ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 45291 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกพริก

พริกจัดว่าเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกพริก

พริกจัดว่าเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย  เพราะในชีวิตประจำวันของคนไทย  สามารถจะกล่าวได้ว่าทุกครอบครัว  ทุกคนจะต้องใช้พริกในการประกอบอาหารนอกจากนั้นยังนำไปเข้าโรงงานอุตสาหกรรมได้  คือ  ซอสพริก  และยังนำไปประกอบอาหารให้มีรสเผ็ดซึ่งคนไทยจะขาดเสียมิได้

การปลูกพริก

การปลูกพริกในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดปี  ถ้ามีน้ำอุดมสมบูรณ์  หรือปลูกในฤดูฝนก็ได้  พริกสามารถปลูกได้ทุกภาคทุกจังหวัด  ทั้งนี้เนื่องจากพริกมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาและมีการแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ  ของโลก  จังหวัดที่ปลูกพริกกันเป็นพื้นที่มาก  ได้แก่  กาญจนบุรี,  ประจวบฯ,  เพชรบุรี,  สมุทรสาคร,  สุโขทัย,  สุพรรณบุรี,  เชียงราย,  น่าน,  ลำปาง,  เชียงใหม่  ฯลฯ  พริกที่ปลูกกันได้แก่  พริกบางช้าง,  พริกสันป่าตอง,  พริกชี้ฟ้า,  พริกขี้หนูเม็ดใหญ่  เป็นต้น

การปลูก
การปลูกพริก  อาจเลือกปฏิบัติได้  3  วิธี  ตามความเหมาะสม  คือ

1.  โดยวิธีการใช้เมล็ดพริกหยอดเมล็ดโดยตรงในหลุม  หลุมละ  3-5  เมล็ด  เมล็ดพริกหวานเปอร์เซ็นต์ความงอก  80% ใช้เมล็ด  60-90  กรัม/ไร่  นิยมปฎิบัติในแปลงปลูกขนาดใหญ่  และไม่มีแรงงานเพียงพอในการย้ายต้นกล้า  จุดอ่อนของการปลูกโดยวิธีนี้คือ  ต้นพริกอ่อนแอ  อาจจะถูกมดและแมลงอื่น ๆ  กัดกินใบ  ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์  และเสียเวลาในการปลูกซ่อม

2.  เพาะเมล็ดพริกให้งอกแล้วนำไปปลูกในหลุม  กลบด้วยดินบาง ๆ  วิธีเพาะคือ  นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ  แล้วเอาผ้าชุบน้ำหมาด ๆ  ห่อ  ทิ้งไว้ประมาณ  2  วัน  เมล็ดจะงอกแล้วนำไปปลูก

3.  เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน  แปลงเพาะกล้าควรใส่ปุ๋ย  15-15-15  ปริมาณ  100  กรัมต่อตารางเมตร  คลุกดินลึกประมาณ  5-8  นิ้ว  ควรใช้ฟูราดานในการเพาะด้วยเมื่อหว่านเมล็ดแล้วประมาณ  10  วัน  เมล็ดเริ่มงอก  ถ้ามีต้นหนาแน่น  ให้ถอนแยกหลังจากที่ใบจริงคลี่เต็มที่แล้ว        2-3  วัน  เมื่อกล้าอายุได้  18  วัน  รดด้วยปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตละลายน้ำ  อัตราส่วน  1  กรัมต่อน้ำ  200  ซีซี.  แล้วรดน้ำตามทันที  การเพาะโดยวิธีเพาะโดยเมล็ดธรรมดาที่ยังไม่งอกวิธีนี้ควรคลุกยาป้องกันกำจัดเชื้อราที่อาจติดมากับเมล็ดก่อนนำเมล็ดไปเพาะได้แก่  ออไธไซด์  และในแปลงเพาะควรจะรดด้วยไดโฟลาแทน  80  หรือไดเทน  เอ็ม  45  เพื่อป้องกันโรคเน่า

เมื่อกล้าสูงประมาณ  6  นิ้ว  จึงพร้อมจะย้ายปลูกได้ รวมอายุกล้าในแปลงเพาะสำหรับการเพาะโดยเมล็ดที่งอกแล้วประมาณ  30  วัน  และเพาะโดยเมล็ดธรรมดาประมาณ  40  วัน

