[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3512 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 2 รายการ

เกษตรเตือนภัยโรคพืช โรคเน่าคอดินพืช-ผัก
เกษตรเตือนภัยโรคพืช โรคเน่าคอดินพืช-ผัก
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มทำการเพาะปลูกพืชผัก สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จึงมีข้อแนะนำให้เกษตรกรรู้จักโรคพืชที่อาจเกิดการระบาดในพืชผักได้ในช่วงฤดูหนาวนี้รวมถึงวิธีการป้องกันกำจัด

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า โรคของต้นอ่อนหรือกล้าผักต่างๆ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิดแต่ที่ทราบและรู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ โรคโคนเน่าคอดิน (damping-off) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วๆ ไปว่าโรคกล้าตายพราย หรือโรคเหี่ยวเขียว ซึ่งจัดว่าเป็นโรคระบาดสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับผักมากมายหลายชนิด หลายตระกูลในเกือบทุกสภาพของดินและภูมิอากาศตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโต

เชื้อรามีหลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเน่าคอดิน ได้แก่ Phycomycetes : Pythium spp. _ Phytophthora spp. Deuteromycetes : Botrytis cinerea _ Diplodia pinea _ Cylindrocladium scoparium _ Fusarium spp _ Pestalozzia funerea_ Rhizoctonia solani_ Sclerotium bataticola

ลักษณะอาการของโรค เชื้อราจะเข้าทำลายพืชในระยะต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดิน และเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว

อาการต้นกล้าเน่า อาการทั่วไปในแปลงจะพบว่า ต้นกล้าฟุบตายเป็นหย่อมๆ เมื่อนำกล้ามาพิจารณาดูที่ต้นจะเห็นว่า บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะแผลช้ำ เหี่ยวแฟบ คอรวงเป็นสีน้ำตาลดำและเน่า เป็นเหตุทำให้ต้นกล้าหักพับลง พบกับกล้าพืชแทบทุกชนิดในแปลงที่มีกล้าแน่นเกินไป และความชื้นสูง สาเหตุเนื่องจากเชื้อราอาการต่างๆ ของโรคดังกล่าวมาแล้ว จะเกิดได้รุนแรงขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับพืช ชนิด และปริมาณของเชื้อโรค และสภาพแวดล้อม เชื้อโรคแต่ละชนิดต้องการสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น โรคเน่าคอดิน โรครากเน่าจะเกิดรุนแรงเมื่อความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำไม่ดี โรคเน่าเละของผักระบาด เมื่อความชื้นสูง และอากาศร้อน โรคราแป้งขาวเป็นได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง ในขณะที่โรคราน้ำค้างเป็นโรคได้ดี และระบาดมาก เมื่อมีความชื้นสูง และฝนชุก โรคใบจุด (ตากบ) ของยาสูบพบว่า ในแปลงที่มีปุ๋ยไนโตรเจนสูง ทำให้เกิดโรคมาก โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อราจะเป็นโรครุนแรงมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ปลูก และอัตราส่วนปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียมที่ให้ สรุปได้ว่า เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อจะเจริญได้ดีมีการเพิ่มปริมาณจำนวนมาก และเข้าทำลายพืชได้ง่าย โดยอาจเข้าทำลายโดยตรง เช่น เชื้อรา หรืออาจเข้าทางบาดแผล และทางรูเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ ในสภาพที่พอเหมาะเชื้อจะเข้าไปเจริญ และขยายพันธุ์ในส่วนต่างๆ ของพืช และแสดงอาการโรคให้เห็น ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่เชื้อมีจำนวนมาก พร้อมที่จะแพร่ระบาดขยายขอบเขตของการเกิดโรคออกไป โดยมีลมหรือน้ำพัดพาติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ หรือเมล็ดพันธุ์ แมลง และสัตว์บางชนิดพาไป ติดไปกับเครื่องมือ หรือวัสดุการเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือบางทีมนุษย์ก็เป็นผู้นำ โรคแพร่ระบาดเสียเอง และสามารถแพร่ระบาดได้ไกลข้ามประเทศ โดยการนำหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชที่มีโรคติดอยู่ เป็นต้น

อาการโรคเน่าคอดิน แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ

1) ราเข้าทำลายเมล็ดหรือต้นกล้า ก่อนที่จะงอกพ้นดิน ทำให้เมล็ดไม่งอกหรือรากต้นอ่อน ถูกทำลายทันที ทำให้ไม่มีใบเลี้ยงออกมา

2) ต้นกล้าเป็นโรคเมื่อโผล่พ้นดินแล้ว ถ้าเข้าทำลายส่วนล่างหรือส่วนราก โดยราจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเนื้อเยื่อพืชโดยเฉพาะราก ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้นและหักล้มก่อนจะแสดงอาการเหี่ยว โดยส่วนติดผิวดินจะเน่าในขณะที่ส่วนอื่นยังเต่งอยู่ แต่ถ้าเชื้อราเข้าทำลายส่วนบนหรือส่วนใบเลี้ยง ซึ่งจะพบไม่บ่อยนัก จะพบเมื่อต้นกล้าอยู่กันอย่างหนาแน่นภายหลังจากระยะที่มีฝนตก

ที่มา http://www.farmkaset..link..
กรมส่งเสริมการเกษตร ตั้ง คลินิกพืช ปั้นนักส่งเสริมเป็น หมอพืช วินิจฉัยโรคพืช แก้ปัญหาให้กับเกษตรกรตรงจุด
กรมส่งเสริมการเกษตร ตั้ง คลินิกพืช ปั้นนักส่งเสริมเป็น หมอพืช วินิจฉัยโรคพืช แก้ปัญหาให้กับเกษตรกรตรงจุด
กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งขับเคลื่อนคลินิกพืชพร้อมปั้นหมอพืชให้มีความองค์ความรู้และเกิดความชำนาญในการให้คำปรึกษาด้านโรคพืชอย่างถูกต้องแม่นยำ คาดสิ้นเดือนเมษายนนี้เกษตรกรสามารถเข้ารับบริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากปัญหาความสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรจากการเข้าทำลายของศัตรูพืชและโรคพืชที่ปัจจัยรอบด้านแตกต่างกัน ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเกิดความเสียหาย เกิดผลกระทบต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ขับเคลื่อนงานคลินิกพืชและฝึกอบรมนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ที่ดูแลงานอารักขาพืชให้ เป็นหมอพืชที่สามารถวินิจฉัยปัญหาโรคพืชและแมลงศัตรูพืชเบื้องต้น โดยบทบาทของหมอพืช จะต้องผ่านการอบรมเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและการจัดการศัตรูพืช และมีประสบการณ์ด้านการวินิจฉัยอาการผิดปกติและการจัดการศัตรูพืชเบื้องต้นในระดับพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมถูกต้องแม่นยำกับสภาพปัญหาของเกษตรกรแต่ละพื้นที่ได้

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับคลินิกพืช จะเปิดให้บริการครบทั้ง 77 จังหวัด โดยจะให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมกับมีการติดตามประเมินผลเบื้องต้นเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้ารับบริการคลินิกพืชได้หลายแห่ง ได้แก่ 1. ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จำนวน 9 ศูนย์ โดยจะเปิดให้บริการเป็นประจำทุกวัน 2. สำนักงานเกษตรจังหวัด จำนวน 77 ศูนย์ และสำนักงานเกษตรอำเภอ 882 ศูนย์ โดยจะเปิดให้บริการ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน 3. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จำนวน 882 ศูนย์ หรือศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จำนวน 1_764 ศูนย์ โดยจะเปิดให้บริการ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน

“อย่างไรก็ตามคาดว่าคลินิกพืชที่มีหมอพืชที่ผ่านการอบรมความรู้อย่างเข้มข้นจะสามารถให้บริการเกษตรกรแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดถูกต้องแม่นยำโดยยึดหลักการจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสานที่มีความยืดหยุ่นตามบริบทของตัวเกษตรกรและพื้นที่ ลด ละ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเกินความจำเป็น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรได้มีอย่างคุณภาพ มีต้นทุนการผลิตที่ลดลงสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ในอนาคต”

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.1 ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในทางการเกษตรซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกําจัด คือ สารเคมีกําจัดแมลง สารป้องกัน
กําจัดวัชพืช สารป้องกันกําจัดเชื้อราสารกําจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกําจัดหอยและปู เป็นต้น

สารเคมีกําจัดแมลง (Insecticide)
สารเคมีกําจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจํานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกําจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ

1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกําจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก เช่น ดีดีที (DDT)
ดีลดริน(Dieldrin) ออลดริน (Aldrin) ท็อกซาฟีน (Toxaphene) คลอเดน(Chlordane) และลินเดน (Lindane) เป็นต้น

1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ เช่น มาลาไธออน (Malathion) และ เฟนนิโตรไธออน
(Fenitrothion) เป็นต้น

1.3 กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate) ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสําคัญ เช่น คาร์บาริล (Carbaryl) คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) และเมโทมิล (Methomyl)
เป็นต้น

1.4 กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม
เช่น เดลตาเมธริน (Deltamethrin) เพอร์เมธริน (Permethrin) เรสเมธริน (Resmethrin) และไบโอเรสเมธริน (Bioresmethrin) เป็นต้น

สารป้องกันกําจัดวัชพืช (Herbicide)
สารเคมีกําจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ จำแนกตามการเลือกทำลายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

2.1 สารชนิดเลือกทำลาย (Selective herbicide) โดยทำลายเฉพาะวัชพืช แต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก เช่น 2_4-D กำจัดวัชพืชใบกว้างโดยไม่เป็นพิษต่อ
ต้นข้าวที่เป็นพืชใบแคบ เป็นต้น

2.2 สารชนิดไม่เลือกทำลาย (Non-selective herbicide) ทำลายวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง หรือกก แนะนำให้ใช้กำจัดวัชพืชในที่ที่ไม่มีการปลูกพืช หรือถ้าจะพ่น
ในที่ที่มีพืชขึ้นอยู่หรืออยู่ใกล้เคียง ต้องพ่นอย่างระมัดระวัง เช่น พาราควอท (Paraquat) ไกลโฟเสท (Glyphosate) เป็นต้น

สารกําจัดเชื้อรา (Fungicide) มีอยู่หลายกลุ่ม บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก เช่น
3.1 กลุ่ม Dimethey Dithiocarbamates เช่น ไซแรม(Ziram) เฟอแบม (Ferbam) ไธแรม(Thiram) เป็นต้น มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde
dehydrogenase เกิด Antabuse Effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย

3.2 กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates เช่น มาแนบ (Maneb) แมนโคแซบ (Mancozeb) ไซแนบ (Zineb) เป็นต้น กลุ่มนี้จะถูก Metabolize เป็น
Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์

3.3 กลุ่ม Methyl Mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท

3.4 กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen Decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ

3.5 กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทำให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว

สารกําจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides)
สารกําจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่างเช่น วอฟฟาริน (Warfarin) เป็นต้น



3.2 ความเป็นพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อ
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและ
เรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรัง
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น มะเร็งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรม
การใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น

