ 530,000 ตัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ และอยู่ในอัตราเพิ่มที่สูง เนื่องจาก น้ำมันปาล์ม เป็นน้ำมันพืชที่ราคาถูกกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายทั้งอุตสาหกรรมบริโภคและอุปโภค จึงได้มีการนำน้ำมันปาล์มไปใช้ทดแทนน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ทดแทนกันได้ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับราคาในตลาดโลกที่สูงขึ้น ทำให้ความแตกต่างของราคาภายในและภายนอกประเทศไม่จูงใจให้มีการลักลอบนำเข้า ความต้องการใช้ น้ำมันปาล์ม ในประเทศจึงมากขึ้น


สภาวะราคาในประเทศ

ราคาเฉลี่ยของผล ปาล์ม ที่เกษตรกรขายได้ น้ำมันปาล์มดิบ ณ ตลาดกรุงเทพฯ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ชนิดปี๊บในปี 2539 มีราคาเท่ากับ 2.26, 14.94 และ 23.36 บาท/กิโลกรัม ซึ่งมีราคาสูงกว่าปี 2538 ซึ่งมีราคาเท่ากับ 2.29, 15.50 และ 24.81 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากในปีนี้เกิดภาวะฝนตกหนักในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ทำให้ผลผลิต ปาล์มน้ำมัน ลดลง ส่งผลให้ราคา น้ำมันปาล์มในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับราคา น้ำมันปาล์ม ภายในประเทศ ราคาต่างประเทศที่สูง ทำให้การลักลอบนำเข้าลดลง และส่งผลให้ความต้องการใช้ น้ำมันปาล์ม ที่ผลิตได้ภายในเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดความต้องการส่วนเกินจึงทำให้ราคาเพิ่มขึ้น

  ตารางแสดงราคาผลปาล์มน้ำมันดิบ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์
  ปีการผลิต ผลปาล์มทั้งทะลายเกษตรกรขายได้ น้ำมันปาล์มดิบณ ตลาดกรุงเทพฯ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ชนิดปีบ (ตลาดกรุงเทพฯ)
  2535 2.10 14.84 24.74
  2536 1.83 13.17 20.58
  2537 1.75 13.69 18.33
  2538 2.08 15.87 22.61
  2539 2.26 14.94 23.36
  สภาวะการค้าของต่างประเทศ

มาเลเซียเป็นผู้ผลิต น้ำมันปาล์ม รายใหญ่ของโลก โดยมีส่วนแบ่งด้านการผลิตร้อยละ 55 ของผลผลิตโลก ผลผลิต น้ำมันปาล์ม ของมาเลเซีย จะมีเท่ากับ 7.8 ล้านตัน ผลให้การเก็บเกี่ยวล่าช้า และฝนจะยังคงตกหนักต่อเนื่อง โดยเฉพาะในแหล่ง ปลูกปาล์ม ที่สำคัญของประเทศ ดังนั้นจึงส่งผลให้ราคา น้ำมันปาล์ม ซื้อขายล่วงหน้า ณ ตลาดมาเลเซีย มีราคาสูงขึ้นเป็น 14.59 บาท/กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าปี 2537 เท่ากับ 2.59 บาท/กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 20.94 และปี 2539 ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศมาเลเซียลดลงเหลือ 11.83 บาท/กิโลกรัม ซึ่งต่ำลงเหลือใกล้เคียงกับปี 2532 สำหรับการส่งออกมาเลเซียเป็นผู้นำในการ ส่งออกปาล์ม ของโลก โดยมีส่วนแบ่งด้านการส่งออกร้อยละ 64 ของการส่งออกโลก โดยในปี 2538 ส่งออกน้ำมันปาล์มทั้งสิ้น 6.5 ล้านตัน สำหรับอินโดนีเซีย ในปี 2538 ประมาณการว่าพื้นที่ปลูกเท่ากับ 11.29 ล้านไร่ ผลผลิตน้ำมันปาล์ม ได้ 4.4 ล้านตัน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 24 และอนาคตคาดว่าอินโดนีเซียจะเป็นผู้นำในการ ผลิตน้ำมันปาล์ม แทนมาเลเซีย ทั้งนี้เพราะอินโดนีเซีย ยังสามารถขยายพื้นที่ปลูกออกไปได้อีกนาน


