[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3510 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 0 รายการ

ข้าวแดง ข้าวลาย ข้าวหาง ข้าวดีด ข้าวเด้ง
ข้าวแดง ข้าวลาย ข้าวหาง ข้าวดีด ข้าวเด้ง
ข้าวแดง ข้าวลาย ข้าวหาง ข้าวดีด ข้าวเด้ง
ข้าวดีด ข้าวเด้ง เป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่ถือว่าเป็นข้าววัชพืช ที่มาของชื่อ ข้าวดีด ข้าวเด้ง คือ เนื่องจากเมื่อเมล็ดแก่ และถูกลมพัดหรือเมื่อคนไปสัมผัส เมล็ดจะร่วง ข้าวดีดหรือข้าวเด้ง เป็นข้าววัชพืชที่มีลักษณะร่วงง่ายและร่วงเร็ว โดยทยอยร่วงตั้งแต่หลังดอกบาน 9 วันเป็นต้นไป เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีหางสั้นหรือไม่มีหาง ข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีสีเหลืองฟาง สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงและขาว

ส่วน ข้าวแดง หรือ ข้าวลาย คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะสีข้าวเปลือกมักมีสีเข้ม ไปจนถึงลายสีน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่ไม่มีหาง เมล็ดมีทั้งร่วงและไม่ร่วงก่อนเก็บเกี่ยว แต่สีของเยื่อหุ้มเมล็ดส่วนใหญ่มีสีแดง

ที่มา : องค์ความรู้เรื่องข้าว สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว

สินค้าจากเรา

ชุดย่อยสลายฟางข้าว ชุดย่อยสลายตอฟาง ย่อยสลายใน 7วัน ไม่ต้องเผา

ลดข้าวดีดมากกว่า 70% รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้

#ย่อยสลายฟางข้าว #ย่อยสลายตอฟาง #ย่อยสลายตอซัง

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
โรคใบด่างมันสำปะหลัง
โรคใบด่างมันสำปะหลัง
โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Cassava mosaic virus ; CMV

อาการ : ใบด่างเหลือง ผิดรูป ยอดเเตกใหม่ แสดงอาการด่างเหลืองชัดเจน ลำต้นเเคระเเกร็น ไม่เจริญเติบโต

การเเพร่ระบาด :
1. ท่อนพันธ์ุ จากต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรค
2. เเมลงหวี่ขาวยาสูบ นำเชื้อไวรัสจากต้นเป็นโรคไปสู่ต้นปกติ

ความเสียหาย : มันสำปะหลังไม่สร้างหัว หัวลีบเล็ก หรือหัวไม่มีเเป้ง ผลผลิตลดลงหากเป็นโรคตั้งเเต่ระยะเล็ก จะเสียหายถึง 80-100%

การปฏิบัติเพื่อกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง :

1. สำรวจเเปลงมันสำปะหลังของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นมันสำปะหลังแสดงอาการใบด่างให้รีบเเจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านทันที

2. กำจัดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคและเเมลงหวี่ขาวยาสูบ

3. คัดเลือกท่อนพันธ์ุสะอาด ใช้ท่อนพันธุ์จากเเปลงที่ไม่เคยเป็นโรคหรือใช้ท่อนพันธ์ุที่ทราบเเหล่งที่มา

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
และ http://www.farmkaset..link..

โรคใบด่างมันสำปะหลัง ยังไม่มียารักษาโดยตรง ทำได้โดยการ ป้องกัน กำจัด แมลงหวี่ขาว และ เพลี้ย พาหะของโรค

ฉีดพ่น มาคา เพื่อป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว และ เพลี้ยต่างๆ

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง เพิ่มผลผลิต

สามารถผสม มาคา และ FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
โรคข่าเหลือง โรคหัวเน่าในข่าเหลือง
โรคข่าเหลือง โรคหัวเน่าในข่าเหลือง
โรคหัวเน่า (Phytophthora Root Rot หรือ Wet Rot) เชื้อสาเหตุคือ Phytophthora drechsleri เชื่อโรคนี้จะเกิดในระยะกล้าและลงหัวแล้ว มักจะพบในบริเวณที่ดินมีระบบน้ำยาก และอยู่ใกล้กับทางน้ำหรือคลองโรคนี้อาจทาความเสียหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะอาการ ถ้าเกิดกับต้นยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลและเน่า ต้นจะเหี่ยวเฉา ถ้าเกิดกับหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเหม็น ใบเหี่ยวแล้วร่วงถ้าเกิดรุนแรงต้นจะตาย