ในบางแห่งปลูกโดยการย้ายกล้า  2  ครั้ง  ทั้งนี้เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง  ทนทานและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น  โดยทำการย้ายกล้าครั้งที่  1  เมื่อกล้าโตมีใบจริง  2  ใบ  ย้ายชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงใหม่ให้มีระยะห่าง  10-15  ซม.  ในการย้ายกล้านี้ต้องทำอย่างระมัดระวัง  พยายามให้รากติดต้นมากที่สุดก่อนย้ายปลูกในแปลงใหม่  ควรจะรดน้ำแปลงเพาะให้ชุ่ม  ทิ้งไว้      1  ชม.  แล้วใช้ไม้หรือปลายมีดพรวนดินให้ร่วน   ค่อย ๆ ถอนต้นกล้า  อายุในการชำในแปลงใหม่  15-20  วัน  หรือสูงประมาณ  6  นิ้ว  จึงย้ายปลูกได้  เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง  ทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม  ทำได้โดยการฉีดพ่นสารละลายของน้ำตาลเข้มขน  10%  คือใช้น้ำตาลทราย  10  ส่วน  เติมน้ำลงไปอีก  90  ส่วน  ฉีดทุก ๆ  3  วัน  เป็นเวลา  2  อาทิตย์ก่อนย้ายปลูก  ก่อนทำการฉีดสารละลายน้ำตาลทรายนี้ต้องทำให้ใบพริกเปียกน้ำให้ทั่ว  เพื่อให้ใบดูดซึมน้ำตาลได้เป็นปริมาณสูง

การเตรียมดิน
ทำการย้ายปลูก  เมื่อกล้าสูงประมาณ  6  นิ้ว  เตรียมดินแปลงปลูก  โดยไถดะตากดินทิ้งไว้ประมาณ  5-7  วัน  ไถพรวน  1  ครั้ง  หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ทั่วแปลงในอัตรา         3-4  ตัน/ไร่  ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์  สูตร  15-15-15  อัตรา  50  กก./ไร่  หว่านให้ทั่วพื้นที่ปลูก  แล้วพรวนกลบเข้ากับดินแล้วจึงเตรียมแปลงปลูกการเตรียมแปลงปลูก  สามารถทำได้หลายแบบ  แล้วแต่สภาพของพื้นที่ปลูกดังนี้คือ

1.  ปลูกแบบไม่ยกแปลง  เหมาะสำหรับพื้นที่ ๆ  มีการระบายน้ำดี  ปรับระดับได้สม่ำเสมอ  การปลูกแบบนี้อาจปลูกเป็นแถวเดียว  ใช้ระยะห่างระหว่างแถว  60-70  ซม.  ระหว่างต้น  50  ซม.  หรือปลูกเป็นแถวคู่  ระยะระหว่างแถวคู่  1  เมตร  ระหว่างแถว  50  ซม.  ระหว่างต้น  50  ซม.

2.  ปลูกแบบยกแปลง  เหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง  ระบายน้ำดอกได้ยาก  ขนาดแปลงกว้าง  1.50  เมตร  ร่องน้ำกว้าง  50  ซม.  ลึก  50  ซม.  ปลูก  2  แถว  บนแปลง  โดยมีระยะห่างแถว  0.75-1.00  เมตร  ระหว่างต้น  50  ซม.  หรือปลูกเป็นแถวคู่  1  เมตร  ระหว่างแถว  50  ซม.  ระหว่างต้น  50  ซม.

การปฎิบัติบำรุงรักษา
พริกเป็นพืชที่ทนแล้งดีกว่าทนน้ำ  แต่ในระยะที่พริกเริ่มออกดอก  พริกจะต้องการน้ำมากกว่าปกติ  พบว่า  การให้น้ำที่ไม่เพียงพอ  และอากาศแห้งแล้งจะทำให้ดอกอ่อน  ดอกบาน  และผลอ่อนที่เพิ่งติดร่วงได้  ในสภาพที่อากาศค่อนข้างเย็น  อุณหภูมิประมาณ  10-15  ซํ.   จะทำให้พริกเจริญเติบโตไม่ค่อยดี  มีการติดดอกต่ำ  และดอกร่วงในที่สุด  การให้น้ำควรจะลดลง  หรืองดในช่วงที่เริ่มทำการเก็บผลพริก  ทั้งนี้เพราะถ้าให้น้ำพริกมากไป  จะทำให้ผลมีสีไม่สวย