ปริมาณการตลาด

การเปิดตลาดให้มีการ นำเข้าน้ำมันปาล์ม จำนวน 4,629 ตัน จะส่งผลกระทบรุนแรงหนักต่อสภาวะการผลิตและการตลาดภายในประเทศ เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้อยมาก เมื่อเทียบกับผลิตภายในประเทศหรือคิดเป็นร้อยละ 1 ประกอบกับปัจจุบันผลผลิตภายในยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นการนำเข้าจึงทำให้อุปทานของ น้ำมันปาล์ม เพิ่มขึ้น

 
ปลูกปาล์มน้ำมัน

การ

ก.อายุต้นกล้าที่ใช้ปลูก อายุที่เหมาะสมคือ 10 - 12 เดือน
ข.ระยะเวลาปลูกอยู่ช่วงฤดูฝนเพราะเป็นปัจจัยสำคัญ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ค.การเตรียมการในเรือนเพาะชำ ก่อนย้ายปลูกให้น้ำต้นกล้าปาล์มก่อนจะนำลงปลูก และพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค-แมลง
คัดต้นกล้าผิดปกติออก
ง.หลุมปลูก ขนาดของหลุม 45 x 45 x 35 รูปทางเป็นรูปตัวยู วิธีการชุดหลุมดินชั้นบน และชั้นล่างแยกกัน และตากหลุมประมาณ 10 วัน
จ.การขนย้ายต้นปาล์มน้ำมัน ควรใช้รถบรรทุก เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน และคำนึงถึงความระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายด้วย
ฉ.การปลูกต้นกล้าปาล์มน้ำมัน  การใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ควรใช้ร๊อกฟอสเฟตอัตรา 250 กรัมต่อหลุม
ก่อนนำต้นกล้าลงปลูก ควรคลุกเคล้าดินกับปุ๋ย เพื่อป้องกันการสัมผัสของรากโดยตรง
ใส่ดินลงไปในหลุมโดยใช้ดินชั้นบนลงไปก่อน และอัดให้แน่นเพื่อป้องกันลมพัดแรง
ช.การตรวจแปลงหลังจากปลูก ต้นกล้าจะต้องอยู่ในสภาพเดิม ถ้าตรวจพบควรแก้ไขทันที
ซ.การปลูกซ่อม ควรทำภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากปลูก
 
ปฏิบัติ และบำรุงรักษาสวนปาล์มน้ำมัน
1. การป้องกันและการกำจัดวัชพืช ใน ปาล์ม น้ำมัน
วัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน ในช่วงฤดูแล้ง ไม่ควรกำจัดวัชพืชเพราะทำให้ดินขาดความชุ่มชื่น
วัชพืชใบกว้าง
วัชพืชใบแคบ

2. การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน
ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิม ความต้องการของปาล์มน้ำมันในระยะต่าง ๆ สภาพแวดล้อมลมฟ้าอากาศ ชนิดของปุ๋ยอัตราการใช้

3. การป้องกันกำจัดโรคแมลงในปาล์มน้ำมัน
ไม่ควรพ่นสารเคมีทันที เมื่อพบศัตรูพืชเพราะนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังทำลายศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์อีกด้วย ควรสุ่มตัวอย่าง เช่น ตัดทางใบที่ 17 ตรวจนับหนอนร่าน ถ้าพบมีมากกว่า 5 ตัว ต่อทางใบโดยเฉลี่ย จึงควรป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี

4. การตัดช่อดอกปาล์มน้ำมัน
ในระยะเริ่มการเจริญเติบโต การตัดช่อดอกตัวผู้และตัวเมีย ทิ้งในระยะแรก มีผลทำให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และมีขนาดใหญ่ เพราะอาหารที่ได้รับจะเสริมส่วนของลำต้น แทนการเลี้ยงช่อดอกและผลผลิต เมื่อถึงระยะให้ผลผลิตที่ต้องการ ผลผลิตจะมีขนาดใหญ่ และสม่ำเสมอ ถ้าไม่ตัดปล่อยทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว อาจเป็นแหล่งของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคทะลายเน่าได้