การป้องกันกำจัด

- การเตรียมแปลงปลูก ควรจะเป็นดินร่วนมีการระบายน้ำดี ไม่ควรเป็นที่เคยมีน้ำท่วม ขังหรือใกล้ทางระบายน้ำ หากดินระบายน้ำยาก ควรปลูกโดยวิธียกร่อง

- ทำความสะอาดแปลงก่อนปลูกโดยการทำลายเศษพืชที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

- คัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์และปราศจากโรค

- ถ้าพบอาการรากเน่าเกินกว่า 3% ควรงดปลูกพืชนานอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากพืชสาเหตุมีพืชอาศัยกว้าง


อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม!! เป็นเพลงที่แต่งจากเรื่องจริง และมีภาพถ่ายผู้ใหญ่ลี ตัวเป็นๆให้ได้ดูกัน
ผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม!! เป็นเพลงที่แต่งจากเรื่องจริง และมีภาพถ่ายผู้ใหญ่ลี ตัวเป็นๆให้ได้ดูกัน
โฉมหน้า ผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม!!

มีความสงสัยมาตั้งนานปีแล้วว่า ตัวตนผู้ใหญ่ลี ในเพลงผู้ใหญ่ลีนี่มีตัวตนจริงหรือไม่

ที่สุดวันนี้ก็ได้ภาพมาเฉลยให้กระจ่างใจตน

อาจจะเป็นที่มาแห่งเพลงผู้ใหญ่ลี ที่ร้องกันทั่วบ้าน ทั่วเมือง ร้องกันรุ่นปู่ รุ่นย่า ยันรุ่นปัจจุบัน

ในภาพคือ ผู้ใหญ่ลี นาคะเดช

อดีตผู้ใหญ่บ้านแห่งบ้านหนองหมาว้อ ตำบลนาจิก อำเภออำนาจเจริญ อุบลราชธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ผู้ทำให้เกิดตำนานเพลงอันโด่งดังในอดีต

"ผู้ใหญ่ลี"

เพลงนี้โด่งดังมากๆเมื่อสัก 50 ปีก่อน คือ ปี 2504 เพราะเป็นเพลงลูกทุ่งที่ร้องกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง ลูกเล็กเด็กแดง ร้องกันเป็นหมด ด้วยจังหวะเพลงที่จัดว่าสนุกในสมัยนั้น และยังมีเนื้อหาที่เสียดสีสังคมไปในทางขบขันสะท้อนให้เห็นทั้งการสื่อสารระหว่างทางการกับประชาชน เพราะแม้กระทั่งตัวผู้ใหญ่ลีที่เป็นหัวหน้าชุมชน ในระดับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ยังมีปัญหาในการจับประเด็นเรื่องราวมาถ่ายทอดให้ชาวบ้านฟัง ในยุคที่ มีการประกาศใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกคือ ปี พ.ศ. 2503ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อนำพาให้บ้านเมืองไปสู่ความสมัยใหม่ตามแบบประเทศพัฒนาฝั่งตะวันตก
ในเนื้อหาของเพลงบางวรรค

"แดดฮ้อนฮ้อนใส่แว่นตาดำ... ถอดแว่นตาดำ ฟ้าแจ้งจางปางๆ..."
(แกคงใส่ในที่ร่มแล้ว มันมืดมัวซัวไปหมด)...

กัดหยิกเจ็บนิดๆไปถึงการแต่งตัวผู้ใหญ่ลีที่นำสมัย
ผิดแผลกแตกต่างไปจากยุคนั้น เพราะแว่นตาดำหรือแว่นกันแดดคงเป็นสิ่งโก้หรูมิน้อย

เนื้อเพลงเต็มไปด้วยความสนุกของภาษาถิ่นอีสานอย่างมีอารมณ์ขัน

เพลงนี้ต้นฉบับขับร้องโดย ศักดิ์ศรี ศรีอักษร บันทึกเสียงครั้งแรกในปี 2507
ในส่วนของเนื้อเพลงก็แต่งโดยสามีของนางเอง ชื่อ พิพัฒน์ บริบูรณ์
ซึ่งเนื้อหาของเพลงได้ถูดดัดแปลงมาจาก รำโทน เรื่องราวของชายชาวอีสานชื่อผู้ใหญ่ลี มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านนั่นเอง