ความเป็นพิษของสารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ

สารออร์กาโนฟอสเฟต มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาท รอบนอก โดยจะจับกับตัวเอ็นไซม์
โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งมีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทหยุดการทำงาน ผลการจับ ตัวกับเอ็นไซม์ทำให้ปริมาณของเอ็นไซม์ ลดลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ
ต่อมต่าง ๆและกล้ามเนื้อเรียบซึ่ง ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ในการทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มากพอที่จะ หยุด
การทำงาน พบอาการ ม่านตาหรี่ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก หมดสติ ระบบกล้ามเนื้อพบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว
ที่กล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมา มาก ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามาก

สารคาร์บาเมต สารในกลุ่มนี้มีการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับสารออร์กาโนฟอสเฟต แต่ความเป็นพิษน้อยกว่า อาการที่เกิดขึ้นเหมือนกับการได้รับสาร
ออร์กาโนฟอสเฟต ยกเว้นอาการชัก ไม่รู้สึกตัวเกิดขึ้นน้อย

สารออร์กาโนคลอรีน สารกลุ่มนี้ถูกดูดซึมที่ผิวหนัง เมื่อได้รับมาก ๆจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลาง ถูกขัดขวาง พบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียน
ศีรษะ ปวดศีรษะ

สารไพรีทรอยด์ เป็นสารที่มีความไวทางชีวภาพสูง และใช้แบบเจือจาง สารกลุ่มนี้ถูกกำจัดออกจาก ร่างกาย ไม่ถูกสะสมอยู่ในร่างกาย พบอาการชา
หายใจเร็วตื้น เจ็บคอ คอแห้ง แสบจมูก คันตามผิวหนัง ท้องเสีย น้ำลายไหลมาก หนังตากระตุก เดินโซเซ

สารกำจัดวัชพืช เช่น สารพาราควอท ที่ออกฤทธิ์เร็วและจะเสื่อมฤทธิ์ทันทีเมื่อตกถึงพื้นดิน สารนี้ ละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ไม่มีสี มีกลิ่นอ่อน ๆ
คล้ายกลิ่นแอมโมเนีย สารนี้มีพิษต่อผิวหนัง และเยื่อเมือกพบอาการผิวหนังแห้งแตก ผื่นแดง เป็นแผล เล็บซีดขาว เล็บเปราะ ระบบหายใจ พบอาการไอ
เลือดกำเดาไหล เจ็บคอ หากรับประทานเข้าไปทำให้เกิดพังผืดที่ปอด การหายใจล้มเหลว

สารเคมีกำจัดหนู เช่น ซิงค์ฟอสไฟต์ มีความเป็นพิษมาก เมื่อถูกน้ำและกรดในกระเพาะอาหารเกิดปฏิกิริยาได้ก๊าซพิษฟอสฟีน ทำลายเซลล์กระเพาะ
อาหาร ตับ ไต การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้มีน้ำคั่งในปอด ปวดศีรษะ หายใจขัด ความดันโลหิตสูง อาจทำให้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง

สารไธโอคาร์บาเมต เป็นสารกลุ่มรักษาโรคพืช ลักษณะอาการเกิดขึ้นมีลักษณะเหมือนไพรีทรอยด์ ทางเดินหายใจพบอาการ คอแห้ง แสบจมูก ไอ
ตาพบอาการเคืองตา ตาแดง ผิวหนัง พบอาการคันผิวหนัง มีจุดขาวที่ผิวหนัง ผื่นแดง

ความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด

สารกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด ที่กรมควบคุมโรคเห็นความสําคัญเป็นสารในกลุ่มเดียวกับวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวังซึ่งสารกําจัด
ศัตรูพืชกลุ่มนี้เป็นสารที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังในการใช้เนื่องจากเป็นสารที่มีปริมาณการใช้มาก มีความเป็นพิษสูง หรือมีการตกค้างระยะยาวในสิ่งแวดล้อม
สารทั้ง12 ชนิดนี้ ประกอบด้วย

อัลดิคาร์บ (Aldicarb)
บลาสติซิดิน เอส ( Blasticidin-S)
คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)
อีพีเอ็น (EPN)
อีโธโปรฟอส (Ethoprofos)
โฟมีทาเนต (Formethanate)
เมทิดาไธออน (Methidathion)
เมโทมิล (Methomyl)
อ๊อกซามิล (Oxamyl)
เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan)
พาราไธออนเมทธิล(Parathion Methyl)
การจัดระดับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้ค่า ปริมาณสารเคมีต่อน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองที่รับเข้าไปครั้งเดียวแล้วทำให้ตายไป 50%
(LD50) และมีหลายหน่วยงานได้จัดระดับความเป็นอันตรายของสารเคมีทางการเกษตร เพื่อแยกระดับความรุนแรงของสารเคมีแต่ละชนิด โดยให้สัญลักษณ์
ของอันตรายแต่ละระดับ

อ่านต่อทั้งหมดที่ http://www.farmkaset..link..
การเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรค หลังการเก็บเกี่ยว ที่เกี่ยวข้องกับการ เปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง
การเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรค หลังการเก็บเกี่ยว ที่เกี่ยวข้องกับการ เปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง
โดย …ผศ.ดร.เนตรนภิส เขียวขำ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในการเกิดโรคพืชมีกระบวนการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องบางอย่างที่มีส่วนในการทำให้เกิดโรค ปัจจัยเหล่านี้จะขาดปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดไม่ได้ กล่าวคือ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปหรือมีไม่ครบถ้วน ลักษณะอาการของโรคพืชก็จะไม่แสดงให้เห็นหรือพืชไม่เป็นโรค ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย เชื้อสาเหตุของโรค พืชอาศัย สภาพแวดล้อม และระยะเวลาในการเข้าทำลาย (สืบศักดิ์_ 2554) การเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวหลายชนิด จะเริ่มจากอาศัยอยู่กับผลิตผลแบบแฝง (quiescent) ในระยะที่ผลเจริญเติบโตโดยไม่แสดงอาการให้เห็น เมื่อผลเข้าสู่ระยะสุกแก่และเสื่อมสภาพ เชื้อราสาเหตุโรคก็จะเข้าทำลายทำให้เกิดอาการของโรค เนื่องจากในระยะผลยังอ่อน พืชจะสร้างกลไกการป้องกันตัวเพื่อจำกัดการเจริญของเชื้อรา ต่อมาเมื่อผลสุกแก่กลไกการป้องกันตัวมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เชื้อราสามารถเจริญได้ โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่างในผลิตผลต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืช ค่าความเป็นกรดด่างของผลิตผลที่เพิ่มหรือลดลง ส่งผลต่อการกลไกการป้องกันตัวของพืช ทำให้เชื้อราสาเหตุโรคถูกกระตุ้นให้มีการปลดปล่อยเอนไซม์ย่อยเนื้อเยื่อพืชอาศัย จึงก่อให้เกิดโรคได้ ความเป็นด่างจะเกิดจากปฏิกิริยาการผลิตแอมโมเนีย (ammonification) ในเนื้อเยื่อพืชที่มีการเข้าทำลายของเชื้อรา เช่น Colletotrichum และ Alternaria ส่วนความเป็นกรดเกิดจากปฏิกิริยาการสร้างกรด (acidification) ที่เป็นพวกกรดอินทรีย์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อพืชที่มีการเข้าทำลายของเชื้อรา เช่น Penicillium Botrytis และ Sclerotinia (Pursky et al._ 2010)

เชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวจะมีช่องทางการเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชอาศัยได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การเข้าทำลายทางบาดแผลที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น แมลงหรือสัตว์ และบาดแผลที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เครื่องมือการเกษตร การกระแทก รอยแยกจากการพัฒนาของผล ในระหว่างการเจริญและการเก็บรักษา 2) การเข้าทางรอยเปิดตามธรรมชาติของพืชอาศัย เช่นเลนติเซล ขั้วผล ก้านผล และ 3) การเข้าโดยตรงที่บริเวณรอยแตกของชั้นคิวติเคิลในระยะที่มีการพัฒนาของผล

การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสิ่งแวดล้อมหรือพืชอาศัย มีผลต่อการเกิดโรคจากเชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยว การเปลี่ยนแปลงค่า pH ทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดปริมาณเชื้อราได้ซึ่งอธิบายได้จากการที่เชื้อรามีทั้งประเภทที่เป็นเชื้อราที่เจริญในสภาพด่าง (alkalizing fungi) และเชื้อราที่เจริญในสภาพกรด (acidifying fungi) ค่า pH ของพืชอาศัยที่เหมาะสมจะมีผลต่อการสร้างเอนไซม์ของเชื้อรา การเปลี่ยนแปลง pH ของพืชอาศัยมีความสำคัญในการกระตุ้นให้เชื้อราที่เข้าทำลายแบบแฝงสามารถเจริญและพัฒนาก่อโรคในพืชได้ เชื้อราที่เจริญในสภาพด่างเช่น ผลอะโวคาโดในระยะสุกแก่และเสื่อมสภาพ จะมีค่า pH เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก 5.2 เป็น 6 ในระยะที่เข้าสู่การสุกแก่ (Yakoby et al._ 2000) ในระหว่างเชื้อราสาเหตุโรคเพิ่มปริมาณในพืชอาศัยจะเกิดมีปฏิกิริยาการผลิตแอมโมเนียขึ้น เช่นเชื้อรา Colletotrichum และ Alternaria จะสร้างแอมโมเนียออกมา ในชั้น pericarp ของผลอะโวกาโดซึ่งมี pH 5.2 ทำให้ pH เพิ่มขึ้นเป็น 7.5-8 เช่นเดียวกับผลมะเขือเทศจะมี pH 4.1-4.5 เมื่อเชื้อรา C. gloeosporioides เข้าทำลาย บริเวณบาดแผลที่เน่าเสียมี pH เพิ่มขึ้นเป็น 8 และมีการสะสมแอมโมเนียเป็น 3.6 มิลลิโมลาร์ เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อพืชปกติที่มีแอมโมเนีย 0.2 มิลลิโมลาร์ (Alkan et al._ 2008; Prusky et al._ 2001) เช่นเดียวกับ พริกหยวก แตงเมล่อน เชอร์รี่ และพลับ (Eshel et al._ 2002) ที่พบการเข้าทำลายของเชื้อรา A. alternata จะมีความเข้มข้นแอมโมเนียเพิ่มขึ้น 3-10 เท่า และส่งผลให้ pH เพิ่มขึ้นจาก 0.2 เป็น 2.4 การสร้างแอมโมเนียนั้น เกิดจากกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยโปรตีนและการย่อยกรดอะมิโน (Prusky and Yakoby_ 2003) เมื่อผลไม้ที่มีความเป็นกรดถูกเชื้อราเข้าทำลาย เชื้อราจะสร้างแอมโมเนียออกมาเกิดสภาพด่างทำให้เชื้อรามีความรุนแรงในการก่อโรค การสะสมแอมโมเนียเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเข้าทำลายของเชื้อรา Colletotrichum และทำให้เกิดการพัฒนาของโรคในผลิตผลสุก และพบการสร้างเอนไซม์ arsenal (Prusky and Yakoby_ 2003) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างจากเชื้อสาเหตุโรคมีหน้าที่ย่อยสลายผนังเซลของพืช นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการแสดงออกของ endoglucanase ยีน AaK1 ที่เกิดจากเชื้อรา Alternaria alternata จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีค่า pH มากกว่า 6 ในเนื้อเยื่อพืชที่มีการเน่าเสีย ซึ่ง endoglucanase เป็นเอนไซม์สร้างจากเชื้อรา แบคทีเรีย และโปโตรซัว มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการย่อยสลาย cellulose ในผนังเซล ยีน AaK1 จะไม่แสดงออกเมื่ออยู่ในสภาวะ pH ต่ำ ทำให้อยู่ในสภาวะการเข้าทำลายแบบแฝง (Eshel et al._ 2002) เชื้อรา Colletotrichum มียีน pelB ที่จะแสดงออกเมื่อค่า pH มากกว่า 5.7 (Yakoby et al._ 2001)