  การใส่ปุ๋ยเคมีปาล์มน้ำมัน : การใส่ปุ๋ยเคมี

1. ระยะเวลา และการแบ่งใส่

ใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี ช่วงที่เหมาะสมในการใส่คือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน ตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไป อาจพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมบ่งใส่ปุ๋ย (ตามอัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส 3 ครั้ง/ปี แนะนำให้ใช้สัดส่วน 50:25:25% สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน และเมื่อแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ใช้สัดส่วน 60:40% ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝน ตามลำดับ
ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ช่วงหลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน

 
 
ปุ๋ยตรานกอินทรีคู่
จากฟาร์มเกษตร ผลิตภัณฑ์ออแกนิกส์ ปลอดสารพิษ ส่งออกไปยังประเทศจีน ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ กาน่า ด้วยเทคโนโลยีการผลิต และความร่วมมือจากนักลงทุนประเทศ ออสเตเลีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โดยคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และยังมี สสว. องค์กรของภาครัฐร่วมลงทุนอยู่ด้วยประมาณ 15% จึงมันใจได้ว่า ปุ๋ยตรานกอินทรีคู่ มีคุณภาพสูง และเป็นที่ยอมรับในองค์กรชั้นนำ
สนใจติดต่อ คุณปิยะมาศ 089-4599003
หรือ ดูรายการสินค้าและราคาคลิกที่นี่

2. วิธีการใส่ปุ๋ยปาล์ม

1ให้ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) อัตรา 250 กรัม/ต้น รองก้นหลุมตอนปลูก โดยใช้ดินชั้นบนผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหินฟอสเฟตใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินชั้นล่าง
2 อายุระหว่าง 1-4 ปี ใส่ปุ๋ยภายในวงกลม (รัศมี 1.5-2 เมตร) บริเวณที่กำจัดวัชพืชรอบโคนต้น
3 อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยห่างจากโคนต้น 50 ซม. จนถึงบริเวณปลายทางใบ
4 การใส่ปุ๋ยควรหว่านให้ทั่วและสม่ำเสมอ บริเวณทรงพุ่มใบรอบโคนต้น, ยกเว้นปุ๋ยหินฟอสเฟต แนะนำให้ใส่เป็นแนวรอบทรงพุ่ม ภายในรัศมีวงกลมรอบโคนต้น และควรใส่ปุ๋ยหลังจากกำจัดวัชพืชแล้ว

 

3.อัตราปุ๋ยที่ใช้

อัตรา ปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมัน โดยทั่ว ๆ ไป ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถเก็บตัวอย่างใบส่งไปวิเคราะห์ได้ แสดงดังตารางต่อไปนี้

 
  แสดงตารางการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน อายุ 1-4 ปี
  ปีที่ อัตราส่วนปุ๋ยที่ใช้ สูตร(หรือสูตรใกล้เคียง) อัตรา(กก./ต้น/ปี) กีเซอร์ไรท์ อัตรา(กก./ต้น/ปี) โบแรกซ์อัตรา(กก./ต้น/ปี)
  1 4:3:2 20-15-10 1.5-2 - -
  2 3:3:4 15-15-20 2.5-3 0.3 50
  3 2:2:5 12-10-25 3.5-4 0.5 80
  4 1:1:3 10-8-30 4.5-5 0.8 80
 

 

  แสดงตารางการใส่ปุ๋ยเดี่ยวของปาล์มอายุ 5 ปีขึ้นไป
  ปุ๋ย อัตรากก./ต้น/ปี ข้อควรปฏิบัติ หมายเหตุ
  1. ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) 2-2.50 ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตและปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ ควรแบ่งใส่ปีละ 2-3 ครั้ง ส่วนปุ๋ยหินฟอสเฟต กีเซอร์ไรท์ และโบแรกซ์ ควรใส่ปี 1 ครั้ง อาจสลับกับปุ๋ยยูเรีย 1.00 กก./ต้น/ปี ในกรณีที่ปลูกบนดินเหนียว
  2. ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) 1-1.50
  3. ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรท์ (0-0-60) 2-2.50
  4. กีเซอร์ไรท์ 1-1.50
  5. โบแรกซ์ 50-100 กรัม
   
  วิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน
1.วิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มสดรวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงาน ซึ่งมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้

- ตกแต่งช่องทางลำเลียงระหว่างแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อยสะดวกกับการตัดการลำเลียง และการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัด แล้วออกสู่แหล่งรวมหรือศูนย์รวมผลปาล์มที่กำหนดขึ้นแต่ละจุดภายในสวน ข้อควรระวังในการตกแต่งช่องทางลำเลียงปาล์ม คือจะต้องไม่ตัดทางปาล์มออกอีก เพราะถือว่าการตกแต่งทางปาล์มได้กระทำไปตามเทคนิคและขั้นตอนแล้ว หากมีทางใบอันใดกีดขวาง ก็อาจดึงหรือแหวกให้สะดวกในการทำงาน
- สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดิน หรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
- คัดเลือก ทะลายปาล์มสุก โดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผล ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงและจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ 10-12 ผลให้ถือเป็น ผลปาล์มสุก ที่ใช้ได้
- หากปรากฎว่าทะลายปาล์มสุกที่จะคัดมีขนาดใหญ่ ที่ติดแน่นกับลำต้นมากไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำให้ผลร่วงมาก ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแซะขั้วทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
- ให้ตัดแต่งขั้ว ทะลายปาล์ม ที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสะดวกในการขนส่ง หรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรจุลงในถังต้มลูกปาล์มได้สะดวก
- รวบรวม ผลปาล์ม ทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกองในที่ว่างโคนต้นเก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง กรณีต้นปาล์มมีอายุน้อยทางใบปาล์มอาจรบกวน ทำให้เก็บยาก
- รวบรวม ผลปาล์ม ทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อย เช่น ในกระบะบรรทุกที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น
- การเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ฝ่ายสวนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เก็บเกี่ยวร่วมทำงานกันเป็นทีม ในทีมก็แยกให้เข้าคู่กัน 2 คน คนหนึ่งตัดหรือแทงปาล์มอีกคนเก็บรวบรวมผลปาล์ม
- การเก็บรวบรวมผลปาล์ม พยายามลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย ๆ เมื่อผลปาล์มชอกซ้ำมีบาดแผลปริมาณของกรดไขมันอิสระจะเพิ่มมากขึ้น การส่งปาล์มออกจากสวนควรมีการตรวจสอบลงทะเบียนมีตาข่ายคลุมเพื่อไม่ให้ผลปาล์มร่วงระหว่างทาง

 
2.มาตรฐานในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน

1 จะต้องไม่ตัดผลปาล์มดิบไปขาย เพราะจะถูกตัดราคา
2 จะต้องไม่ปล่อยให้ผลสุกคาต้นเกินไป
3 ต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด
4 ต้องไม่ทำให้ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวมีบาดแผล
5 ต้องคัดเลือกทะลายเปล่าหรือเขย่าผลที่มีอยู่น้อยออกแล้วทิ้งทะลายเปล่าไป
6 ตัดขั้วทะลายให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
7 ต้องทำความสะดวกผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินดินปน
8 ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงานโดยไม่ชักช้า

Plam1.jpg (13396 bytes)

ข้อควรปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน มีดังนี้

1.ตัดทะลายปาล์มน้ำมันที่สุกพอดี คือทะลายปาล์มเริ่มมีผลร่วง ไม่ควรตัดทะลายที่ยังดิบอยู่เพราะในผลปาล์มดิบยังมีสภาพเป็นน้ำและแป้งอยู่ ยังไม่แปรสภาพเป็นน้ำมัน ส่วนทะลายที่สุกเกินไปจะมีกรดไขมันอิสระสุก และผลปาล์มสดอาจมีสารบางชนิดอยู่ อาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคได้
2.รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุกควรจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน
3.ผลปาล์มลูกร่วงที่อยู่บริเวณโคนปาล์มน้ำมัน และที่ค้างในกาบต้นควรเก็บออกมาให้หมด
4.ก้านทะลายควรตัดให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย
5.พยายามให้ทะลายปาล์มชอกซ้ำน้อยที่สุด