แหล่งที่มาของข้อมูล
ได้มาจากการส่งต่อๆกันทางไลน์ จึงไม่ทราบต้นทางของผู้เรียบเรียง
อ่าน:3572
โรคบวบ ราน้ำค้างบวบ ราแป้งบวบ บวบใบไหม้ โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
โรคบวบ ราน้ำค้างบวบ ราแป้งบวบ บวบใบไหม้ โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
บวบหอม บวบเหลี่ยม บวบขม บวบงู ซูกินี่ เป็นพืชระสั้น ได้ผลผลิตเร็ว สามารถปลูกหลังการปลูกข้าวโพด หรือหลังการทำนาได้ บวบ ก็มีปัญหาทางด้าน โรคและแมลงอยู่บ้าง ที่สามารถป้องกัน กำจัดได้ หากเข้าใจพื้นฐาน ของโรคพืช และแมลงศัตรูพืช

โรคราน้ำค้างของบวบ เป็นโรคประจำชนิดหนึ่งที่มักพบเสมอๆ เกิดจากราชั้นต่ำที่มีชื่อว่า ซูโดเพอเรอโนสปอร่า อาการมักแสดงบนใบ มีแผลเหลี่ยมเล็ก สีเหลือง บางครั้งเป็นแผลสีขาว หรือสีเทา ต่อมา ใบเหลือง แห้ง แผลจะเกิดในขอบเขตเส้นใบ เช่นเดียวกับแตงกวา

โรคราต่างๆนี้ ส่งผลให้ บวบ ติดผลน้อย ผลเล็ก ความหวานลดลง หากโรคราเหล่านี้ระบาดเร็ว จะส่งผลให้ใบเหลืองแห้งตายทั้งต้น เถาตายก่อนเก็บเกี่ยว

โรคราน้ำค้าง (downy mildew of grapes) มี Plasmopara viticola เป็นเชื้อราสาเหตุของโรค โรคราน้ำค้าง และแสดงอาการเป็นขุยสีขาวที่ใต้ใบ ด้านบนใบจะเป็นเป็นสีเหลืองจ้ำๆ ช่อดอก และผลอ่อนจะเหี่ยวแห้ง และมีอาการใบไหม้ โรคราน้ำค้าง ระบมาดมากในช่วงที่มีความชื้นสูง เช่น ฤดูฝน

โรคราแป้ง (เชื้อรา Oidium sp.) พบเชื้อราคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดเป็นหย่อมๆ บนใบมักพบที่ใบส่วนล่างของต้นก่อน ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมอาการโรคจะกระจายทั่วทั้งใบ และลุกลามขึ้นไปยังใบส่วนบนของต้น เห็นเชื้อราคล้ายผงแป้งสีขาวปกคลุมใบเกือบทั้งต้น ต่อมาใบค่อยๆซีดเหลืองและแห้ง หากโรคระบาดรุนแรงจะลุกลามไปยังทุกส่วนของพืช ทำให้ต้นแห้งตายในที่สุด ถ้าพืชเป็นโรคในระยะติดผลอ่อน จะทำให้ผลแกร็น บิดเบี้ยว ผวขรุขระ เป็นตุ่ม หรือแผลที่เปลือก

การป้องกันกำจัด โรคราต่างๆ
1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
4. ฉีดพ่น ไอเอส และ FK-1 ในอัตราส่วนที่แนะนำ สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้

ไอเอส ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล กิ่งแห้ง โรคใบติด โรคราน้ำค้าง ราสนิม แอนแทรคโนส ไฟธอปโทร่า หรือ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ไอเอส หยุดโรค และ FK-1 ธาตุหลัก N-P-K ธาตุรอง ธาตุเสริม Ca_ Mg_ Zn สำหรับบำรุงให้แข็งแรง โตไว ผลผลิตดี สร้างภูมิคุ้มกันโรค

