[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3511 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 1 รายการ

หนอนคืบ กินใบลำไย(Leaf eating looper) ระบาดในหลายพื้นที่
หนอนคืบ กินใบลำไย(Leaf eating looper) ระบาดในหลายพื้นที่
หนอนคืบ กินใบลำไย(Leaf eating looper) ระบาดในหลายพื้นที่
ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัดลำพูน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำพูน รายงานว่า ฤดูฝนลำไยแตกใบอ่อน ต้องระวังเจ้าหนอนตัวนี้ครับ หนอนคืบกินใบลำไยเป็นหนอนที่พบประจำในสวนลำไยโดยเฉพาะในช่วงลำไยแตกใบอ่อนหนอนจะเข้าทำลายเป็นกลุ่มใหญ่กัดกินใบอ่อน แต่ละต้นทำให้ใบอ่อนถูกทำลายเสียหายในเวลาอันรวดเร็วถ้าเข้าทำลายต้นลำไยที่มีขนาดเล็กจะทำให้ต้นชงักการเจริญเติบโต ถ้าเข้าทำลายลำไยที่เตรียมเป็นใบชุดที่จะใส่สาร จะทำให้ลำไยใส่สารแล้วไม่ออกดอก

หนอนคืบกินใบ (แมลงบุ้งลำไย) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyodes scrobicularta Fabr. หนอนผีเสื้อชนิดนี้ระบาดอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจี่ พบมากในบางแห่งโดยเฉพาะระยะที่ลำไยแตกยอดอ่อน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนให้เสียหาย ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืน อาศัยผลลำไยและลิ้นจี่เป็นอาหาร ตัวสีน้ำตาลอ่อน มีคู่ที่สองสีน้ำตาลลายดำ ขอบปีกด้านบนเป็นแถบสีดำ ขนาดของผีเสื้อกางปีกกว้างประมาณ 5 ซม. ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวผู้และตัวเมียมีขนาดไล่เรี่ยกัน ตัวเมียจะวางไข่ไว้เดี่ยวๆ ไข่มีขนาดเล็กกลมสีขาวไม่มีสิ่งปกคลุม และมักจะไข่ไว้บนยอดอ่อนใบอ่อน หนอนเมื่อฟักไข่ออกมาใหม่ๆ ตัวจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล มีแถบสีน้ำตาลตลอดลำตัว ขนาดตัวหนอนที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 3 - 4 ซม. ระยะตัวหนอน 9 - 14 วัน ตัวหนอนจะเข้าทำลายใบอ่อนและยอดอ่อน มีนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อได้รับความกระทบกระเทือนใกล้เข้าดักแด้ตัว จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงใช้ใบห่อหุ้มแล้วเจริญเป็นดักแด้

การป้องกันกำจัด เขย่ากิ่งให้หนอนร่วงหล่นแล้วเก็บรวบรวมไปทำลายหรือนำไปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ เก็บรวบรวมดักแด้ไปทำลาย เช่น ฝัง หรือเผาไฟ เมื่อลำไยแตกยอดอ่อน ถ้าพบมีการระบาดควรจะพ่นยาฆ่าแมลงคาร์บาริลใน อัตรา 30 - 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ถ้าหนอนระบาดมากทำความเสียหายให้อย่าง รุนแรงควรพ่นด้วยยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอสในอัตรา 15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร และจากการวิจัยของ รศ.ดรจริยา วิสิทธ์พานิช และคณะ พบว่าแมลงศัตรูลำไยระยะใบอ่อนที่ระบาดเป็นประจำในช่วงที่ลำไยแตกใบอ่อนคือ หนอนคืบลำไย หนองคืบเขียวกินใบ แมลงค่อมทอง แมลงนูน และอาการโรคพุ่มไม้กวาด กลุ่มหนอนกัดกินใบ เช่น หนอนคืบ หนอนมังกร ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนหมดทั้งต้นได้ภายใน 2-3 วัน หนอนมังกร หนอนคืบ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
หนอนผีเสื้อ หนอนคูน
หนอนผีเสื้อ หนอนคูน
หนอนผีเสื้อ หนอนคูน
ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา (ชื่อสามัญ: The Lemon Emigrant_ ชื่อวิทยาศาสตร์: Catopsilia pomona) จะวางไข่สีขาว รูปร่างรี ที่มีขนาดเล็กมาก เป็นฟองเดี่ยว ๆ มักพบติดที่ขอบใบอ่อนของต้นคูน หรือขี้เหล็ก ไข่ใช้เวลา 2-3 วัน ฟักเป็นตัวหนอน ซึ่งจะมี 2 แบบ คือ หัวสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวสีเหลืองปนเขียว มีแถบสีน้ำตาล-ดำที่ข้างลำตัว และลำตัวสีเขียว มีแถบสีขาวพาดข้างลำตัว โดยตัวหนอนจะอาศัยกินใบของพืชอาหารจนโกร๋น ในกรณีที่เกิดการระบาด ซึ่งตัวหนอนจะใช้เวลาประมาณ 10-15 วัน (อาจสั้นกว่านี้ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม) จึงเข้าดักแด้ สีเขียวอ่อน ห้อยอยู่ที่ใต้ใบแก่ที่เหลืออยู่ หรือที่ก้านใบ ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน (แล้วแต่ช่วงเวลา) จึงลอกคราบเป็นผีเสื้อออกบินอีกครั้งหนึ่ง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
แมลงวัน หนอนชอนใบผัก (Leaf Miner) ระบาด
แมลงวัน หนอนชอนใบผัก (Leaf Miner) ระบาด
แมลงวัน หนอนชอนใบผัก (Leaf Miner) ระบาด
พืชผัก เช่น พืชตระกูลกะหล่ำ หอมต้น มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะระ พริก บวบ กระเจี๊ยบ โหระพา แมงลัก ถั่วต่างๆ ดาวเรือง เบญจมาศ กุหลาบ เยอบีร่า ระวัง หนอนชอนใบผัก เข้าทำลาย