ส่วนเชื้อราที่เจริญในสภาพกรด ได้แก่เชื้อรา Pencillium expansum P. digitatum P. italicum B. cinerea และ Sclerotium sclerotiorum จะปลดปล่อยกรดอินทรีย์ทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในเนื้อเยื่อ เชื้อรา Pencillium spp. สร้างกรดเมื่อเข้าทำลายแอปเปิ้ลและส้ม ทำให้ผลแอปเปิ้ลมีค่า pH ลดลง จากปกติเนื้อเยื่อ mesocarb มีค่า pH ระหว่าง 3.95-4.31 ลดลงเป็น 3.64-3.88 ในเนื้อเยื่อพืชที่ถูกทำลาย (ตารางที่ 1) (Prusky et al._ 2010) เชื้อรา S. sclerotiorum ในระหว่างเข้าทำลายพืชจะสร้างกรด oxalic ทำให้ค่า pH ของพืชลดต่ำลงเหลือเพียง pH 4 (Rollins and Dickman_ 2011) ซึ่งการเกิดกรด oxalic เป็นสิ่งบ่งบอกว่ามีการเข้าทำลายของเชื้อในระหว่างการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรียจะสร้างกรด oxalic ขึ้นเพื่อออกซิไดส์คาร์โบไฮเดรตของพืช ส่วนเชื้อรา Pencillium spp. และ Aspergillus สร้างกรด citric และ gluconic สะสมในเนื้อเยื่อพืช ซึ่งทำให้ค่า pH ลดลง 0.5-1 หน่วย และเกิดการกำจัดแอมโมเนียออกจากเนื้อเยื่อพืชทำให้ค่า pH ลดต่ำลง (Prusky and Yakoby_ 2003; Ruijter et al._ 1999)

เชื้อรา P. expansum เป็นเชื้อสาเหตุโรคผลเน่าในแอปเปิ้ล สร้างกรด gluconic สะสมในเนื้อเยื่อพืช ตรวจพบการแสดงออกของยีน gox2 สูง ซึ่งเป็นยีนที่มีหน้าที่ออกซิไดซ์กลูโคสและปลดปล่อยกรด gluconic (Hadas et al._ 2007) การสะสมกรด gluconic และ oxalic เกิดขึ้นเมื่อพืชถูกเชื้อราเข้าทำลายซึ่งการเปลี่ยนแปลงของค่า pH เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของยีน pac 1 (phosphatase of activated cells 1) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางใน zinc finger transcription factor การเกิดกรด oxalic ยังเกิดขึ้นจากกิจกรรมเอนไซม์ oxaloacetase ที่สลาย oxaloacetate (Rollins and Dickman_ 2001) การเปลี่ยนแปลงของค่า pH ในสิ่งแวดล้อมหรือผลิตผลเป็นปัจจัยที่เชื้อสาเหตุโรคเลือกเข้าทำลายที่มีความเฉพาะเจาะจงในพืชอาศัยแต่ละชนิด ในงานวิจัยที่กล่าวข้างต้นพบว่ายีนของเชื้อราจะถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงค่า pH ซึ่งยีนหลายชนิดทำให้เกิดการสร้างเอนไซม์ที่มาย่อยผนังเซลของพืช เชื้อรา P. expansum จะสร้างกรด gluconic และ citric ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน มีการทดลองเพิ่มความเป็นกรด pH 3-5 ในอาหารเลี้ยงเชื้อรา P. expansum ตรวจพบว่ามีการเพิ่มของยีน pepg1 (endopolygalacturanase gene) และในบริเวณเป็นด่างจากการเติม NaHCO3 พบการเจริญของเชื้อราลดลง (Prusky and Yakoby_ 2003)

สิ่งที่มีผลให้การเข้าทำลายแบบแฝงพัฒนาให้เกิดการก่อโรค โดยการเปลี่ยนสถานะจากการอยู่ร่วมกัน (biotrophism) เป็นการก่อโรคหรือการย่อยสลาย (necrotropic-saprophytic stage) มีปัจจัยที่ทำให้เกิดกลไกดังกล่าวภายในเซลที่มีผลมาจากชนิดและปริมาณแร่ธาตุต่างๆ และค่า pH ที่เหมาะสม สารที่ถูกปลดปล่อยออกมา เช่น กรดอินทรีย์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการก่อโรคและทำให้เกิดความรุนแรงของโรคตามมาโดยมีการทำงานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การเกิดสาร oxalate ซึ่งจะเป็นพิษโดยตรงต่อพืชอาศัยหรือทำให้พืชอ่อนแอ 2) อาจมีการชะล้างแคลเซียมที่ผนังเซลเนื่องมาจากกรด oxalic และ gluconic ทำให้ผนังเซลอ่อนนิ่ม (Hadas et al._ 2007) และ 3)สาร oxalate ไปยับยั้งการสร้าง Reactive oxygen species (ROS) ของพืช และขัดขวางกลไกการป้องกันตัวเองของพืช (Kim et al._ 2008) การสร้างแอมโมเนียมีผลทั้งทางกายภาพและชีวเคมีต่อทั้งพืชและเชื้อสาเหตุโรค เนื้อเยื่อพืชปกติจะมีอิเล็กตรอนและโปรตรอนระหว่าง plasma membrane ซึ่งมีความสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนไอออน การเคลื่อนที่ของของเหลว และการเจริญของผนังเซล ความเป็นพิษของแอมโมเนียจะทำให้พืชมีการสังเคราะห์เอทิลีนและมีการเปลี่ยนแปลงของการผ่านเข้าออกของสารในเซลเมมเบรน และส่งผลให้พืชมีการสะสมของ ROS เนื่องจากกลไกของ NADPH oxidase ทำให้เกิดบริเวณเนื้อเยื่อตาย (cell death) บนผลมะเขือเทศซึ่งส่งผลดีทำให้เป็นบริเวณจำกัดไม่ให้เส้นใยเจริญต่อไปได้ (Alkan et al._ 2009)

ความซับซ้อนของการเข้าทำลายแบบแฝงเกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และชีวเคมีของพืชอาศัยในระหว่างการสุกและการเสื่อมสภาพอันนำไปสู่การอ่อนแอต่อโรค ประกอบกับเชื้อที่เข้าทำลายแบบแฝงมีความสามารถต้านทานสารยับยั้งเชื้อราในพืชอาศัยที่มีลดลงเมื่อเข้าสู่ระยะสุกแก่ได้ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อาทิเช่น ค่า pH ในเนื้อเยื่อพืชอาศัย ปริมาณน้ำตาล องค์ประกอบของผนังเซล หรือบาดแผล เหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เชื้อราเจริญได้ ความเป็นกรดในเนื้อเยื่อพืชจากกรดอินทรีย์ (oxalic และ gluconic) หรือความเป็นด่างจากการสร้างแอมโมเนีย อาจมีส่วนทำให้เนื้อเยื่อเน่าเสียอย่างรวดเร็วได้ รวมทั้งผลของการแสดงออกของยีนและการปลดปล่อยเอ็นไซม์พวกที่ย่อยผนังเซล การหาคำตอบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ส่งสัญญาณต่างๆ เช่น pH ไนโตรเจน และน้ำตาล ที่มีผลต่อการก่อโรคหลังการเก็บเกี่ยวในระยะที่ผลิตผลสุกแก่ยังคงต้องหาคำตอบต่อไป แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันเราทราบแล้วว่าค่า pH ของพืชอาศัยมีผลต่อการพัฒนาของเชื้อสาเหตุโรคอันจะนำไปสู่การควบคุมโรคในการศึกษาต่อไปในอนาคต (Prusky et al._ 2006)

แนวทางในการแก้ปัญหาโรคหลังการเก็บเกี่ยวด้วยการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง จากงานวิจัยที่ผ่านมามีการใช้กรดร่วมกับกรรมวิธีการอื่นๆ ในการจัดการโรคหลังการเก็บเกี่ยว เช่นการใช้น้ำส้ม (กรดอะซิติก) ความเข้มข้นร้อยละ 1-3 ในน้ำ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส สามารถลดการเจริญของสปอร์ของเชื้อรา Penicillium expansum สาเหตุโรคผลเน่าของแอปเปิ้ล โดยทดลองแช่ผลแอปเปิ้ล พันธุ์ Red Delicious ในกรดน้ำส้มที่อุณหภูมิดังกล่าว ความเข้มข้นร้อยละ 3 นาน 2 นาที สามารถลดอาการผลเน่าได้ (Radi et al._ 2010) Venditti et al. (2009) ทดลองรมผลส้มแมนดารินด้วยไอของกรดน้ำส้มความเข้มข้น 75 ไมโครลิตรต่อลิตร นาน 15 นาที ที่อุณหภูมิ 36 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 95 พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อรา Penicillium digitatum ที่ปลูกเชื้อบนผลส้มแมนดารินเก็บเกี่ยวใหม่ 2 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์ Fremont และ Fairchild โดยพบการเน่าเสียเพียงร้อยละ 8.3 และ 2.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการทดลองพ่นกรดมะนาว (กรดซิตริก) ความเข้มข้น 1_000-2_000 ไมโครลิตรต่อลิตร เป็นเวลา 30 นาที มีผลในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวผลสตรอเบอรี่ (Vardar et al._ 2012)

** บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน Postharvest Newsletter ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2562

