data-ad-format="autorelaxed">
เชื้อราบิวเวอเรีย คือ อะไร
เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นจุลินทรีย์ที่จัดเป็นพวก "เชื้อราทำลายแมลง" สามารถทำลายแมลงได้หลายชนิดทำลายแมลงโดยผลิต เอนไซม์ที่เป็นพิษต่อศัตรูพืช และเป็นเชื้อราที่อาศัยและกินเศษซากที่ผุพัง (Saprophyte)
เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถทำลายแมลงศัตรูพืช อะไรได้บ้าง?
- แมลงหวี่ขาว
- หนอนเจาะสมอฝ้าย
- ไรแดง
- เพลี้ยไฟ
- เพลี้ยอ่อน
- เพลี้ยไก่แจ้ส้ม
- เพลี้ยจักจั่น
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ข้อดีของเชื้อราบิวเวอเรีย
ในการใช้เชื้อราบิวเวอเรีย ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค ไม่มีสารพิษตกค้าง
ข้อจำกัดของเชื้อราบิวเวอเรีย
ความร้อน ความชื้น มีผลต่อการอยู่รอดของเชื้อรา และประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช
วงชีวิต
การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย
1. สปอร์เชื้อราตกติดอยู่กับผนังลำตัวแมลงเข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผลบนผนังลำตัว ความชื้นเหมาะสมกับการงอก สปอร์จะแทงทลุผิวหนังลำตัว เชื้อราจะงอกสู่ช่องว่างลำตัวแมลงเจริญเติบโตสร้างเส้นใยมากมายทำลายแมลง
2. เมื่อแมลงตาย เส้นใยจะแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกสู่ภายนอกตัวแมลง
3. สปอร์จะแพร่กระจายไปตามลม ฝนหรือติดกับตัวแมลง เชื้อราจึงสามารถขยายพันธุ์ต่อได้ และเมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะทำลายแมลงศัตรูต่อไป
ลักษณะอาการของแมลงที่ถูกเชื้อราบิวเวอเรียเข้าทำลาย
1. แมลงที่ถูกทำลายจะแสดงอาการของการเป็นโรคคือ เบื่ออาหาร กินน้อยลง อ่อนเพลียและไม่เคลื่อนไหว
2. สีผนังลำตัวแมลงมักจะเปลี่ยนไป ปรากฎจุดสีดำบนบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
3. พบเส้ยใย และผงสีขาว ของสปอร์ปกคลุมตัวแมลงที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
วิธีการใช้เชื้อรา บิวเวอเรีย
1. เชื้อราบิวเวอเรีย 1-2 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ (กรองเอาเฉพาะน้ำ)
2. ควรให้น้ำแปลงพืชที่จะควบคุมศัตรูพืชประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนทำการพ่นเชื้อราบิวเวอเรีย
3. นำเชื้อราไปฉีดพ่นเพื่อควบคุมศัตรูพืชโดยต้อง
- พ่นให้ถูกตัวแมลงและศัตรูพืช หรือบริเวณที่แมลงศัตรูพืชอาศัยให้มากที่สุด
- ช่วงเวลาพ่นควรเป็นช่วงเวลาเย็น โดยมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการงอกและเจริญเติบโตของเชื้อราคือ ความชื้นสูง และแดดอ่อน
4. ให้น้ำกับแปลงพืชในวันรุ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความชื้น
5. สำรวจแปลงพืช ถ้ายังพบศัตรูพืชเป้าหมายให้พ่นเชื้อราบิวเวอเรียซ้ำ
เชื้อราบิวเวอเรีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beauveria bassiana
วงศ์ (Family) : Moniliales
อันดับ (Order) : Deutesomycetes
ชั้น (Class) : Fungi Imperfecti
อ้างอิง http://www.pmc08.doae.go.th/