ตัวอย่างโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
#ราน้ำค้างบวบ #ราแป้งบวบ #ราแป้งซูกินี่ #ราน้ำค้างซูกินี่ #ราน้ำค้างองุ่น #ราแป้งองุ่น #แอนแทรคโนสองุ่น #ราน้ำค้างแคลตาลูป #ราน้ำค้างเมล่อน #ราน้ำค้างข้าวโพด #ราน้ำค้างถั่วเหลือง #ราน้ำค้างกะหล่ำปลี #ราน้ำค้างฟักแม้ว #ราน้ำค้างฟักเขียว #ราน้ำค้างแตงกวา #ราน้ำค้างมะระจีน #ราน้ำค้างฟักทอง #ข้าวไหม้คอรวง #ข้าวเน่าคอรวง #ข้าวขาดคอรวง #โรคข้าว #แตงโมเถาเหี่ยว #ราน้ำค้างแตงโม #แตงโมใบไหม้ #โรคพืช #โรคใบไหม้ #โรคราสนิม #โรคใบติด #ทุเรียนใบติด #โรคราน้ำค้าง #แอนแทรคโนส #ไฟธอปโทร่า #โรคกุ้งแห้ง #โรคใบจุด #ราแป้ง #โรคเหี่ยว

ตัวอย่างเชื้อรา สาเหตุโรคพืชต่างๆ
#Pyricularia_oryzae สาเหตุ โรคไหม้คอรวง ข้าวเน่าคอรวง
#Phytophthora_spp. #Sclerotium_spp. สาเหตุ โรครากเน่า โคนเน่า
#Capnodium_sp. #Meliola_sp. สาเหตุ โรคราดำ
#Maravaria_pterocarpi (ราสนิมพะยูง)
#Olivea_teetonae (ราสนิมสัก)
#Cercospora_sp. #Macrophoma_sp. สาเหตุ โรคใบจุด
#Alternaria_sp. #Phyllachora_sp. สาเหตุ โรคใบจุดนูนดำ
#Pestalotropsis_sp. สาเหตุ โรคใบไหม้
#Oidium_sp. #Uncinula_tectonas สาเหตุ โรคราแป้ง
#Verticillium_sp. #Fumsarium_spp. #Selerotium_sp. สาเหตุ โรคเหี่ยว

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง (เลือกแยกซื้อได้)

http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอเอส อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอเอส อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

ข้อมูลและอัตราผสมใช้
🍂 ไอเอส อัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)
🌿 FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส ได้เลย
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🍂ข้อมูลจำเพาะ ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้ ไอเอส ในช่วงรักษาโรคพืชจากเชื้อรา กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูลจำเพาะ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig s law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น
โรคมะม่วง มะม่วงใบไหม้ แอนแทรคโนสมะม่วง ใบจุดมะม่วง โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
โรคมะม่วง มะม่วงใบไหม้ แอนแทรคโนสมะม่วง ใบจุดมะม่วง โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
โรคราแป้งมะม่วง (Powdery Mildew) สาเหตุ: เชื้อรา Oidium mangiferae Berthet

โรคแอนแทรกโนสมะม่วง (Anthracnose) สาเหตุ: เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides

โรคราดำมะม่วง (Sooty Moulds / Black Mildew) สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Cladosporium sp.

โรคมะม่วงยางไหล มะม่วงกิ่งแห้ง (Gummosis and twig blight) สาเหตุ: เชื้อรา Lasiodiplodia theobromae (Pst.) Griffon & Maubl. (Botryodiplodia theobromae Pal.)

การป้องกันกำจัด

ชุดคู่ป้องกันกำจัด บวกด้วยฟื้นฟูบำรุง

ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัด ยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ โรคใบไหม้ ใบจุด ยอดแห้ง ราสนิม ราน้ำค้าง แอนแทรคโนส ไฟทอปโธร่า

และ FKธรรมชาตินิยม ฟื้นฟู แก้ต้นโทรม ราพืชไม่กินปุ๋ย อาการใบซีด ใบเหลือง ต้นแคระ อาการขาดธาตุอาหารของพืช

โรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ยกตัวอย่างโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น อาการ ใบไหม้ ใบจุด ใบขีดสีน้ำต้าง โรคใบติด ราสนิม ราน้ำค้าง โรคกุ้งแห้ง แอนแทรคโนส ไฟท็อปโธร่า เป็นต้น

ทั้งอาการใบไหม้ และใบเหลือง เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดได้จากโรค และการขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็น รวมถึงการให้น้ำ และการได้รับแสงแดด ซึ่งการพิจารณาสาเหตุนั้น ต้องสังเกตุอาการ และแก้ปัญหาทีละจุด

ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืชต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FKธรรมชาตินิยม แก้ปัญหาโรคพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารพืชต่างๆ และส่งเสริมการเจริญเติบโต ตลอดไปถึง การส่งเสริมผลผลิตพืช