เอกสารอ้างอิง
สืบศักดิ์ สนธิรัตน์. 2554. การจัดการโรคพืช. ภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หจก. เกษมศรี ซี.พี. กรุงเทพฯ. 128 หน้า.
ศศิวิมล ลักษณพิสุทธิ์. 2553. การควบคุมโรคผลเน่าราสีเขียว ที่เกิดจากเชื้อรา Penicillium digitatum Sacc. บนผลส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง ด้วยสารสกัดจากขมิ้นชัน (Turmeric ; Curcuma longa Linn.). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.บัณฑิตวิทยาลัย_ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 133 หน้า.
Alkan_ N_ R. Fluher_ A. Sherman and D. Prusky. 2008. Role of ammonia secretion and pH modulation on pathogenicity of Colletotrichum coccodes on tomato fruit. Mol Plant Microbe Interact 21:1058-1066.
Alkan_ N._ R. Fluhr_ M. Sagi_ O. Davydov and D. Prusky. 2009. Ammonia secreted by Colletotrichum coccodes effects host NADPH oxidase activity enhancing cell death and pathogenicity in tomato fruits. Molecular Plant-Microbe Interactions 22: In press
Eshel_ D._ I. Miyara_ T. Ailinng_ A. Dinoor and D. Prusky. 2002. pH regulates endoglucanase expression and virulence of Alternaria alternata in persimmon fruits. Mol Plant Microbe Interaction 15:744-779.
Hadas_ Y._ I. Goldberg_ O. Pines and D. Prusky. 2007. The relationship between expression of glucose oxidase_ gluconic accumulation_ acidification of host tissue and the pathogenicity of Pencillium expansum. Phytopathology 97:384-390.
Kim_ K.S._ J.Y. Min and M.B. Dickman. 2008. Oxalic acid is an elicitor of plant programmed cell death during Sclerotinia sclerotiorum disease development. Mol Plant Microbe Interact 21:605-612.
Prusky_ D. and N. Yakoby. 2003. Pathogenic fungi: leading or led by ambient pH? Mol Plant Pathol 4: 509-516.
Prusky_ D._ J.L. McEvoy_ B. Leverentz and W.S. Conway. 2001. Local modulation of host pH by Colletotrichum species as a mechanism to increase virulence. Mol Plant Microbe Interact 14:1105-1113.
Prusky_ D._ I. Kobiler_ M. Aderman and I. Miyara. 2006. Effect of acidic solutions and acid Prochloraz on the control of postharvest decays caused by Alternaria alternata in mango and persimmon fruit. Postharvest Biol Technol 42:134-141.
Prusky_ D._ N. Alkan_ I. Miyara_ S. Barad_ M. Davidzon_ I. Kobiler_ S. Brown-Horowitz_ A. Lichter_ A. Sherman and R. Fluhr. 2010. Mechanisms modulation postharvest pathogen colonization of decaying fruits. In D. Prusky and M.L. Gullino. Post-harvest pathology. Springer. pp.43-56.
Radi_ M._ H.A. Jouybari_ G. Mesbahi_ A. Farahnaky and S. Amiri. 2010. Effect of hot acetic acid solutions on postharvest decay caused by Penicillium expansum on Red Delicious apples. Scientia Horticulturae 126: 421–425.
Rollins_ J.A. and M.B. Dickman. 2011. pH signaling in Sclerotinia sclerotiorum: identification of pacC/RIM1 homolog. Applied Environ Microbiol 67:75-81.
Ruijter_ G.J.G._ P.J. van de Vondervoort_ and J. Visser. 1999. Oxalic acid production by Aspergillus niger: an oxalate-non-producing mutant produces citric acid at pH 5 and in the presence of manganese. Microbiology 145:2569-2576.
Vardar_ C._ K. Ilhan and O.A. Karabulut. 2012. The application of various disinfectants by fogging for decreasing postharvest diseases of strawberry. Postharvest Biology and Technology 66: 30–34.
Venditti_ T._ A. Dore_ M.G. Molinu_ M. Agabbio and G. D’hallewina. 2009. Combined effect of curing followed by acetic acid vapour treatments improves postharvest control of Penicillium digitatum on mandarins. Postharvest Biology and Technology 54: 111–114.
Yakoby_ N._ I. Kobler_ A. Dinoor and D. Prusky. 2000. pH regulation of pectate lyase secretion modulates the attack of Colletotrichum gloeosporioides on avocado fruits. Appl Environ Microbiol 66:1026-1030.
Yakoby_ N._ D. Beno-Moualem_ N.T. Keen_ A. Dinoor_ O. Pines_ and D. Prusky. 2001. Colletotrichum gloeosporioides pelB_ is an important factor in avocado fruit infection._ Mol Plant Microbe Interact 14: 988-995.

ที่มา http://www.farmkaset..link..
การประกอบโรคของพืช
การประกอบโรคของพืช
ส่วนประกอบของโรคเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจะการเกิดโรคจะไม่สมบูรณ์หรือไม่อาจเกิดโรคได้เลย

ส่วนประกอบของโรคเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ สามเหลี่ยมโรคพืช(Disease triangle) ได้แก่

1. พืชอาศัย(Host) ต้องมีพืชอาศัยที่เป็นโรคง่าย
2. เชื้อสาเหตุ(Pathogen) ต้องเป็นเชื้อสาเหตุที่รุนแรง
3. สภาพแวดล้อม(Environment) ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
4. เวลา(Time) ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ได้แก่ ระยะเวลาที่พืชอาศัยและเชื้อโรคสัมผัสกัน ระยะเวลาที่ใบเปีย

ในขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมต่อ การเกิดโรค ระยะเวลาที่เหมาะสม ต่อการแพร่กระจายของสปอร์ การงอกของสปอร์ การติดเชื้อ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ไบโอเทค สวทช. พัฒนา แบคทีรีโอฟาจ ทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อโรคพืชในดิน
ไบโอเทค สวทช. พัฒนา แบคทีรีโอฟาจ ทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อโรคพืชในดิน
ไบโอเทค พัฒนา แบคทีรีโอฟาจ หรือ ฟาจ (phage) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีประสิทธิภาพในการเข้าทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อให้เกิดโรคในพืช เพื่อใช้เป็นสารชีวภัณฑ์ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช ทดแทนการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

โรคเหี่ยวเขียวหรือโรคเหี่ยว (bacterial wilt disease) มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ราลสโตเนีย โซลานาซีเอรัม (Ralstonia solanacearum) จัดเป็นเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดโรคเหี่ยวกับพืชมากกว่า 200 ชนิด โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น มะเขือเทศ มะเขือ มันฝรั่ง พริก พริกไทย กล้วย ขิง ถั่วลิสง และยาสูบ เป็นต้น โดยจากสถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โรคเหี่ยวเขียวสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 35_000 ล้านบาททั่วโลก สำหรับในประเทศไทยพบว่าโรคเหี่ยวเขียวสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตมะเขือเทศและพริกคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 540 ล้านบาทต่อปี เชื้อแบคทีเรียราลสโตเนีย โซลานาซีเอรัม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสามารถอาศัยอยู่ในดิน

โดยจะเข้าทำลายพืชทางราก ตามรอยแผลที่เกิดจากการทำลายของแมลง ไส้เดือนฝอย รอยฉีกขาดของราก หรือแผลที่เกิดในธรรมชาติ และสามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำได้ดีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกจะมีการระบาดของโรครุนแรงและรวดเร็ว รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถติดไปกับหัวพันธุ์โดยแอบแฝงอยู่ในหัวพันธุ์และอยู่ข้ามฤดูได้ การป้องกันกำจัดทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเชื้อสามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ทั้งยังมีพืชอาศัยกว้าง และมีความหลากหลายของสายพันธุ์ ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันกำจัด ทำให้เชื้อแบคทีเรียนี้ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในแหล่งปลูกมะเขือเทศและพริกทั่วประเทศ นับได้ว่าส่งผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างมาก

อุดม แซ่อึ่ง นักวิจัย ทีมวิจัยการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้สารชีวโมเลกุล ไบโอเทค ให้ข้อมูลว่า การป้องกันและควบคุมโรคเหี่ยวในปัจจุบันทำได้โดยการทำเขตกรรม เช่น การไถดินและผึ่งดินให้แห้งก่อนการปลูก การปรับสภาพดินด้วยปูนขาว การกำจัดต้นพืชที่แสดงอาการ เป็นต้น ซึ่งการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากสารเคมีไม่สามารถเข้าถึงเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินได้ ดังนั้นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและควบคุมโรคเหี่ยวได้ดี คือการใช้แบคทีรีโอฟาจ (bacteriophage) ซึ่งสามารถเข้าทำลายและย่อยสลาย (lysis) แบคทีเรียก่อโรคพืชได้โดยตรง นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพสูง ในการป้องกันและควบคุมโรคพืชหลากหลายชนิดรวมทั้งโรคเหี่ยวด้วย

อุดม ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาร่วมกับ อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ และทีมวิจัยไวรัสพืชและแบคทีรีโอฟาจ ไบโอเทค พบว่า คุณสมบัติที่สำคัญของแบคทีรีโอฟาจ ซึ่งเหมาะกับการนำมาใช้ควบคุมแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในพืช คือ แบคทีรีโอฟาจ มีความเฉพาะเจาะจงกับแบคทีเรียแต่ละชนิด (specificity) โดยแบคทีรีโอฟาจจะไม่ทำลายแบคทีเรียที่ไม่ใช่เป้าหมาย ซึ่งหมายความว่า แบคทีรีโอฟาจที่พัฒนาขึ้นนี้จะไม่ทำลายแบคทีเรียชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ที่อยู่ตามธรรมชาติ และแบคทีรีโอฟาจจะหยุดเพิ่มจำนวนทันที เมื่อเชื้อแบคทีเรียเป้าหมายหมดไป แบคทีรีโอฟาจไม่เป็นพิษต่อพืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางเลือกสำหรับการเกษตรแบบยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม การใช้แบคทีรีโอฟาจยังคงมีอุปสรรคและปัญหาสำคัญ คือ ความคงทนของแบคทีรีโอฟาจ (phage stability) เมื่อฟาจต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกในสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง สภาพเกลือในดิน เป็นต้น โครงสร้างของแบคทีรีโอฟาจอันประกอบด้วยโปรตีนและดีเอ็นเอ จึงแตกสลายได้ง่าย (degradation) จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาความคงทนของแบคทีรีโอฟาจ โดยใช้งานวิจัยและเทคโนโลยีทั้งทางชีววิทยา เคมีและฟิสิกส์ อาทิ การศึกษาโครงสร้างของแบคทีรีโอฟาจในสภาวะต่างๆ การศึกษาความแข็งแรงเชิงโครงสร้างของแบคทีรีโอฟาจ

การศึกษากลไกการเข้าทำลายเชื้อแบคทีเรียของแบคทีรีโอฟาจ เป็นต้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านความคงทนของแบคทีรีโอฟาจ และปัจจัยต่างๆ ที่มีผล โดยองค์ความรู้นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาความคงทนของแบคทีรีโอฟาจให้สูงขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการเก็บรักษาแบคทีรีโอฟาจ (storage) เช่น สูตรการเก็บรักษา (storage formulation) และการนำแบคทีรีโอฟาจไปใช้งานจริงในพื้นที่เกษตรกรรม (field utilization) ต่อไปในอนาคต

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคราดำ (Black mildew)
โรคราดำ (Black mildew)
สาเหตุ -เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Capnodium sp._ Meliola sp.