ในสภาพอากาศร้อน ชื้น มีฝน เหมาะกับการระบาดของหนอนต่างๆ หนอนชอนใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Liriomyza brassicae (Riley)
วงศ์ : Agromyzidae
อันดับ : Diptera

รูปร่างลักษณะ
หนอนแมลงวัน หนอนชอนใบ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็กมีขนาด ๑ – ๒ มิลลิเมตร

หนอน ชอนไชไปตามเนื้อเยื่อพืช พืชที่โดนหนอนชอนใบทำลาย ใบจะเป็นรอยลาย ร่วงหล่นลงดิน ส่งผล สร้างความเสียหายต่อผลผลิต

การแพร่ระบาด และการทำลาย

หนอนชอนใบ สร้างความเสียหายมากในมะเขือเทศ ดอกเบญจมาศ เข้าทำลาย พืชผัก ไม้ดอก พบระบาดทั่วทุกภาคในประเทศไทย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
แตนเบียนบราคอน ปล่อยในไร่ ใช้ ควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้
แตนเบียนบราคอน ปล่อยในไร่ ใช้ ควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้
แตนเบียนบราคอน ปล่อยในไร่ ใช้ ควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้
แตนเบียนบราคอน เป็นศัตรูธรรมชาติที่สามารถควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตนเบียนบราคอน จะใช้เข็มแทงเข้าไปในตัวหนอน ปล่อยสารชนิดหนึ่ง ทำให้หนอนเป็นอัมพาต

ชื่อสามัญ : Bracon Wasp
ชื่อวิทยาศาสตร์ :: Bracon hebetor Say

ความสำคัญ

เป็นศัตรูธรรมชาติที่สามารถควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแตนเบียนบราคอนซึ่งเป็นแตนเบียนชนิดภายนอก จะวางไข่บนตัวหนอนหัวดำมะพร้าวโดยก่อนวางไข่ แตนเบียนเพศเมียจะใช้เข็มแทงเข้าไปในตัวหนอน และปล่อยสารชนิดหนึ่งออกมาทำให้หนอนเป็นอัมพาตแล้วจึงวางไข่บนตัวหนอน เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอนจะดูดกินน้ำเลี้ยงในตัวหนอนจนทำให้หนอนตาย เมื่อครบอายุหนอนของแตนเบียนจะปล่อยตัวออกจากหนอนหัวดำมะพร้าวและถักรังเพื่อเข้าดักแด้ และออกเป็นแตนเบียนบราคอนรุ่นต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถทำลายหนอนได้อีกหลายชนิด เช่น หนอนผีเสื้อข้าวสาร หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะยอดมะเขือ เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

แตนเบียนเพศเมียจะใช้เข็มแทงเข้าไปในตัวหนอนและปล่อยสารชนิดหนึ่งออกมา ทำให้หนอนเป็นอัมพาต แล้วจึงวางไข่บนตัวหนอน เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอนจะดูดกินน้ำเลี้ยงในตัวหนอนจนทำให้หนอนตาย เมื่อครบอายุหนอนของแตนเบียนจะปล่อยตัวออกจากหนอนหัวดำมะพร้าว และถักรังเพื่อเข้าดักแด้ และออกเป็นแตนเบียนบราคอนรุ่นต่อไป

การใช้ควบคุมศัตรูพืช

ปล่อยในอัตรา 200 ตัว/ไร่

ปล่อยในช่วงเช้า ให้กระจายทั่วแปลง ติดต่อกัน 5-7 ครั้ง ทุก 7 วัน )