การกำหนดคุณภาพของผลปาล์มทั้งทะลายที่มีคุณภาพดี

1.ความสดเป็นผลปาล์มที่ตัดแล้วส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
2.ความสุกทะลายปาล์มสุกที่มีมาตรฐานคือลูกปาล์มชั้นนอกสุดของทะลายหลุดร่วงจากทะลาย
3.ความสมบูรณ์ ลูกปาล์มเต็มทะลายและเห็นได้ชัดว่าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
4.ความชอกซ้ำ ไม่มีทะลายที่ชอกช้ำและเสียหายอย่างรุนแรง
5.โรค ไม่มีทะลายเป็นโรคใด ๆ หรือเน่าเสีย
6.ทะลายสัตว์กิน ไม่มีทะลายสัตว์กินหรือทำความเสียหายแก่ผลปาล์ม
7.ความสกปรกไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ดิน หิน ทราย ไม้กาบหุ้มทะลายเป็นต้น
8.ทะลายเปล่า ไม่มีทะลายเจือปน
9.ก้านทะลาย ความยาวไว้เก็บ 2 นิ้ว

 

  ศัตรูพืชที่สำคัญ
ศัตรูปาล์มน้ำมัน หมายถึง สิ่งที่ทำความเสียหายให้กับ ปาล์มน้ำมัน
ชนิดของศัตรูปาล์มน้ำมัน
1. สัตว์ศัตรู ปาล์มน้ำมัน
2. แมลงศัตรู ปาล์มน้ำมัน
3. โรค

สัตว์ศัตรู ปาล์มน้ำมัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. กลุ่มฟันแทะ : หากินบนพื้นดินหรือบนต้นไม้

1 หนูพุกใหญ่ = สีขนด้านท้อง และหลังสีเทาเข้ม
2 หนูท้องขาว = พบมากในสวนปาล์มอายุ 6 ปีขึ้นไป จัดเป็นศัตรูปาล์มน้ำมันที่สำคัญที่สุด มีลักษณะหน้าแหลม ใบหูใหญ่ ตาโต ตัวยาวเรียว ขนเรียบ ขนท้องสีเทา, น้ำตาลปนเทา
3 เม่น มี 2 ชนิด คือ

1) เม่นใหญ่แผงคอยาว เป็นเม่นขนาดใหญ่ หางสัน ขนปกคลุมตัวด้านหน้า สีน้ำตาลดำ ขนด้านหลังเป็นหนามแปลม ขนสีขาวแกมดำ
2) เม่นหางพวง หางพวงมีเกล็ดและที่ปลายหางมีขนเป็นพวง

2.กลุ่มสัตว์กินแมลง

1 กระแตธรรมดา เป็นกระแตขนาดใหญ่ มีหางเป็นพวง สีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิ และความชื้นสูง สีขนจะเป็นสีแดง สดใส ถ้าอุณหภูมิและความชื้นต่ำ สีขนจะเป็นสีเทา หรือเทาน้ำตาล ใบหูเล็กหนาคล้ายหูคน

3.กลุ่มสัตว์จำพวกนก

นกสร้างความเสียหายโดยกินลูกปาล์ม ความเสียหายเกิดเฉพาะที่และจะเกิดซ้ำที่ เป็นนกตระกูลนกเอี้ยง และนกขุนทอง

4.กลุ่มสัตว์ป่าอื่น ๆ

หมูป่า


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 55411 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

Nipit worasee
[email protected]

01 มิ.ย. 2554 , 10:03 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

webmaster
[email protected]
ใช้ 13-13-21 ได้ครับ
หากเป็นของฟาร์มเกษตร อยากแนะนำ
เพอร์เฟค-พี สูตร 5-3-14
หรือ
วันเดอร์ สูตรสีส้ม ครับ สอบถามรายละเอียดได้ตามที่อยู่ในเว็บไซต์นี้ครับผม
09 ก.พ. 2554 , 07:15 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