สาเหตุหลักมาจาก
เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง โดยแมลงจะดูดน้้าเลี้ยงและถ่ายสารคล้ายน้้าหวานออกมาตามใบ ช่อดอก ท้าให้ราด้าขึ้นปกคลุม

ลักษณะอาการ
-ลักษณะเหมือนเขม่าหรือฝุ่นสีด้า
-ขึ้นปกคลุมใบเป็นแผ่นสีด้า ลักษณะคล้ายดาวเป็นแฉกๆ
-เกิดทั้งบนใบ กิ่ง ยอด ช่อดอก และผลอ่อน
-หากราด้าขึ้นปกคลุมดอก จะไม่สามารถผสมเกสรได้
-เมื่อแห้งอาจจะร่วงหลุดเป็นแผ่น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ปัจจุบันปัญหาด้านเศรษฐกิจนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที เนื่องจากจำนวนประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เนื้อที่ทำการเกษตรมีจำกัด หรืออาจน้อยลง เพราะส่วนหนึ่งต้องนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เนื้อที่ทางด้านการเกษตรที่มีอยู่ ในการเพาะปลูกพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ลดผลผลิตของพืช คือ ปัญหาศัตรูพืช ซึ่งหมายถึง โรคพืชและแมลง แมลงและสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคกับพืช เป็นสิ่งมีชีวิต ได้พยายามปรับตัว เพื่อต่อสู้วิธีการป้องกัน และกำจัดของมนุษย์ตลอดมา เพื่อความอยู่รอด การศึกษาด้านศัตรูพืชจึงต้องกระทำติดต่อตลอดไป เพื่อให้เข้าใจถึงวัฎจักรการเข้าทำลายพืชของแมลงและโรค และใช้วิธีที่เหมาะสมในการป้องกัน และกำจัด เพื่อแก้ปัญหาศัตรูพืชเหล่านี้ให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะด้านโรคพืช ถ้าจะมีใครสักคนถามว่า ความหมายของโรคพืชคืออะไร คงจะให้คำจำกัดความที่แน่นอนลงไปได้ยาก แต่ก็พอจะสรุปว่า เมื่อพืชแสดงอาการผิดปกติไปจากเดิม มีผลทำให้เกิดการสูญเสีย ในแง่การเจริญเติบโต และผลผลิตลดลง ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือยาวก็ตาม ก็ถือว่า พืชเป็นโรคทั้งสิ้น ดังจะได้กล่าวถึง ในรายละเอียดของอาการที่ผิดปกติต่อไป

อาการใบเหลืองซีดของอ้อย เกิดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะหนึ่งของการขาดธาตุอาหาร อาการใบเหลืองซีดของอ้อย เกิดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะหนึ่ง ของการขาดธาตุอาหาร
ความเสียหายที่เกิดจากโรคพืช ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ ๓ ประการ คือ ความอ่อนแอของพืชต่อการเกิดโรค ความรุนแรงของเชื้อโรค และสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ การเกิดโรค เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสภาพ ความเป็นกรด และด่างของดิน ฯลฯ ในกรณีที่พืชอ่อนแอต่อโรคมาก เชื้อโรคมีความรุนแรงมากและสภาพแวดล้อมเหมาะสม ความเสียหาย จะเกิดขึ้นรุนแรง ในอดีต โรคไหม้ (blight) ของมันฝรั่งเคย ระบาดรุนแรง ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งในประเทศไอร์แลนด์ลดต่ำลง จนไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคของประชาชน ทำให้ประชาชนอดอาหาร ล้มตายเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทย โรคพืชชนิดต่างๆ เช่น โรคใบสีส้มของข้าว โรคราน้ำค้างของ ข้าวโพด โรครากเน่าของทุเรียน ทำให้ผลผลิตของพืชลดลง คิดเป็นมูลค่าปีละหลายพันล้านบาท

โรคพืช แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต

สิ่งไม่มีชีวิตที่สามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติแก่พืชได้แก่

๑.๑ ปุ๋ย

พืชที่ขาดธาตุอาหาร หรือได้รับธาตุอาหารมากเกินไป หรือภาษาทางการเกษตร ที่เรามักจะคุ้นเคยเรียกว่า พืชขาดปุ๋ย หรือได้รับปุ๋ยมากเกินไป ปกติธาตุอาหารเหล่านี้ มักมีอยู่ในดิน เพียงพอต่อความต้องการของพืช แต่บางกรณี สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ไม่เหมาะสม ทำให้ธาตุอาหารต่างๆ เหล่านี้ เปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดนำมาใช้ได้ หรือบางครั้ง เราปลูกพืชซ้ำที่เดิมเป็นเวลานาน โดยไม่มีการปรับดินให้ปุ๋ย จึงทำให้ดินบริเวณนั้นขาดแคลนธาตุอาหาร และพืชแสดงอาการเป็นโรคขาดธาตุอาหารให้เห็น อาการที่เกิดจากธาตุอาหารนี้ ส่วนใหญ่สังเกตได้ที่ใบอ่อน และใบแก่ โดยจะมีอาการเปลี่ยนสี ใบมีขนาดเล็กลง ม้วนขึ้น หรืองดลง ตลอดจนการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตผิดปกติ ตัวอย่างกรณีให้ปุ๋ยมากเกินไป อาจทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาตาย หรือใบงามจนเกินไป และไม่ออกรวง เช่น ข้าวเป็นโรคเฝือใบ เนื่องจากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป หรือกล้วยไม้ พวกหวายมาดามตัดดอก มีการบำรุง และเร่งการออกดอก ด้วยปุ๋ยสูตรชนิดต่างๆ โดยมิให้ต้นไม้มีการพักตัว ปรากฏว่า ดอกมาดามที่ตัดจากต้นเหล่านี้มีคุณภาพเลวลง โดยมีระยะการบานไม่ทน เหี่ยวเฉา และหลุดร่วงง่าย ทำให้เสียมาตรฐานคุณภาพไม้ตัดดอก และนำมาซึ่งปัญหาการตลาดระหว่างประเทศต่อไป
อาการก้นเน่าของมะเขือเทศ เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม
อาการก้นเน่าของมะเขือเทศ
เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ส่วนอาการพืช เนื่องจากขาดธาตุอาหาร พบได้บ่อยครั้ง เช่น โรคอ้อยขาดธาตุเหล็ก ทำให้เกิดอาหารใบเหลืองซีด ส้มที่ขาดธาตุสังกะสี หรือที่เรียกว่า ใบแก้วของส้ม ใบที่ยอดอ่อนจะเรียวเล็ก และชี้ขึ้น หรือโรคก้นเน่าของมะเขือเทศ ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม เป็นต้น
๑.๒ ดินที่มีสภาพความเป็นกรด เป็นด่างมากเกินไป

โดยปกติสภาพความเป็นกรดด่างของดิน มิใช่ตัวควบคุมการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่มีผลทางอ้อมต่อพืช ในการนำธาตุอาหารในดินมาใช้ หรือในแง่การเจริญเติบโต และอยู่ร่วมกันของเชื้อจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจะมีผลช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตดี หรือผิดปกติไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและพืชแต่ละชนิด เรามักได้ยินคำว่า ดินเปรี้ยว ทำให้พืชมีขนาดเล็ก การเจริญเติบโตช้า อันเนื่องมาจากความเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ทำให้พืชไม่สามารถใช้ธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือมีการเสริมให้เชื้อโรคในดินบางชนิดระบาดรุนแรงขึ้น เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ และพืชบางชนิด ซึ่งเกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium sp.) จะแสดงอาการโรครุนแรงมาก ในดินกรด หรือค่อนข้างไปทางกรด ในทางตรงกันข้าม เชื้อราเวอร์ติซิลเลียม (Verticillium sp.) ซึ่งทำให้เกิดอาการเหี่ยวของมะเขือเทศเช่นเดียวกัน จะทำให้เป็นโรครุนแรงในสภาพดินด่าง เป็นต้น
อาการเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
อาการเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
๑.๓ วิธีการทางเขตกรรม

วิธีการนี้มีหลายกรณี เนื่องจากการเพาะปลูก จำเป็นต้องมีการเตรียมดินฆ่าเชื้อในแปลงปลูกที่เคยเป็นโรคมาก่อน หรืออุปกรณ์ในการเพาะกล้า และย้ายปลูก บางครั้งฤทธิ์ตกค้างของสารเคมีบางชนิดยังคงอยู่ และทำให้เกิดอาการผิดปกติกับพืชได้ การกำจัดวัชพืช หรือการใช้ปุ๋ยซึ่งมีวิธีต่างๆ กันอาจกระทบกระเทือนระบบราก และทำให้เกิดอาการเหี่ยวเฉา การยึดพืชกับเครื่องปลูก หรือสิ่งยึดเกาะ หากไม่แข็งแรงพอจะทำให้ระบบรากสั่นคลอน เนื่องจากกระแสลม หรือแรงกระทำอื่นๆ ทำให้รากไม่ยึดเกาะดิน หรือเครื่องปลูก อาจทำให้พืชเหี่ยวเฉา หรือถึงแห้งตายได้ มักจะเกิดกับกล้วยไม้ และการปลูกพวกกิ่งตอนต่างๆ
อาการใบไหม้ของส้มเกิดจากการใส่ปุ๋ยแล้วขาดการรดน้ำ
อาการใบไหม้ของส้มเกิดจากการใส่ปุ๋ย แล้วขาดการรดน้ำ
๑.๔ แสงแดดหรืออากาศที่ร้อนจัดเกินไป

มีพืชบางชนิด ที่ไม่สามารถทนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ เช่น พวกพืชอวบน้ำ ใบหนา เมื่อมีหยดน้ำเกาะติดบนใบพืชและถูกแสงอาทิตย์ส่องนานๆ จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นถูกทำลายเป็นเซลล์ตาย สีน้ำตาลหรือสีดำ และอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคอื่นๆ เช่น เชื้อรา เชื้อบัคเตรี ฯลฯ นอกจากนี้ในโรงเรือนที่อบ หรือการขนส่งจำนวนมากๆ ในสภาพอากาศร้อนจัด มักทำให้พืชได้รับการกระทบกระเทือนมีอาการตายนิ่ง สลัดใบทิ้ง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หรืออาจถึงแห้งตาย มักเกิดขึ้นกับพืชทุกชนิด
๑.๕ ความชื้นมากหรือน้อยเกินไป

ความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเจริญเติบโตของพืช แต่ถ้าความชื้นมากเกินไป ก็มักจะช่วยส่งเสริมการเกิดโรคได้มากขึ้น เช่น การบรรจุไม้ตัดดอกส่งต่างประเทศ จะต้องมีกรรมวิธีการบรรจุที่ถูกต้อง ช่อไม้ดอกจะต้องแห้งปราศจากหยดน้ำบริเวณกลีบดอก ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาดอกเน่า จากการเข้าทำลายของเชื้อบางชนิด ในขณะที่มีการขนส่งไปยังตลาดในระยะทางไกลๆ หรือหากปลูกพืชแช่อยู่ในดิน หรือบริเวณที่ปลูกที่น้ำขัง การระบายน้ำไม่ดี ก็มักจะทำให้ระบบรากเน่า หรือเชื้อโรคในดินเข้าทำลายระบบรากได้ง่าย แต่ถ้าความชื้นน้อยเกินไป ก็จะมีผลโดยตรงกับการเจริญของพืช ต้นพืชจะเหี่ยวเฉา และโตช้า อาการใบไหม้ของไม้ประดับเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากและอากาศร้อนจัด
อาการใบไหม้ของไม้ประดับเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากและอากาศร้อนจัด
๒. โรคที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิต

มีเชื้อโรคหลายชนิด ที่ทำให้พืชเป็นโรค เชื้อแต่ละชนิดมีคุณสมบัติการเข้าทำลายพืช และการแพร่ระบาดโรคแตกต่างกันไป จึงขอกล่าวถึงเชื้อแต่ละชนิดพอเป็นสังเขป ดังต่อไปนี้