อ้างอิง http://farmkaset_link..
หนอนเยื่อไผ่ หรือ หนอนรถด่วน
หนอนเยื่อไผ่ หรือ หนอนรถด่วน
หนอนเยื่อไผ่ หรือ หนอนรถด่วน
หนอนเยื่อไผ่ หรือ หนอนรถด่วน นำไปประกอบอาหาร ต้ม ทอด ตำน้ำพริก การศึกษา พบว่า จากการบริโภคหนอนรถด่วนนี้จะได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนจำพวกกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย 8 ชนิด

อันดับ Lepidoptera
วงศ์ Pylalidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Omphisa fuscidentalis
โดย วรวุฒิ วรคุตตานนท์

หนอนรถด่วน หรือ Bamboo Caterpillar เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ซึ่งตัวหนอนกินเยื่อไผ่เป็นอาหาร ชาวจีนฮ่อเรียก จูซุง คนพม่าเรียก ลาโป้ว และชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า คลีเคล๊ะ ส่วนคนไทยเรียกว่าหนอนรถด่วน เพราะ ตัวหนอนมีรูปร่างลักษณะคล้ายโบกี้รถไฟนั่นเอง หนอนรถด่วนเป็นหนอนผีเสื้อที่มีวงจรชีวิตที่ยาวนานถึงหนึ่งปีเต็ม เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ผีเสื้อจะจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนจากนั้นเพศเมียก็จะวางไข่บนหน่อไม้เมื่อตัวอ่อนฟักออกจากไข่จะเจาะเข้าไปอยู่ในหน่อไม้เพื่อกินเยื่อไผ่เป็นอาหารหนอนจะผ่านการลอกคราบถึง 5 ครั้งใช้เวลา ถึง 10 เดือน จากนั้นจะเข้าสู้ระยะดักแด้เพื่อเปลี่ยนสรีระร่างกายประมาณ 40 – 60 วัน และลอกคราบออกเป็นตัวเต็มวัยในที่สุด ผีเสื้อมีอายุ 1 – 2 สัปดาห์ ไผ่ที่พบหนอนรถด่วน ได้แก่ ไผ่ซาง ไผ่หก ไผ่บง ไผ่ไร่รอ และไผ่สีสุก พบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 430 – 1300 เมตร ชาวไทยภาคเหนือนิยมบริโภคหนอนรถด่วนมายาวนาน วิธีนำไปประกอบอาหารได้แก่ ต้ม ทอด ตำน้ำพริก การศึกษา พบว่า จากการบริโภคหนอนรถด่วนนี้จะได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนจำพวกกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย 8 ชนิด และที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายอีก 9 ชนิด ดังนี้

ประเภทกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ตามน้ำหนัก ได้แก่ ทรีโอนีน 1.15% ซีสตีน 0.28% วาลีน 1.60% เมธิโอนีน 0.66%ไอโซลิวซีน 0.94% ลิวซีน 2.05% เฟนิวอะลานีน 0.63% และไลซีน 1.66%

ประเภทกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ ทรีโอนีน 1.15% เซรีน 1.84% กลูตามิก 2.96% โปรลีน 1.46% ไกลซีน 1.01% อะลานีน 1.24% และอาร์จีนีน 1.22%

การสังเกตต้นไผ่ที่มีหนอนรถด่วนตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยดูว่า ต้นไผ่ต้นใดมีขนาดปล้องค่อนข้างสั้น และหากสังเกต จะพบรูเล็กๆ ที่โคนของไผ่ประมาณปล้องที่ หนึ่งหรือ ปล้องที่สอง ซึ่งเป็นรูที่ตัวเต็มวัยจะออกมาเมื่อกลายเป็นผีเสื้อ จึงมั่นใจได้ว่าไผ่ลำนี้มีหนอนรถด่วนอยู่แน่นอน

หนอนรถด่วนยังเป็นแมลงเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับชาวชนบท ทั้งนี้เพราะตัวหนอนสดมีราคาขายส่งกิโลกรัมละ 100 – 250 บาท ทำให้ชาวบ้านมีรายได้มากถึง 500 – 1000 บาทต่อวัน สำหรับพ่อค้าแมลงทอด จะขายหนอนรถด่วนราคากก.ละ1200 – 1500 บาททีเดียว

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ยุโรปอนุมัติให้ หนอนนก เป็นอาหารทางเลือกใหม่
ยุโรปอนุมัติให้ หนอนนก เป็นอาหารทางเลือกใหม่
ยุโรปอนุมัติให้ หนอนนก เป็นอาหารทางเลือกใหม่
หนอนนกแห้งสีเหลืองจะได้ไปวางแผงขายตามชั้นวางในซูเปอร์มาร์เกตและเป็นอาหารในร้านอาหารทั่วยุโรปในเร็วๆนี้ หลังได้รับอนุมัติให้เป็นอาหารทางเลือกใหม่

สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 4 พ.ค.ว่า สำนักงานความปลอดภัยด้านอาหารของสหภาพยุโรป (อียู) ได้อนุมัติรับรองตามข้อเสนอว่า หนอนนกสามารถวางจำหน่ายในตลาดในฐานะอาหารทางเลือกใหม่ได้แล้ว หลังจากที่ได้พิจารณาจากรายงานความเห็นทางวิชาการที่นำออกเผยแพร่ในปีนี้ซึ่งได้ข้อสรุปออกมาว่า หนอนนกปลอดภัยสามารถรับประทานได้ และนักวิจัยยังพบว่า สามารถรับประทานได้ทั้งตัวหรือไม่ก็ในรูปแบบผงสกัด สามารถปรุงเป็นอาหารสำหรับรับประทานเป็นของว่าง หรือเป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหารเพราะมีคุณค่าทางโปรตีนสูง

แต่สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้อาหารนั้นก็อาจจะเกิดขึ้นได้สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้มาก้อนแล้วกับพวกสัตว์น้ำเปลือกแข็งและไรฝุ่น เป็นต้น

ปัจจุบันแมลงถือเป็นอาหารอย่างหนึ่งแต่มีสัดส่วนในตลาดน้อยมาก แต่ขณะนี้เจ้าหน้าที่อียูกล่าวว่า มีการเพาะเลี้ยงเพื่อนำมาเป็นอาหารแล้วซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนองค์การอาหารและเกษตรของสหประชาชาติบอกว่า แมลงเป็นสัตว์ที่นำมาประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยไขมัน โปรตีน วิตามิน ไฟเบอร์และเกลือแร่ เป็นต้น

หลังการอนุมัติรับรองหนอนนกแล้ว สามารถอนุญาตให้วางจำหน่ายเป็นอาหารในเร็วๆ นี้

เครดิตภาพ AP

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไฝ่ หรือ รถด่วน กินได้ อร่อย และมีประโยชน์
หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไฝ่ หรือ รถด่วน กินได้ อร่อย และมีประโยชน์
หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่ หรือรถด่วน เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง เป็นแมลงที่กินได้ (edible insect) มีชื่อชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Omphisa fuscidenttalis Hampson) จัดอยู่ในวงศ์ Pryralidae มีชื่อสามัญอีกหลายชื่อ เช่น หนอนกินเยื่อไผ่ หนอนผีเสื้อเจาะไผ่ชาวบ้านทางภาคเหนือเรียก แน้ แมะ หรือแด้ หรือด้วงไม้ไผ่ หรือรถด่วน อีก้อ เรียกฮาโบลัว กะเหรี่ยง เรียกคลีเคล้ะ พม่า เรียกวาโป้ว และจีนฮ่อ เรียกจูซุง มีถิ่นที่อยู่อาศัยพบกระจายอยู่ในป่า จากข้อมูลทางโภชนาการของหนอนรถด่วนทอดประกอบด้วย (ในหน่วยของ % (w/w) ) โปรตีน 22.5_ คาร์โบไฮเดรต 11_ ไขมัน 55.4_ กรดแอมิโน และแร่ธาตุจำพวกเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม และโพแทสเซียม โดยในปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 643.7 กิโลแคลอรี (ไพฑูรย์ 2538_ 2544)

การบริโภคหนอนเยื่อไผ่เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตจังหวัดภาคเหนือ ทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อร่างกายมีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ จึงจัดได้ว่าเป็นแมลงเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับประชาชนในภูมิภาคนี้ และมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้ แต่มีผู้บริโภคอีกจำนวนมากไม่นิยม

การแปรรูปหนอนเยื่อไผ่ให้มีรูปร่างที่แตกต่างไปจากเดิม โดยกรรมวิธีการบดด้วยเครื่องบดแบบค้อนทำให้ได้ผลิตภัณฑ์หนอนเยื่อไผ่ออกมาในรูปลักษณะผง ที่อาจทำให้ผู้บริโภคยอมรับในรูปของผลิตภัณฑ์มากขึ้น นำไปใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารพื้นเมืองชนิดอื่นได้อย่างหลากหลายและช่วยส่งเสริมให้ผู้เพาะเลี้ยงมีรายได้มากขึ้นและเพิ่มมูลค่าให้แก่หนอนเยื่อไผ่

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
หนอนบำบัด (Maggot Therapy) ใช้หนอนแมลงวัน รักษาแผลติดเชื้อ
หนอนบำบัด (Maggot Therapy) ใช้หนอนแมลงวัน รักษาแผลติดเชื้อ
หนอนบำบัด (Maggot Therapy) ใช้หนอนแมลงวัน รักษาแผลติดเชื้อ
ใช้หนอนแมลงวัน ทำความสะอาดแผลหนอง หรือแผลเน่าติดเชื้อ มีการบันทึกประสิทธิภาพในการรักษาแผลเน่า ติดเชื้อ โดยหนอนแมลงวัน โดยแพทย์ประจำพระองค์ ในสมัยพระเจ้านโปเลียน ในขณะรักษาทหารที่บาดเจ็บ ในระหว่างสงคราม