กัญภัคณัฐ ค้าสม
[email protected]
เรียนท่าน
ถ้าเราไม่มีปุ๋ย 0-0-60 เราจะใช่ปุ๋ยสตรูไหนแทนดีค่ะ
08 ก.พ. 2554 , 09:51 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ธามน
[email protected]
สนใจและอยากจะปลูกค่ะ มีที่ดินอยู่ที่อุดร 6 ไร่ เป็นที่นา แต่น้ำไม่ขังมาก ไม่ทราบว่าจะปลูกได้หรือไม่ และมีโรงงานรับซื้ออยู่ใกล้ๆหรือเปล่า ขอคำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
26 ธ.ค. 2553 , 04:26 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

เกษตรกรปลูกปาล์ที่อิสาน
[email protected]
โรงหีบนำมันปาล์มที่ภาคอิสานมีอยู่ที่จังหวัดอะไรครับ
24 ธ.ค. 2553 , 08:24 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

อาร์ม
[email protected]
ที่จังหวัดนครสวรรค์จะปลูกได้หรือเปล่าครับ
ถ้าปลูกได้จะนำไปขายที่ไหนที่ใกล้ที่สุดครับ จะคุ้มกันไหมครับ
แล้วที่ขายพันธุ์ปาล์มที่ใกล้ๆมีตรงไหนครับ ผมอยากทราบจริงๆครับ
ขอบคุณครับ
14 ธ.ค. 2553 , 09:22 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

baw
[email protected]
good
ขอบคุณครับ
ช่วย
upๆๆๆๆๆๆๆๆ
upๆๆๆๆๆๆๆ
upๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
upๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
upๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
upๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
12 ส.ค. 2553 , 08:08 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

webmaster
[email protected]
ขอบคุณครับ สำหรับคำแนะนำดีดี ช่วงนี้ขอเวลาอีกประมาณ 1 สัปดาห์นะครับ จะรีบกลับมาอัพเดทข้อมูลความรู้ด้านการเกษตรให้ครับ
11 ก.ค. 2553 , 04:21 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

นาย เกษตร
[email protected]
ช่วยอัพเดทหน้าเวบไซและข้อม฿ลหน่อยครับ มีคนรอศึกษาอีกเยอะ
10 ก.ค. 2553 , 11:16 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ปาล์มน้ำมัน]:
หนอนหน้าแมว กัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ชะงักการเติบโตเป็นปี กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
(รูปด้านบนนี้ ไม่ใช่หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมันนะจ๊ะ) ถ้าอาการหนัก หรือโดนเข้าทำลายอย่างรุนแรง จะเหลือแต่ก้านใบ
อ่านแล้ว: 7022
ติงภาครัฐไม่บูรณาการทำงาน ทำระบบจัดการปาล์มไม่พร้อม
สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลงประจำเดือนตุลาคม 2560 พบว่า ลดลงร้อยละ 2.42 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
อ่านแล้ว: 7343
มาเลย์เซีย ใช้วิธีอะไร พัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
มาเลเซียมีเป้าหมาย ภายในปี 2563 เกษตรกรจะต้องมีผลผลิตเพิ่มเป็น 4.16 ตันต่อไร่ ได้น้ำมันสกัดในอัตรา 23%...ส่วนของไทยมี..
อ่านแล้ว: 6547
ปาล์มน้ำมันพันธุ์ใหม่ 5 ตันต่อไร่ดีที่สุดในโลก

อ่านแล้ว: 6901
มาเลย์เซีย ใช้วิธีอะไร พัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

อ่านแล้ว: 7238
ชาวสวนเฮ - ปาล์มราคาพุ่ง พาณิชย์ไม่มีแผนนำเข้า
ราคาปาล์ม ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กระทบต้นทุนน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ห้างค้าปลีกจำกัดซื้อไม่เกิน 6 ขวดต่อครอบครัว..
อ่านแล้ว: 9635
รับมือปาล์มราคาตก 1 ก.พ. ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ต่ำกว่า 4.20 บาทซื้อทันที
หากราคาปาล์มน้ำมัน ตํ่ากว่า 4.20 บาท เปิดรับซื้อทันที เป้า 9.8 หมื่นตันครอบคลุมสหกรณ์ สถาบันเกษตรกรกว่า 3 ล้านรายได้เฮ
อ่านแล้ว: 10826
หมวด ปาล์มน้ำมัน ทั้งหมด >>