๒.๑ เชื้อรา

เป็นเชื้อที่พบว่า ทำให้เกิดโรคแก่พืชมากที่สุด และทำให้เกิดอาการประเภทต่างๆ บนพืชมากที่สุดด้วย เช่น ใบเป็นแผลจุด ใบไหม้ ใบติด ใบเหี่ยว รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือแห้งตายทั้งต้น เชื้อราส่วนใหญ่มีการแพร่ระบาดโรคด้วยส่วนที่เรียกว่า สปอร์ (spore) โดยมี น้ำ ลม หรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวนำ หรืออาจติดไปกับส่วนของพืชและดินที่เป็นโรค เชื้อราบางชนิดพักตัวอยู่ในส่วนของพืชและดินเป็นเวลานานนับปี มีความสามารถในการเข้าทำลายพืชได้ทั้งทางแผล ช่องเปิดธรรมชาติ หรือเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชโดยตรงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อรา

อาการใบไหม้เป็นวงซ้อนของใบกล้วยไม้ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา อาการใบไหม้เป็นวงซ้อนของใบกล้วยไม้ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา
เชื้อราแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๔ กลุ่มด้วยกันคือ

๒.๑.๑ ไฟโคไมซิทิส (phycomycets) เรามักเรียก เชื้อราในกลุ่มนี้ว่า ราชั้นต่ำ หรือราน้ำ มีลักษณะที่สำคัญคือ เส้นเชื้อราไม่มีผนังเซลล์กั้นด้านขวาง เรียกว่า โคโนไซติก ไฮฟีหรืออะเซพเทต ไฮฟี (coenocytic hyphae หรือ aseptate hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่ใช้เพศโดยสร้างโซโอสปอร์ หรือสปอร์ที่มีหางในถุงหุ้มโซโอสปอร์ (zoosporangium) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน ให้สปอร์ผนังหนาผิวเรียบ เรียกว่า โอโอสปอร์ (oospore) หรืออาจเกิดจากการผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน แต่ต่างเพศกันให้สปอร์ผนังหนาขรุขระ เรียกว่า ไซโกสปอร์ (zygospore) สปอร์เหล่านี้จะแพร่ระบาดโดยลมพัดพาไป หรือว่ายน้ำไป เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น โรคราน้ำค้างของข้างโพด เกิดจากเชื้อสเคลอโรสปอรา ซอร์ไจ (Scherospora sorghi) โรคราน้ำค้างขององุ่น เกิดจากเชื้อพลาสโมพารา วิทิโคลา (Plasmopara viticola) โรครากเน่าของทุเรียนเกิดจากเชื้อไฟทอฟทอรา (Phytophthora sp.) เป็นต้น

อาการจุดสนิมของดอกกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการรุนแรงเมื่อมีความชื้นสูง เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา อาการจุดสนิมของดอกกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการรุนแรงเมื่อมีความชื้นสูง
๒.๑.๒ แอสโคไมซิทิส (ascomycets) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น (septate hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศ โดยสร้างสปอร์เรียกว่า โคนิเดีย (conidia) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน จะเกิดแอสโคสปอร์ (ascospore) ในถุงหุ้มสปอร์ (ascus) ถุงหุ้มสปอร์นี้อยู่ในกลุ่มเส้นใยซึ่งประสานตัวกัน มีผนังหนาสีดำ เรียกว่า ฟรุตติงบอดี (fruiting) คนโทปากเปิด (perithecium) และรูปถ้วยแชมเปญ (apothecium) ส่วนของฟรุตติงบอดีนี้ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อเกิดบนพืชเป็นโรคโดยจะเห็นเป็นจุดสีดำๆ เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญ เช่น โรคราแป้งขาวขององุ่น กุหลาบ เป็นต้น
กลุ่มเส้นใยของเชื้อราที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
กลุ่มเส้นใยของเชื้อรา
ที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ๒.๑.๓ เบสิดิโอไมซิทิส (basidiomycetes) เป็น เชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศโดยสร้าง สปอร์เรียกว่า โคนิเดีย และแบบมีเพศ โดยผสมระหว่างเส้นใยที่ มีลักษณะและเพศต่างกันเกิดสปอร์ เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) ซึ่งอาจเกิดอยู่ในฟรุตติงบอดี หรือเกาะติดอยู่บน เส้นใยที่มีรูปร่างคล้ายกระบอง เรียกว่า เบสิเดียม (Basidium) เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคพืชต่างๆ ที่สำคัญ เช่น โรคสนิม ของพืช โรคเขม่าดำของข้าวโพด เกิดจากเชื้อยูสติลาโก เมย์ดิส (ustilago maydis) โรคเขม่าดำหรือแส้ดำ ของอ้อย เกิดจากเชื้อ ยูสติลาโก ไซตามิเนีย (Ustilago scitaminea) เป็นต้น
๒.๑.๔ ฟังไจอิมเปอร์เฟกไท หรือ ดิวเทอโรไมซิทิส (fungi imperfecti of deuteromycetes) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น นิยมจัดให้เป็นเชื้อราในกลุ่มชั่วคราว เพราะปกติจะไม่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศ แต่เมื่อใดที่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศของเชื้อราในกลุ่มนี้ ก็จะจัดย้ายเชื้อรานี้เข้าอยู่ในพวกแอสโคไมซิทิส หรือ เบสิดิโอไมซิทิส (ตามลักษณะของสปอร์ที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบมีเพศ) ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศจะมีการสร้างสปอร์ที่เรียกว่า โคนิเดีย เกิดจากก้านสปอร์เรียกว่า โคนิดิโอฟอร์ (conidiophore) หรือบรรจุอยู่ในฟรุตติงบอดี ที่มีรูปร่างหลายแบบ คือ ทรงกลมปิด เรียก พิกนิเดีย (pycnidia) รูปจาน เรียก อาเซอร์วูลัส (acervulus) สปอโรโดเชียม (sporodochium) และซินนีมาตา (synnemata) ฟรุตติงบอดีเหล่านี้สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และนำมาช่วยในการวินิจฉัยโรคได้บางครั้ง การแพร่ระบาดของราในกลุ่มนี้ มักเกิดขึ้น โดยเชื้อปลิวไปกับลม หรือติดไปกับส่วนของพืชและดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้ เป็นสาเหตุของโรคพืช และดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้เป็นสาเหตุของโรคพืชที่สำคัญหลายชนิด เช่น โรคใบจุด ใบไหม้ต่างๆ และรากเน่า เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น ฟิวราเรียม แอลเทอนาเรีย คอลลีโททริเชียม โกลโอสปอเรียม เซอร์โคสปอรา เซอร์วูาลาเรีย และสเคลอโรเชียม เป็นต้น

๒.๒ บัคเตรี (Bacteria)

จัดเป็นพืชเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมาก ต้องใช้กล้องขยายอย่างน้อย ๑_๐๐๐ เท่า และถ้าจะให้เห็นชัดจะต้องย้อมสีด้วย มีรูปร่างแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด คือ รูปกลม (spherical or coccus) รูปแท่ง (rod shape or bacillus) และรูปเกลียว (spiral or apirillum) บัคเตรีมีทั้งประโยชน์และโทษ พวกที่เป็นสาเหตุของโรคพืชจะมีรูปร่างเป็นแท่ง (rod shape) ไม่มีการสร้างสปอร์ ส่วนใหญ่เป็นพวกแกรมลบ (gram negative) คือย้อมสีติดสีแดงเป็นแอโรบิคบัคเตรี (Aerobic bacteria) คือ ต้องใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่ไม่ทำลายเซลลูโลส และไม่ย่อยแป้ง มักมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในดิน เมื่อปลูกพืช มันก็จะเข้าทำลายพืชชอบสภาพเป็นกรดน้อยๆ และความชื้นสูง แพร่ระบาดได้ดีโดยไปกับน้ำ ลม เศษพืชที่เป็นโรค คุณสมบัติดังกล่าวนี้คือ บัคเตรีในสกุลซูโดโมนัส แซนโทโมนัส เออร์วิเนีย อะโกรแบคทีเรียม โคริเนเบคทีเรียม และสเตร็พโทไมซิส

รูปร่างและหางของเชื้อบัคเตรี : หางเดี่ยวที่ขั้วใดขั้วหนึ่งของเซลล์ (Monotrichous) รูปร่างและหางของเชื้อบัคเตรี : หางเดี่ยวที่ขั้วใดขั้วหนึ่งของเซลล์ (Monotrichous)
๒.๓ ไวรัส (virus)

เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา (light microscope) ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope) ซึ่งมีกำลังขยายสูงจึงจะสามารถมองเห็นได้ ไวรัสประกอบด้วยโปรตีน (protein) และกรดนิวคลิอิก (nucleic acid) ซึ่งกรดนิวคลิอิกนี้จะต้องเป็นชนิดอาร์เอ็นเอ หรือ ดีเอ็นเอ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไวรัสพืชส่วนใหญ่จะประกอบด้วยโปรตีน และกรดนิวคลิอิกชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสทวีจำนวนได้เฉพาะในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์พืช เป็นต้น และมีคุณสมบัติ ทำให้พืชแสดงอาการผิดปกติ หรือเกิดโรคกับพืชนั่นเอง อาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นได้แก่ ใบเปลี่ยนสี เปลี่ยนรูปร่าง พืชแคระแกร็น ไวรัสพืชมีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก่
กลุ่มไวรัสพืช
กลุ่มไวรัสพืช
๒.๓.๑ ท่อนสั้น (short rod) ซึ่งมีทั้งท่อนตรงสั้น หัวท้ายตัด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดใบด่างกับยาสูบคือ เชื้อโทแบคโค โมเสค หรือทีเอ็มวี (Tobacco mosaic virus_ TMV) หรือเชื้อท่อนสั้น หัวท้ายมน (bacilliform) และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบสีส้มของข้าง เป็นต้น

๒.๓.๒ รูปกลม (sphaerical) มีตั้งแต่รูปกลมขนาดเล็กลงจนถึงขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคใบด่างของแตง ใบด่างของพิทูเนีย เป็นต้น