1. ประวัติและความเป็นมา

ย้อนไปเมื่อสมัย 1_000 ปีก่อน ชาวอินเดียแดงเผ่ามายาและชาวเจมบาซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองใน New South Wales ประเทศออสเตรเลียได้ใช้หนอนแมลงวัน (Maggot) ในการทำความสะอาดแผลหนองหรือแผลเน่าติดเชื้อโดยพวกเขาได้รับการถ่ายทอดความ รู้นี้มาจากบรรพบุรุษซึ่งสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และในประวัติศาสตร์ก็ได้มีการบันทึกถึงประสิทธิภาพในการรักษาแผลเน่าติด เชื้อโดยหนอนแมลงวัน (Maggot) เมื่อปี 1829 โดยนายแพทย์ Baron Dominic Larrey ซึ่งเป็นหัวหน้าแพทย์และแพทย์ประจำพระองค์ในสมัยพระเจ้านโปเลียนซึ่งพบถึง ประสิทธิภาพนี้ในขณะ ที่ทำการรักษาทหารที่บาดเจ็บในระหว่างสงคราม

ในปี 1929 นายแพทย์ William Baer ศัลยแพทย์ชาวอเมริกันซึ่งเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ Johns Hopkins School of Medicine ในรัฐ Maryland ซึ่งนับเป็นผู้ก่อตั้งวิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) สมัยใหม่ ได้ทำการศึกษาวิจัยการรักษาด้วยหนอน (Maggot) อย่างจริงจัง โดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์และได้เผยแพร่ความรู้นี้สู่สาธารณชน ส่งผลให้วิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและในช่วงปี ค.ศ. 1940 โรงพยาบาลในอเมริกามากกว่า 300 แห่งได้ใช้วิธีนี้ในการรักษาผู้ป่วยและบริษัท Lederle ซึ่งเป็นบริษัทยาก็ได้ผลิตหนอน (maggot) ออกขายสู่ท้องตลาด ต่อมาได้มีการคิดค้นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Sulfa และ Penicillin ขึ้น ทำให้ maggot therapy เริ่มจางหายไปจากวงการแพทย์

จวบจนกระทั่งในปี 1995 ที่ประเทศเยอรมันก็ได้มีการฟื้นฟูวิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) ขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาแผลเรื้อรังซึ่งมีประชากรที่ต้องตกอยู่ในสภาวะนี้ มากกว่า 3 ล้านคนโดยแผลที่เนื่องมาจากเบาหวานนับว่าเป็นอาการที่พบได้บ่อย และสถาบันต่างๆของเยอรมนีเช่น German Diabetis Society (Deutsche Diabetesgesellschaft) และ German Society for Angiology (Deutsche Gesellschaft fuer Angiology) ได้ทำการประเมินขั้นตอนการวินิจฉัยโรค_ การรักษา และภาวะการฟื้นตัวของผู้ป่วย จากโรคเบาหวาน และพบว่าการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) นั้นทำให้ผู้ป่วยประมาณ 10_000 รายไม่จำเป็นจะต้องผ่าตัดเท้าหรือแขนทิ้งหากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก เริ่มของโรคและจากรายงานทางการแพทย์จากคลินิกชุมชนเฮิร์กส ในแฟรงเฟิร์ต ตั้งแต่ปี 1999 คลินิกชุมชนเฮิร์กส ในแฟรงเฟิร์ตได้นำลักษณะการบำบัดรักษาด้วยหนอนแมลงวันมาใช้กับการรักษาบาด แผลคนไข้ที่มีการเรื้อรังและไม่สามารถรักษาด้วยวิทยาการทางการแพทย์ปกติได้ ซึ่งหลังจากการนำมาทดลองใช้ดังกล่าวแล้ว พบว่า บาดแผลที่ได้ให้หนอนแมลงวันในการรักษานั้นสะอาดได้เป็นระยะๆ คนไข้ซึ่งได้รับการรักษาบาดแผลโดยวิธีการดังกล่าวนี้เป็นประจำจะพบว่าบาดแผล ของเขาจะสะอาดขึ้นเรื่อยๆและถ้าหากหยุดพักหรือทิ้งช่วงระยะเวลาในการบำบัด ด้วยวิธีดังกล่าว สภาพของบาดแผลก็จะกลับมาแย่อีกครั้ง(1)

2. แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน

Lucilia sericata คือ แมลงวันมีอยู่มากมายหลากหลายสายพันธุ์ โดยประมาณได้ว่ามีมากถึง 120_000 สายพันธุ์ (species_ sp) ทั่วโลก และประมาณ 10_000 sp. ที่สามารถพบได้ในภาคพื้นยุโรป Lucilia sericata เป็น species ที่อยู่ใน genus green bottles (Lucilia) หนอนของแมลงวัน หรือที่มีชื่อเรียกในภาษาละตินว่า Lucilia นั้น มีการนำมาใช้ในการรักษาแผลเรื้อรัง

วิวัฒนาการของแมลงวันเริ่มต้นจากไข่ที่ได้วางไว้บนซากเนื้อแล้ว พัฒนาไปเป็นหนอนแมลงวัน หนอนเหล่านี้จะผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และดูดส่วนที่ย่อยแล้วไปเป็นอาหารซึ่งหนอนแมลงวัน (Maggot) เหล่านี้จะย่อยสลายเฉพาะเนื้อเยื่อที่ตายแล้วเท่านั้น ไม่กัดกินเนื้อดีดังนั้นการกัดกินแบบลึกๆตามที่เข้าใจนั้นจะไม่พบในสัตว์ ประเภทนี้

หนอนแมลงวันเติบโตได้สูงสุด 12 มิลลิเมตร ภายในเวลา 3-4 วัน หลังจากนั้นก็จะละทิ้งซากเนื้อเพื่อจะพัฒนาไปเป็นดักแด้ในสิ่งแวดล้อมที่ แห้งต่อไป
หลักการที่นำหนอนดังกล่าวมาใช้ในการทำลายเชื้อโรคในบาดแผลเนื้อตาย (Necrosis) ก็คือหนอนจะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อย Necrosis (เนื้อตาย) ให้เป็นของเหลวและหลังจากนั้นก็จะดูดกิน Necrosis ที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกายเพื่อเป็นอาหารให้กับตัวมันเอง นอกจากนี้ยังพบว่าเอนไซม์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลและทำให้แผล สะอาด ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของแผล และข้อดีอีกประการหนึ่งของวิธีการดังกล่าวนี้ก็คือการกระตุ้นให้เกิดการ สร้างเสริมเซลล์เนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ (Granulation Tissue)

3. ข้อบ่งชี้ / รายละเอียดในการใช้ : ใช้กับแผลต่างๆ ดังนี้
– Diabetic foot ulcers แผลเนื่องจากโรคเบาหวานบริเวณเท้า
– Decubitus ulcers แผลกดทับจากโรคเบาหวาน
– Ulcers cruris
– MRSA and other wound infections แผลติดเชื้อจาก Staphylococcus aureus และอื่น ๆ
– Necrotizing tumor wounds แผลเนื้อเยื่อตาย
– Necrotizing fasciitis แผลพังผืดอักเสบ
– Burns แผลไหม้
– Thrombangitis obiterans
– Bacterial soft tissue infections และแผลเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆ

4. ระยะเวลาในการใช้(2)
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ ครั้งแรกที่ใช้ แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความใหญ่ของบาดแผลด้วย ทันทีที่บาดแผลสะอาดก็สามารถสิ้นสุดการบำบัดรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวได้

5. ผลข้างเคียง(2_ 3_ 4)
ตามทฤษฎีแล้ว การบำบัดรักษาด้วยวิธีดังกล่าวนี้จะไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ ในบางครั้งอาจจะเกิดเลือดไหลออกที่บริเวณรูขุมขนซึ่งเป็นลักษณะหรือสัญญาณ ที่ดีสำหรับการหล่อเลี้ยงของเลือด ประมาณ 90% ของผู้ที่เคยทดลองวิธีการดังกล่าวนี้จะรู้สึกจั๊กจี้และขยะแขยง

6. ประโยชน์ที่ได้รับคือ(1_ 2_ 3_ 4)

* ลดจำนวนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วอย่างรวดเร็ว
* เพิ่มจำนวนเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่
* ลดจำนวนของเหลวและกลิ่นเหม็นจากแผล
* ลดความเจ็บปวด
* ลดระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
* หลีกเลี่ยงการผ่าตัด
* ลดการใช้ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotic)

เขียนโดย : คุณสุวรรณี เอี่ยมคง

เอกสารอ้างอิง

BioMonde Fly Larvae “Optimum Treatment for Chronic Wounds”
Wayman_ J._ Nirojogi_ V._ Walker_A. et al.: The cost effectiveness of larval therapy in Venous ulcers. J ofTiss. Viab. 10(2000) 91-94
Gantz NM_ Tkatch LS_ Makris AT. Geriatric infections. In : APIC Text of Infection Control and Epidemiology. Washington: Association for Professional in Infection Control and Epidemiology_ Inc._ 2000: pp 35-1-13
Sherman_ R.: Maggot versus conservative debridement therapy for the treatment of pressure ulcers. Wound Repair and Regeneration 10 (4) (2002) 208-214