1.  การให้น้ำ   หลังจากปลูกสร้าง  ควรให้น้ำดังนี้
-  ช่วง  3  วันแรก  ให้น้ำวันละ  2  ครั้ง  เช้า – เย็น
-  ช่วง  4  วันต่อมา  ให้น้ำวันละครั้ง
-  ช่วงสัปดาห์ที่  2  ถึงสัปดาห์ที่  4  ให้น้ำสัปดาห์ละ  3  ครั้ง
-  ช่วงสัปดาห์ที่  5  ถึงสัปดาห์ที่  7  ให้น้ำสัปดาห์ละ  2  ครั้ง
-  ช่วงสัปดาห์ที่  7  ไปแล้วให้น้ำสัปดาห์ละ  1  ครั้ง  ทั้งนี้  การให้น้ำแก่พริกควรให้ตาม สภาพพื้นที่  และดูความชุ่มชื้นของดินประกอบด้วย

2. การใส่ปุ๋ย  การให้ปุ๋ยพริกขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของดินปลูกโดยทั่วไป  ปุ๋ยคอก  อัตรา  3-4  ตันต่อไร่  ผสมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์  15-15-15    อัตรา  50  กก.ต่อไร่  รองพื้นก่อนย้ายปลูกและหลังย้ายปลูกแล้ว  1  เดือน  จึงใส่ปุ๋ยสูตร  15-15-15  ในอัตรา  50  กก.ต่อไร่  อีกครั้งหนึ่ง  วิธีใส่โดยโรยกึ่งกลางระหว่างแถวปลูกแล้วพรวนกลบ  ในระยะนี้เป็นระยะที่พริกเริ่มจะมีตาดอก  (แต่ยังไม่ออกดอก)  มีความต้องการธาตุอาหารเสริมบ้าง  ดังนั้นหลังจากใส่ปุ๋ยแล้ว  1-2  อาทิตย์  ควรฉีดปุ๋ยน้ำ  เช่น  ไบโฟลาน  ให้ทางใบ  ซึ่งพริกจะนำไปใช้ได้เร็วขึ้น  ปุ๋ยน้ำที่ฉีดให้ทางใบนี้ควรให้ทุกครั้งหลังจากเก็บเกี่ยว  โดยฉีดผสมไปกับยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช

3. การพรวนดิน   เนื่องจากพริกจะแพร่รากกระจายอยู่ใกล้ผิวดิน  จึงต้องระวังอย่าให้รากกระทบกระเทือน  เพราะจะชงักการเจริญเติบโต  จะทำให้ต้นพริกโค่นล้มง่าย  การให้ปุ๋ยควรขุดหลุมตามบริเวณกว้างของใบพริกที่แผ่ไปถึง  อย่าใส่ชิดโคนต้น

4.  การเก็บเกี่ยว   พริกจะเริ่มให้ผลผลิตหลังจากย้ายปลูกแล้ว  2  เดือนครึ่ง  ถึง  3  เดือน  ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยและจะค่อย ๆ  เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ  เก็บเกี่ยวอาทิตย์ละ  1  ครั้งผลผลิตจะเริ่มลดลงเมื่อพริกเริ่มแก่  เมื่อพริกอายุได้  6-7  เดือน  หลังย้ายปลูกต้นจะเริ่มโทรมและหยุดให้ผลผลิต  แต่ถ้ามีการดูแลบำรุงรักษาดีพริกจะมีอายุถึง  1  ปี

5.  การเก็บรักษา  ผลพริกเมื่อแก่จัด  จะยังคงทิ้งให้อยู่กับต้นได้อีกชั่วระยะหนึ่ง  โดยไม่เสื่อมคุณภาพแต่ประการใด  การเก็บรักษาพริกให้คงสภาพสดอยู่ได้  ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ  พบว่าอุณหภูมิ  0  ซํ.  ความขึ้น  95-89%  จะเก็บพริกให้คงความสดอยู่ได้นานถึง  40  วัน  โดยมีผลเหี่ยวย่นเพียง  4%  ซึ่งนับว่า  ต่ำมาก  เมื่อเทียบกับการเก็บพืชผักหลายชนิด  และอุณหภูมิ  8-10  ซํ.  ความชื้น  85-90%  จะเก็บพริกสดไว้ได้นาน  8-10  วัน