๒.๓.๓ ท่อนยาวคด (fleaxeous rod) มีขนาดความยาวแตกต่างกัน และเป็นกลุ่มที่มีไวรัสต่างชนิดจำนวนมาก เช่น ไวรัสทำให้เกิดโรคยอดบิด ใบด่างของกล้วยไม้ตระกูลต่างๆ และพวกที่มีความยาวมากที่สุด ได้แก่ ไวรัสทริสเทซา (tristeza) ทำให้เกิดโรคกับส้มซึ่งมีระบาดทั่วไปในเขตที่มีการปลูกส้ม รวมทั้งในประเทศไทยด้วย
โรคจู๋ของข้าว
โรคจู๋ของข้าว การเข้าทำลายพืชของไวรัสต้องอาศัยแผล ซึ่งอาจเกิดจากการเสียดสีกัน ของต้นไม้ ในธรรมชาติหรือคนและสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะแมลงเป็นตัวทำ ไวรัสไม่สามารถเข้าทำลายพืชโดยตรงด้วยตัวเอง เหมือนเชื้อราบางชนิด ด้วยเหตุนี้แมลงจึงเป็นพาหะสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไวรัสพืชระบาดได้กว้างขวาง รวดเร็ว และยากลำบากต่อการป้องกัน และกำจัด ตัวอย่างของโรคไวรัสที่สำคัญๆ ในประเทศไทยได้แก่ โรคจู๋ของข้าว โรคใบสีส้มของข้าว โรคใบด่างของพืชหลายชนิด เช่น พริก ยาสูบ แตง ถั่วต่างๆ ฯลฯ
ไวรัสจัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช และเสียหายมาก ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของต่างประเทศ ที่มีการศึกษาทางด้านนี้มาก เช่น มันฝรั่งซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวยุโรปมีไวรัสหลายชนิดเข้าทำลาย และทำให้ผลผลิตลดลงอย่างต่ำที่สุดประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ พืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ ผักและผลไม้ เช่น ส้ม ในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิลมีไวรัสทริสเทซาระบาด โดยมีแมลงเพลี้ยอ่อนเป็นตัวนำโรค ภายในเวลา ๑๒ ปี ทำให้ไร่ส้มเสียหายและตายประมาณ ๖ ล้านต้น (ประมาณ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ของส้มที่ปลูก) ในประเทศกานา (Ghana) จำเป็นต้องโค่นต้นโกโก้จำนวนกว่า ๑๐๐ ล้านต้นทิ้งในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคยอดบวมของโกโก้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่แมลงเพลี้ยแป้งเป็นตัวนำ ส่วนองุ่นผลผลิตลดลงประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลจากการทำลายของไวรัสเกรพไวน์แฟนลีด (grapevine fanleaf) ซึ่งแพร่ระบาด โดยมีไส้เดือนฝอยเป็นตัวนำ และติดไปกับส่วนขยายพันธุ์จากต้นเป็นโรค ตัวอย่างเหล่านี้เป็นข้อเตือนใจ ที่เราควรจะได้ศึกษาถึงปัญหาโรคไวรัสในบ้านเรา เพื่อเตรียมการป้องกันเกิดปัญหารุนแรงแก่พืชผลของเราต่อไป
๔. ไมโคพลาสมา (Mycoplasma)

เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคกับพืช โดยอาศัยอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของพืช เชื้อมีขนาดเล็กกว่าบัคเตรี แต่ใหญ่กว่าไวรัส ไม่มีผนังเซลล์จึงมีรูปร่างไม่แน่นอน ไมโคพลาสมาบางชนิดสามารถเลี้ยงได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ มีการแพร่ระบาด โดยมีแมลงบางชนิดเป็นพาหะ เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน และถ่ายทอดโรคได้ โดยต้นฝอยทอง (dodder) หรือการติดตาเทียบกิ่ง ลักษณะอาการส่วนใหญ่ที่พืชแสดง เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่ ส่วนของพืชที่มีสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง (yellows) หรือขาว (white leaf) แตกเป็นพุ่ม (witches broom) บริเวณจุดเจริญต่างๆ เช่น ยอดหรือตา ส่วนที่เจริญเป็นดอกมีลักษณะคล้ายใบเป็นกระจุก (phyllody) ลักษณะอื่นๆ คือ ต้นแคระแกร็นและไม่เจริญเติบโต โรคทีสำคัญที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมาที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคกรีนนิงของส้ม โรคพุ่มไม้กวาดของลำไย โรคใบขาวของอ้อย เป็นต้น เชื้อไมโคพลาสมา
เชื้อไมโคพลาสมา
๕. ไส้เดือนฝอย (Nematode)

เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้องมีเพศแยกจากกันซึ่งเป็นลักษณะต่างจากไส้เดือนธรรมดา เรามักพบได้ทั่วไป ทั้งในดิน น้ำจืด น้ำเค็ม หรือแม้แต่ในร่างกายของคนและสัตว์ เช่น พยาธิต่างๆ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดโรคกับพืช มีขนาดค่อนข้างเล็กประมาณ ๐.๒-๒ มิลลิเมตร มักเข้าทำลายรากพืชทำให้เกิดอาการรากปม รากเป็นแผล บางชนิดทำลายดอก เมล็ดต้นหรือหน่อ ไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็นพาหะนำโรคไวรัสพืชและเป็นตัวการแพร่ระบาดโรค โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรครากปมของมะเขือ พริก พืชตระกูลแตง เป็นต้น ลักษณะการเข้าทำลายพืชของไส้เดือนฝอยรากปม คือ เข้าดูดกินน้ำเลี้ยง บริเวณเซลล์รากพืช และปล่อยเอนไซม์มาละลายผนังเซลล์ ทำให้เกิดเซลล์ขนาดใหญ่ หรือปล่อยฮอร์โมนมากระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากผิดปกติ จึงทำให้พืชแสดงอาการรากบวมโต หรือเป็นปุ่มปม บางครั้งทำให้ปลายรากกุด ส่วนอาการที่แสดงบนต้นพืชคือ เหี่ยวเฉา แคระแกร็น ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลผลิตลดน้อย ไส้เดือนฝอยรากปมนี้มีพืชอาศัยเป็นจำนวนมาก ประมาณกว่า ๒_๕๐๐ ชนิด
นอกจากเชื้อต่างๆ ดังกล่าวที่ทำให้เกิดโรคกับพืชแล้วยังมีสิ่งมีชีวิตชั้นสูง คือ พวกมีดอก แต่มีลักษณะบางอย่างไม่สมบูรณ์ เช่น กาฝาก ฝอยทอง ซึ่งนอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้พืชเกิดอาการผิดปกติ และการเจริญเติบโตลดน้อยลงแล้ว บางชนิดยังเป็นตัวถ่ายทอดโรค และทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค เช่น ต้นฝอยทองบางชนิดเป็นตัวถ่ายทอดโรค ที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา เป็นต้น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ข้อกำหนด การนำพืชจากต่างประเทศ เข้าประเทศญี่ปุ่น
ข้อกำหนด การนำพืชจากต่างประเทศ เข้าประเทศญี่ปุ่น
ข้อกำหนดการนำพืชจากต่างประเทศเข้าประเทศญี่ปุ่น
ระบบตรวจกักกันโรคพืช
กรมป้องกันโรคระบาดพืช “ตรวจสอบการนำเข้า” เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชจากต่างประเทศไม่ให้เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น และด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันเรา “ตรวจสอบการนำออก”

เพื่อตอบเงื่อนไขการกักกันโรคพืชตามการเรียกร้องของประเทศปลายทาง
การนำพืชจากต่างประเทศเข้ามาหรือนำออกจากประเทศญี่ปุ่นต้องรับการตรวจกักกันโรคพืช

ข้อกำหนดการนำพืชจากต่างประเทศเข้าประเทศญี่ปุ่น
การนำพืชจากต่างประเทศเข้าประเทศญี่ปุ่นด้วยการขนส่งสินค้า เป็นสัมภาระติดตัว ส่งไปรษณีย์ ฯลฯ ไม่ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดหรือด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ต้องเข้ารับการตรวจสอบการนำเข้าเพื่อป้องกันไม่ให้มีโรคและแมลงศัตรูพืชติดกับพืชเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น

เมื่อนำพืช เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น ตามกฎหมายจะต้องมีการยื่นใบรับรองสุขอนามัยพืชที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศผู้ส่งออก และมีการตรวจสอบการนำเข้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพืช
หากไม่มีการแสดงใบรับรองสุขอนามัยพืช พืชจะถูกนำไปกำจัด อาจบังคับใช้บทลงโทษตามกฎหมายในกรณีที่มีการละเมิด เช่น การนำเข้าโดยปราศจากใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือปราศจากการตรวจสอบการนำเข้าพืช: ท่านจะถูกจำคุกเป็นเวลาสูงสุดสามปีหรือถูกปรับสูงสุดหนึ่งล้านเยน

เราป้องกันการเข้ามาของโรคและแมลงศัตรูพืชโดยกำหนดหมวดหมู่ข้อกำหนดตามประเทศที่มีโรคหรือแมลงศัตรูพืช และพืชที่มีโอกาสติดโรคหรือแมลงศัตรูพืชนั้น ๆ ซึ่งหมวดหมู่ข้อกำหนดดังกล่าวมีดังต่อไปนี้



สิ่งที่ห้ามนำเข้า
ห้ามนำเข้าสิ่งที่คาดว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ฯลฯ หากหลุดเข้าประเทศมาได้

รวมถึงพืชจากประเทศหรือภูมิภาคที่มีโรคหรือแมลงศัตรูพืชที่ยากต่อการตรวจสอบในขณะนำเข้าประเทศ และพืชดังกล่าวที่มีโอกาสติดโรคหรือแมลงศัตรูพืชนั้น

และห้ามนำเข้าสิ่งต่อไปนี้จากทุกประเทศและภูมิภาคทั่วโลก

ดิน
พืชที่มีดินติดมาด้วย
โรคและแมลงศัตรูพืช
ฟางข้าวและแกลบข้าว (ยกเว้นคาบสมุทรเกาหลีและไต้หวัน)
นอกจากนี้ มีผักผลไม้ ฯลฯ ที่ห้ามนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตหรือประเทศและภูมิภาคต้นทางบางแห่ง (สิ่งที่ห้ามนำเข้า) กรุณาตรวจสอบจาก “ฐานข้อมูลเงื่อนไขการนำเข้า” (ภาษาอังกฤษ)!

กรุณาดูแผ่นพับที่ระบุสิ่งที่ห้ามนำเข้าหลัก



สิ่งที่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้า
พืชต่อไปนี้ที่ไม่ถูกจัดว่าเป็นสิ่งที่ห้ามนำเข้า ต้องเข้ารับการตรวจสอบในขณะนำเข้า

และมีส่วนหนึ่งที่ต้องรับการตรวจหรือดำเนินมาตรการกักกันพิเศษที่ประเทศต้นทางมาก่อนด้วย

ข้อกำหนดการนำเข้าจะแตกต่างกันตามประเภทของพืช ประเทศผู้ผลิต และประเทศต้นทาง กรุณาตรวจสอบรายการหลักจาก “ฐานข้อมูลเงื่อนไขการนำเข้า” (ภาษาอังกฤษ)!