From: http://www.farmkaset..link..
หนอนขี้เหล็ก บุกโรงเรียน กลับกลายเป็นผีเสื้อโบยบิน ที่สวยงาม
หนอนขี้เหล็ก บุกโรงเรียน กลับกลายเป็นผีเสื้อโบยบิน ที่สวยงาม
หนอนขี้เหล็ก บุกโรงเรียน กลับกลายเป็นผีเสื้อโบยบิน ที่สวยงาม
กองทัพหนอนคูนหรือหนอนต้นขี้เหล็กนับหมื่นๆ ตัว บุกเข้าโรงเรียนเสิงสาง ต.เสิงสาง อ. เสิงสาง จ.นครราชสีมา ไต่ตัวอาคารและพื้นที่ต่างๆ ภายในโรงเรียนได้เริ่มกลายเป็นดักแด้

หนอนต้นขี้เหล็กที่ฟักตัวเป็นดักแด้ ได้กลายร่างเป็นผีเสื้อแสนสวยสีเหลืองเขียวบินไปทั่วบริเวณ ซึ่งก่อนหน้านี้ มีชาวบ้านที่ทราบข่าวการระบาดต่างพากันมาเก็บตัวดักแด้ไปประกอบอาหารและจำหน่าย ทำให้จำนวนของดักแด้ของหนอนต้นขี้เหล็ก แทบจะไม่เหลือให้เห็น ทั้งๆ ที่ทางโรงเรียนเห็นว่า หนอนขี้เหล็กไม่มีพิษมีภัยอะไรกับนักเรียน จึงอยากจะอนุรักษ์เอาไว้ดูความสวยงามเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้วงจรชีวิต แต่ก็ไม่ทัน เพราะชาวบ้านเข้ามาเก็บตัวดักแด้ในวันที่คณะครูอาจารย์และนักเรียนไปทัศนศึกษา จึงไม่มีใครคอยอยู่ห้ามปรามชาวบ้านที่เข้ามาเก็บ จึงเหลือหนอนดักแด้ที่กลายเป็นผีเสื้อแสนสวยโบยบินให้เห็นไม่มากนัก

ในขณะที่บริเวณหาดชมตะวัน ภายในอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ อุทยานแห่งชาติทับลานที่ 4 อำเภอเสิงสางจังหวัดนครราชสีมา ก็มีผีเสื้อที่กลายร่างจากหนอนคูนหรือหนอนต้นขี้เหล็ก ออกมาโบยบินเป็นจำนวนมาก ซึ่งในบริเวณนี้เป็นเขตอุทยานฯ ที่ชาวบ้านไม่สามารถเข้ามาเก็บตัวดักแด้ของหนอนผีเสื้อต้นขี้เหล็กได้ จึงทำให้มีจำนวนของผีเสื้อออกมาโบยบินให้ได้ชมความงามตลอดแนวของอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ ในระยะที่สามารถเข้าใกล้ได้แค่คืบเดียวเท่านั้น นับเป็นภาพที่สวยงาม ทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวพากันเดินทางมาชมความสวยงามของผีเสื้อในบริเวณนี้จำนวนมาก

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
หนอนหมี บุกสวนยางที่กระบี่ ชาวบ้านไม่กล้ากรีดยาง
หนอนหมี บุกสวนยางที่กระบี่ ชาวบ้านไม่กล้ากรีดยาง
หนอนหมี บุกสวนยางที่กระบี่ ชาวบ้านไม่กล้ากรีดยาง
หนอนหมีนับหมื่นตัวบุกเกาะต้นยางพาราที่กระบี่ จนชาวบ้านไม่กล้าออกไปกรีดยาง ระบุพบมากช่วงหน้าฝน ไม่มีพิษ

ขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยางพาราใน ต.ทุ่งไทรทอง อ.ลำทับ จ.กระบี่ กำลังประสบปัญหา "หนอนหมี" หรือ "หนอนบุ้ง" หรือ "หนอนขน" จำนวนนับหมื่นตัวบุกอาศัยอยู่ตามต้นยางพาราจนไม่กล้าออกไปกรีดยาง เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายสมพงษ์ ดวงจันทร์ อายุ 59 ปี ชาวบ้าน ม.4 ต.ทุ่งไทรทอง อ.ลำทับ จ.กระบี่ สำหรับหนอนชนิดนี้ชาวบ้านเรียกว่าหนอนหมี เนื่องจากตัวสีดำ ชอบอาศัยอยู่บนต้นยาง

จะพบมากในช่วงหน้าฝน ปีนี้หนอนหมี มีมากกว่าทุกปี สังเกตตามต้นยางในต้นเดียวมีนับ 100 ตัว สร้างความขนลุกขนพองให้แก่ชาวสวนยาง บางรายถึงกับหลอนโดยเฉพาะผู้หญิงบางคนหวาดกลัวจนไม่กล้าเข้าไปกรีดยาง ถึงแม้ว่าหนอนชนิดนี้แม้จะไม่มีพิษ แต่จะสร้างความรำคาญให้ชาวสวนยาง นอกจากนี้ หนอนเหล่านี้ไม่ได้ทำลายต้นยางแต่อย่างใดด้วย โดยหนอนหมีจะมากินเพียงเปลือกไม้เท่านั้น