6.  การทำพริกตามแห้ง   พริกที่จะนำมาตากแห้งต้องเก็บผลแก่จัด  มีสีแดง  ถ้าเก็บมาแล้วมีบางผลที่ยังไม่แก่ควรนำมาสุ่มไว้ในเข่งประมาณ  2  ค้น  เพื่อบ่มให้ผลสุกแดง  แล้วจึงนำออกตากแดดให้แห้งสนิท  ควรเลือกผลที่เน่าออกทิ้งอยู่เสมอ   ข้อควรระวังบอย่าให้พริกที่ต้องการทำพริกแห้งถูกฝน  จะทำให้เกิดโรครา  ราคาตกได้กสิกรบางแห่งนิยมย่างไฟ  โดยการย่างพริกไว้บนแผงหรือตะแกรงแล้วสุมไฟข้างล่าง  คอยหมานกลับพริกให้แห้งทั่วกัน  จะทำให้พริกแห้งเร็วขึ้น  เก็บไว้ได้นานไม่เสียง่าย

การเก็บพริกไว้ทำพันธุ์
ควรเลือกผลจากต้นที่แข็งแรงและดก ลักษณะผลโตได้ขนาด  รูปร่างดี  ตรง  ยาวไม่หงิกงอ  ผิดรูปทรง  มีลักษณะตรงตามพันธุ์  และไม่เป็นโรค  ควรเลือกผลสำหรับเก็บไว้ทำพันธุ์  จากการเก็บรุ่นที่  3  ทั้งนี้เพราะมีจำนวนเมล็ดมาก  และขนาดของเมล็ดใหญ่สมบูรณ์  เก็บรักษาผลที่เหลือได้ไว้คาต้นจนสุกเต็มที่  จากนั้นนำมาเก็บบ่อไว้ในภาชนะ  เช่น  กระบุง  ประมาณ  2  คืน  จนเนื้อนุ่มแล้ว  ใช้มีดกรีดให้ผลแตก  เคาะเมล็ดออกล้างน้ำสะอาด  แล้วนำไปเกลี่ยบนตะแกรงหรือกระด้ง  ตากแดดให้แห้งสนิทใส่ถุงพลาสติกหรือขวดสะอาด  ปิดผาให้แน่น เก็บไว้ในที่มีอากาศแห้ง  และเย็นอย่าไว้ใกล้เตาไฟ  หรืออยู่ในที่แดดส่องอยู่

โรคพริก  และการป้องกันกำจัด
ชื่อโรค     โรคกล้าเน่าตาย
อาการ       อาการทั่วไปที่เห็นคือต้นกล้าเหี่ยวแห้งตาย
การป้องกัน  
1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา  หลังจากล้างเมล็ดพันธุ์แล้วควรจะคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา  เช่น  ไดเทน  เอ็ม  45  ชนิดสีแดง  เพื่อป้องกันเชื้อราในดินเข้าทำอันตรายเมล็ดในขณะที่มีการงอก
2.  เมื่อต้นกล้างอกขึ้นมาเหนือพื้นดินแล้ว  ต้องรีบฉีดยาป้องกันทันทีและจะต้องฉีดพ่นยาทุก  5-7  วันต่อครั้ง  ยาที่ใช้ฉีดพ่นก็เป็นจำพวกยาป้องกันกำจัดเชื้อราทั่ว ๆ  ไป  ที่ใช้ฉีดพ่นบนใบ  เช่น  ชิงโคโฟล,  ไดเทนเอ็ม  45  ฯลฯ  นอกจากนี้ควรฉีดพ่นยาลงไปบนผิวดินด้วยยาที่ใช้ฉีดพ่นไม่ควรใช้ยาที่เป็นสารประกอบพวกทองแดง


อ้างอิง : http://www.oknation.net/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 45291 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

Jomaejo
[email protected]
ถ้าไม่พอเพิ่มเติมได้ที่นีครับ
http://www.stb-agency.com
09 มี.ค. 2554 , 04:26 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

sakda9
[email protected]
เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์

01 มี.ค. 2554 , 07:08 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 8072
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6700
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6719
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 8301
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7455
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7654
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6943
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>