ยกตัวอย่างเช่น

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคเชื้อรา
- โรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคใบขีดสีน้ำตาล จะต่างจากการขาดธาตุที่สังเกตุได้คือ โรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา จะลุกลามไปยังใบไหม้ และลุกลามขยายวงไปยังต้นข้างเคียง
- โรคราแป้ง ราสนิม ราน้ำค้าง มีการลุกลามติดต่อเช่นกัน

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากการขาดธาตุ
- ขาด โพแทสเซียม ที่ใบแก่จะเหลืองซีด ขอบใบมีจุดสีน้ำตาลไหม้
- ขาด แมกนีเซียม ใบจะมีจุดเหลืองทั่วทั้งใบ ที่ปลายใบจะแห้ง
- ขาด สังกะสี ใบจะมีจุดเหลืองคล้ายราสนิม

อาการใบเหลือง ใบซีด ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ใบเหลือง จากการขาดธาตุ ไนโตรเจน
- ใบเหลือง เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอ
- ใบเหลือง เพราะรดน้ำมาก หรือน้อยจนเกินไป
- ใบเหลือง เพราะค่า pH หรือความเป็นกรดด่างของดิน ไม่เหมาะสม
- ใบเหลือง เพราะขาดธาตุเหล็ก
- ใบเหลือง เพราะพืชลดจำนวนคลอโรฟิลล์ เพราะการขาดธาตุรอง หรือธาตุเสริมบางอย่าง

อาการใบไหม้และโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ทุก 3-5 วัน

อาการของพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุต่างๆ ฉีดพ่น FK ธรรมชาตินิยม

หมายเหตุ สามารถ ผสม ไอเอส และ FK ธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปพร้อมกันในคราวเดียว

อัตราส่วนผสม
ไอเอส 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
FKธรรมชาตินิยม 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
สามารถผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
*สำหรับท่านที่พ่นด้วย ฟ็อกกี้ ขนาด 1-2ลิตร ใช้ฝา FKธรรมชาตินิยมตวงประมาณ 2ฝา


การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ลาซาด้า http://www.farmkaset..link..
การปลูกยางพารา
การปลูกยางพารา
การปลูกยางพารา
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกร

พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่

พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24_ สงขลา 36 2/_ RRIM 600_ GT 1_ PR 255_ PR 261
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217_ RRIC 110_ RRIC 100_ PB 260_ PB 255_ PB 235
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251_ PR 305_ PR 302_ RRIC 101_ BPM 1_ RRIM 712_ KRS 250_ KRS 226_ KRS 225_ KRS 218_ PB 311_ RRIC 121

พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600_ GT 1_ สงขลา 36_ BPM 24_ PR 255
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235_ PB 260



การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง

ความเตรียมพื้นที่ปลูกยาง
ในพื้นที่ที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นอยู่ จะต้องโค่นไม้ เหล่านั้นเสียก่อน การโค่นจะใช้วิธีตัดต้นไม้ให้เหลือตอสูง 40-50 เซนติเมตร แล้วทำลายตอไม้เหล่านั้นให้ผุสลายในภายหลัง โดยใช้สาร เคมีไทรโคลเปอร์ หรือการ์ลอน 4 (ชื่อการค้า) ในอัตรา 5 ซี.ซี. ผสมน้ำ 95 ซี.ซี. ต่อตอ โดยทาก่อนหรือหลังตัดต้นไม้ 1-7 วันก็ได้ หรือจะใช้ รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ออกจากแปลงให้หมดก็ได้เช่นกัน
หลังจากโค่นต้นยางเก่า หรือต้นไม้อื่นๆ แล้วต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้รวมเป็นกองๆ เรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตากให้แห้ง ทำแนวกันไฟแล้วเผา หลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง


การเตรียมหลุมปลูก

หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควรแยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุมี

การปลูกซ่อม

หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้

การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืชทำได้ 3 วิธีคือ
1. ใช้จอบถากหรือแทรกเตอร์ไถ วิธีนี้เกษตรกรนิยมใช้มากแต่มีข้อเสียคือจะกระทบกระเทือนต่อราก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต
2. ใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน โดยนำเมล็ดพืชคลุมดินแต่ละชนิดมาผสมกันแล้วนำไปปลูกโดยใช้เมล็ดพืชคลุมดินในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ ยกเว้นในท้องที่แห้งแล้งใช้อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อไร่