ตัวอย่างประเภทพืชที่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้า

ต้นกล้า หัว/หน่อ เมล็ด
ดอกไม้
ผักผลไม้
ธัญพืช ถั่ว
วัสดุจากไม้
วัตถุดิบเครื่องปรุง วัตถุดิบสมุนไพร เป็นต้น
search here thai

検索ボタン search button

検索キャラクター図


สิ่งที่ไม่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้า
สินค้าแปรรูปที่ใช้พืชเป็นวัตถุดิบ ซึ่งไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืช หรือไม่มีโอกาสที่โรคและแมลงศัตรูจะยังคงอยู่ได้ อาจไม่จำเป็นต้องรับการตรวจสอบการนำ

สำหรับรายละเอียด กรุณาสอบถามกรมป้องกันโรคระบาดพืช



กระบวนการนำเข้าพืชจากต่างประเทศ (กรณีนำเข้าเป็นสัมภาระติดตัวเข้ามา)
พืชทั้งหมด รวมถึงสิ่งที่ซื้อจากร้านปลอดภาษีหรือของฝากที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้าเพื่อตรวจว่าไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชใด ๆ

กรุณาเข้ารับการตรวจสอบการนำเข้าที่เคาน์เตอร์ตรวจกักกันโรคพืชก่อนเข้ารับการตรวจศุลกากร

ตรวจคนเข้าเมือง → ตรวจสอบการนำเข้าพืช (เคาน์เตอร์ตรวจกักกันโรคพืช) → ตรวจศุลกากร





กรุณายื่นใบรับรองการตรวจ (หรือเรียกว่า ใบรับรองปลอดโรคพืช หรือ phytosanitary certificate และอาจเป็นแบบแท็กสำหรับติดก็ได้) ที่ออกโดยหน่วยงานกักกันโรคพืชของประเทศต้นทาง ให้เจ้าหน้าที่ป้องกันโรคระบาดพืชที่เคาน์เตอร์ตรวจกักกันโรคพืช

เมื่อผ่านการตรวจสอบการนำเข้าแล้วจะได้ประทับ “ตรารับรองการผ่านการตรวจพืช” พืชที่ไม่มีตรานี้จะเข้ารับการตรวจศุลกากรไม่ได้

ทั้งนี้ มีพืชที่ไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองการตรวจด้วย สำหรับรายละเอียด กรุณาสอบถามกรมป้องกันโรคระบาดพืช

หากนำเข้ามาโดยไม่รับการตรวจ อาจถูกลงโทษตามกฎหมายป้องกันโรคระบาดพืชของประเทศญี่ปุ่น



คำถามที่พบบ่อย
Q1: การตรวจสอบการนำเข้าใช้เวลาเท่าใด
และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
A1: ต่างกันตามประเภทและปริมาณของพืช แต่ส่วนมากจะใช้เวลาไม่นาน
และไม่มีค่าใช้จ่าย

Q2: หากนำเข้าพืชแบบส่งมาแยกต่างหาก ต้องใช้อะไรบ้าง
A2: ในกรณีนี้ กรุณาขอให้ตัวแทนดำเนินการด้านศุลกากร (บริษัทขนส่งระหว่างประเทศ) ยื่น “ใบรับรองการตรวจ (หรือเรียกว่า ใบรับรองปลอดโรคพืช หรือ phytosanitary certificate)” ที่ออกโดยหน่วยงานกักกันโรคพืชของประเทศต้นทาง ให้กรมป้องกันโรคระบาดพืชในขณะตรวจสอบสิ่งที่ส่งมาเท่าที่จะเป็นไปได้

Q3: มีข้อควรระวังในการนำพืชเข้ามาทางไปรษณีย์หรือบริการส่งสิ่งของระหว่างประเทศหรือไม่
A3: กรุณาขอให้ผู้ส่งระบุอย่างชัดเจน (เช่น “PLANT” ฯลฯ) ในใบศุลกากร (Declaration Form) ที่แนบมากับพัสดุและบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ทราบว่ามีพืชบรรจุอยู่ และสามารถดำเนินการตรวจสอบการนำเข้าของพัสดุได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ กฎหมายป้องกันโรคระบาดพืชห้ามนำเข้าพืชโดยใช้จดหมายหรือไปรษณีย์แบบอื่นที่ไม่ใช่พัสดุไปรษณีย์
บริการส่งสิ่งของระหว่างประเทศถือเป็นการขนส่งสินค้าทางอากาศ แต่มีบริษัทผู้ให้บริการส่งสิ่งของระหว่างประเทศที่ไม่รับส่งพืชที่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้าอยู่ด้วย ขอแนะนำให้ตรวจสอบจากเว็บไซต์ ฯลฯ ของผู้ให้บริการล่วงหน้า

Q4: ต้องขอรับ “ใบอนุญาตนำเข้า” ที่ออกโดยกรมป้องกันโรคระบาดพืชของญี่ปุ่นก่อนนำเข้าพืชหรือไม่
A4: บางประเทศใช้ระบบการอนุญาตนำเข้าโดยต้องขอรับ “ใบอนุญาตนำเข้า (import permit)” ที่ออกโดยหน่วยงานกักกันโรคพืชของประเทศตนก่อน จึงจะนำพืชเข้าได้ แต่ระบบการกักกันโรคพืชของญี่ปุ่นไม่ได้ใช้ระบบการอนุญาตนำเข้าดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องขอรับ “ใบอนุญาตนำเข้า” ล่วงหน้า

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคพืช ทำให้เกิดโรคในคนได้หรือไม่?
โรคพืช ทำให้เกิดโรคในคนได้หรือไม่?
หลายคนคงเคยสงสัย "ถ้าบริโภคผักผลไม้ที่เป็นโรคแล้ว จะทำให้เราเป็นโรคหรือไม่" เป็นคำถามง่ายๆ ที่หลายคนอาจจะทราบคำตอบ แต่อีกหลายคนอาจไม่ทราบและไม่แน่ใจในคำตอบ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า โรคพืชเกิดขึ้นได้อย่างไร

"โรคพืช (Plant Disease)" เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งเรียกว่าเป็น Biotic Disease และเกิดจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ปริมาณธาตุอาหาร น้ำ อุณหภูมิ และแสง รวมถึงการปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม อาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเหล่านี้ เรียกว่าเป็น Abiotic Disease ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ติดต่อจากพืชหนึ่งไปยังพืชข้างเคียง

สำหรับโรคพืชที่เกิดจากศัตรูพืชซึ่งจัดเป็นโรคที่ติดต่อได้ (Infectious Disease) นั้น โรคพืชจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ เชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค (Pathogen) พืชอาศัย (Host Plant) และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค (Environment) ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ประการนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กัน นั่นหมายความว่า เชื้อสาเหตุ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส จะทำให้เกิดโรคในพืชชนิดใดชนิดหนึ่งได้ เชื้อสาเหตุเหล่านี้ต้องสามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ในพืชชนิดนั้นได้ และภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เชื้อสาเหตุเหล่านี้จะสามารถทำให้เกิดโรค (Pathogenicity) ในพืชอาศัยของมันได้ ทั้งนี้ มีปัจจัยเรื่องระยะเวลา (Time) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคเหล่านี้ ในทางโรคพืชวิทยา เรียกว่า "สามเหลี่ยมโรคพืช (Disease Triangle)" ด้วยเหตุนี้ จึงอธิบายได้ว่า เหตุใดพืชหลายชนิดไม่เป็นโรค ทั้งที่ในโลกใบนี้ มีโรคพืชมากมายหลายชนิดปรากฏอยู่ ดังนั้น คงพอจะทราบคำตอบแล้วว่า โรคพืชทำให้เกิดโรคในคนได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม แม้จะกล่าวได้ว่า จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ไม่ก่อให้เกิดโรคในคน แต่เชื้อราสาเหตุโรคพืชบางชนิดสามารถสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนได้ เช่น Aflatoxin ซึ่งมักพบในเมล็ดธัญพืช ถั่ว และวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ Potulin ซึ่งมักพบในผักและผลไม้ Ochratoxin A และ Alternaria toxin เป็นต้น ซึ่งสารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxins) ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดมีสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง และเกือบทุกชนิดมีความทนทานต่ออุณหภูมิสูงในกระบวนการแปรรูปอาหาร ดังนั้น การกำจัดผลิตผลในส่วนที่พบเชื้อราหรือเน่าเสียที่สามารถสังเกตเห็นได้ ไม่ได้เป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยของผักผลไม้ที่บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการแปรรูปผักผลไม้ เพราะอาจยังมีเชื้อราบางส่วนปะปนและกลายเป็นแหล่งก่อให้เกิดการสร้างสารพิษขึ้นได้ ดังนั้น หากสงสัยหรือไม่แน่ใจในความปลอดภัยของผักและผลไม้ที่บริโภค ก็ควรกำจัดทิ้งผักผลไม้ที่สงสัยนั้น..."If in doubt_ throw it out!"



เอกสารอ้างอิง

Agrios_ G.N. 1997. Plant Pathology. 4th eds. Academic Press_ San Diego_ the United States of America.

เนตรนภิส เขียวขำ. 2554. สารพิษจากเชื้อราในผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว. http://www.farmkaset..link... เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2555.

http://www.farmkaset..link..
3512 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 2 รายการ
|-Page 295 of 352-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - ช่วยไห้ดินร่วยซุย ระบายน้ำดี สร้างระบบรากฝอย สำหรับฉีดพ่น ต้นฟักข้าว
Update: 2567/02/13 09:38:59 - Views: 173
ส่งออกข้าวโพดหวาน อนาคตรุ่ง
Update: 2555/07/27 15:00:57 - Views: 3622
มะละกอผลเน่า มะละกอใบไหม้ ราขาวมะละกอ ราดำมะละกอ ควบคุม ป้องกันกำจัด ก่อนโรคจะสร้างความเสียหาย
Update: 2566/11/04 19:44:55 - Views: 8332
กระท้อน ใบจุด กำจัดโรคกระท้อน จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวย ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/10 10:33:03 - Views: 3079
ปุ๋ยสำหรับชวนชม ปุ๋ยน้ำสำหรับต้นชวนชม ฉีดพ่น FK-1
Update: 2564/09/28 06:12:12 - Views: 3135
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราน้ำค้าง ใน กวางตุ้ง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/10 10:41:18 - Views: 3080
การใช้ INVET ผสมปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน ศัตรูพืชสำหรับต้นองุ่น
Update: 2567/02/24 13:57:25 - Views: 156
ปุ๋ยเร่งผลมะม่วง ปุ๋ยมะม่วง เพิ่มขนาด ขยายผล คุณภาพดี ให้ ธาตุ โพแทสเซียม ถึง 40% สำหรับเร่งผลโดยเฉพาะ
Update: 2565/02/07 04:00:46 - Views: 3040
ชมพู่ ผลเน่า ใบแห้ง ยอดแห้ง กำจัดโรคชมพู่ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/11/01 11:30:42 - Views: 3104
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในมะเขือ และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/01 14:33:16 - Views: 3027
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 8123
ประโยชน์ของการปลูกพืชผสมผสานระหว่าง มันสำปะหลัง กับ พืชตระกูลถั่ว
Update: 2566/04/26 13:57:33 - Views: 16857
ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ ..ทานตะวัน..
Update: 2565/11/14 12:51:38 - Views: 3073
โรคราน้ำค้าง : DOWNY MILDEW DISEASE
Update: 2564/08/22 00:10:00 - Views: 3303
พืชทนแล้ง โตไว ใบเขียวเข้ม สังเคราะห์แสงได้ดี ต้านทานต่อโรค
Update: 2563/04/11 13:24:16 - Views: 2942
ป้องกันกำจัดโรคกะท้อนที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กระท้อนใบไหม้ กระท้อนผลเน่า กิ่งแห้ง ผลแห้ง
Update: 2566/01/23 11:38:16 - Views: 3255
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในแก้วมังกร และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/07 13:59:04 - Views: 3043
หนอนชอนใบส้ม หนอนเจาะผลส้ม หนอนผีเสื้อ หนอนต่างๆในพืชตระกูลส้ม ป้องกันดีที่สุด พบระบาดให้เร่งกำจัด
Update: 2566/11/06 08:56:06 - Views: 9368
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคเมล็ดสีม่วง ใน ถั่วเหลือง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/17 09:52:37 - Views: 3043
รับจ้างผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ยาฯ อินทรีย์ ชีวภาพ อะมิโนสกัด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมทาไรเซียม OEM ODM เป็นแบรนด์ของคุณ
Update: 2565/11/17 07:02:10 - Views: 3143
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022