ขณะที่ชาวสวนยางบางคนยอมรับว่า กลัวหนอนหมีมาก หากวันไหนพบหนอนมีมากจะไม่ยอมออกไปกรีดยาง สำหรับ "หนอนหมี" จะมีมากในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยจะมากัดกินเปลือกไม้ในสวนยางพารา สำหรับตัวที่โตเต็มวัยแล้วจะสลัดขนไปทำรังรอฟักตัวเป็นดักแด้ต่อไป

สำหรับหนอนหมี หรือหนอนขน ในพื้นที่มีขนาดใหญ่ ความยาว 3-5 เซนติเมตร ตัวสีดำ ขนสีขาวเป็นเส้นตรงขึ้นตามตัว ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร บางตัวใหญ่เท่ากับนิ้วก้อย มักจะไต่ขึ้นตามต้นยางพารา ถ้วยน้ำยาง และบางตัวจะชักใยห้อยโหนไปมา สร้างความขนลุกขนพองให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชาวสวนยางเป็นผู้หญิง บางคนถึงกับหลอน ต้องยอมหยุดกรีดยาง เนื่องจากหวาดกลัว และขยะแขยง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
3511 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 1 รายการ
|-Page 283 of 352-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
หนอนคอรวงข้าว หากปีที่แล้วเคยระบาด ปีนี้ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
Update: 2564/04/30 21:52:18 - Views: 3156
การเพิ่มผลผลิตมะม่วง ด้วยปุ๋ย FK-1 และ FK-3 โดยวิธีง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก
Update: 2566/01/06 07:12:02 - Views: 3062
ยาฆ่าเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงจำพวกปากดูด ใน แตงกวา เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/02/28 14:14:53 - Views: 3055
ปุ๋ยสำหรับนาข้าว ช่วงนี้เข้าฤดูทำนาแล้ว ปุ๋ยและยาแก้โรคข้าว โรคเน่าคอรวง ยาแก้เพลี้ย ติดต่อเราได้เลยนะคะ
Update: 2563/06/07 23:19:47 - Views: 2973
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุดสีน้ำตาล ในต้นข้าว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/05 12:50:07 - Views: 3078
โรคราน้ำค้าง ในพืชตระกูล กะหล่ำ และ ผักกาด โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/09 06:18:28 - Views: 3119
กำจัดเชื้อรา ดอกมะลิ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/12 11:17:29 - Views: 3038
กำจัดเพลี้ย ใน องุ่น เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/16 15:58:28 - Views: 3128
โรคราดำ ป้องกันและกำจัดโรคราดำ ในทุเรียน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ
Update: 2566/05/20 13:39:39 - Views: 7276
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าไรแดง ในมะเขือ และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/02 12:21:01 - Views: 3260
ชมพู่ ผลเน่า กำจัดโรคชมพู่ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/07 09:53:12 - Views: 3253
แคคตัส เน่า ราสนิม กำจัดโรค เชื้อราต่างๆในแคคตัส ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/11 09:25:55 - Views: 3042
โรคใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล ในช่วงอาการร้อนชื้น แดดจัด และมีฝนตกมาใบบางครั้ง
Update: 2563/04/22 09:43:10 - Views: 2965
การป้องกันและกำจัดโรค ยางตายยอด ยางยอดแห้ง ใบแห้ง ตายจากยอด หรือโรค ดายแบ็ค ในยางพารา
Update: 2566/03/06 11:56:27 - Views: 3119
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
Update: 2564/08/20 12:43:41 - Views: 3177
ปุ๋ยเร่งผลแก้วมังกร ปุ๋ยแก้วมังกร ปุ๋ยบำรุงแก้วมังกร ขยายผล คุณภาพดี ให้ ธาตุ โพแทสเซียม ถึง 40% สำหรับเร่งผลโดยเฉพาะ
Update: 2565/02/08 21:53:16 - Views: 3084
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยจักจั่น ในดอกกุหลาบ และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/11 13:25:43 - Views: 3092
การป้องกันกำจัด โรคราสีชมพูในทุเรียน
Update: 2566/05/15 09:52:19 - Views: 5655
โรคมะพร้าวยอดเน่า ใบแห้ง ใช้ ไอเอส และ FK-1
Update: 2566/02/28 13:56:41 - Views: 3315
เร่งการออกดอกและเร่งรากของต้นอะโวคาโด้ด้วย ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO
Update: 2567/02/12 13:14:01 - Views: 165
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022