อัตราการผสมเมล็ดพืชคลุมดิน
ภาคใต้และภาคตะวันออก
- คาโลโปโกเนียม 2 ส่วน เซนโตรซีม่า 2 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
- คาโลโปโกเนียม 5 ส่วน เซนโตรซีม่า 4 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- คาโลโปโกเนียม 1 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
โดยก่อนปลูกควรนำเมล็ดพืชคลุมดินไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำร้อน 2 ส่วนผสมกับน้ำ เย็น 1 ส่วน) ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วเทน้ำทิ้ง ปล่อยให้เมล็ดแห้งพอหมาด จากนั้นนำเมล็ดไปคลุกกับปุ๋ยร้อคฟอสเฟตในปริมาณที่เท่ากันโดยน้ำหนัก แล้วจึงนำไปปลูกได้
- วิธีการปลูกพืชคลุมดิน ให้ใช้จอบขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 2-3 นิ้ว ให้เป็นแถว 3 แถว โดยให้แถวริม ที่อยู่ชิดแถวยางอยู่ห่างจากแถวยางข้างละ 2 เมตร ส่วนแถวกลางให้อยู่ระหว่างกลางของแถวริมทั้งสอง นำเมล็ดพืชคลุมดิน โรยลงในร่องแล้วเกลี่ยดินกลบเมล็ด
การปลูกพืชคลุมดินนี้ จะลงมือปลูกพืชคลุมดินก่อน หรือจะปลูกพร้อมๆกับ ปลูกยาง หรือหลังปลูกยางแล้ว ก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกและง่าย ต่อการกำจัด วัชพืชควรปลูกพืชคลุมดินหลังจาก ได้เตรียมดินวางแนว และกะระยะปลูกยาง เสร็จเรียบร้อยแล้ว
หลังจากปลูกพืชคลุมดินจนกระทั่งเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าเล็กๆแล้ว ควรดูแลกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งพืชคลุมดินเริ่มทอดเถาเลื้อย ไปคลุมดินจึงใส่ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ในอัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อบำรุงพืช คลุมดิน

3. การใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ให้ผลดี ประหยัดแรงงาน และเวลา นิยมใช้กับต้นยางที่มีอยายุ 1 ปีขึ้นไป หรือต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินมากกว่า 75 เซนติเมตรไปแล้ว ส่วนต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินน้อยกว่า 75 เซนติเมตรไม่ควรใช้วิธีนี้

การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับยางอ่อน
การปลูกยางโดยใช้ต้นตอตาหรือยางชำถุง จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแถวยาง ได้อย่างปลอดภัยต่อเมื่อต้นยางมีเปลือก สีน้ำตาลที่บริเวณ โคนต้นสูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร
สารเคมีที่ใช้ในสวนยางอ่อนมีอยู่หลายสูตร แต่จะแนะนำเฉพาะบางสูตรที่หา ได้ง่ายเช่น
สูตรที่ 1 ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ระวังอย่าให้สารเคมี ถูกใบหรือส่วนที่เป็นสีเขียวของต้น สูตรนี้จะเหมาะกับต้นยาง ที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สามารถคุมวัชพืชได้นาน 3-5 สัปดาห์ โดยหลังจากพ่นสารเคมี แล้วยภายใน 2-3 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์
สูตรที่ 2 ใช้ดาลาพอน 800 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่น และหลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้พ่นซ้ำด้วยพาราควอท 40 กรัม (เนื้อสาร บริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ อีกครั้งหนึ่ง สูตรนี้เหมาะกับต้นยาง ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว
สูตรที่ 3 ใช้พาราควอท 60 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) และ 2_4-ดี 150 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สุตรนี้จะเหมาะกับต้นยาง ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งพืชคลุม ที่เลื้อยเข้าไปพันต้นยาง
สูตรที่ 4 ใช้ไกลโฟเสท 205 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สามารถ กำจัดวัชพืชได้หลายชนิดโดยไม่มีพิษตกค้างในดิน สามารถคุมวัชพืช ได้นาน 2 เดือน สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยหลังจากพ่น สารเคมีแล้วภายใน 6 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์

การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับสวนยางที่กรีดแล้ว
ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีเหลือง

การกำจัดหญ้าคา
การใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคานับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยมีสูตรการใช้สารเคมีให้เลือก 3 สูตรคือ
สูตรที่ 1 ใช้ดาราพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีแดง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้ดาลาพอนในอัตราเดิม ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง จากนั้นประมาณ 3-4 เดือน หากมีหญ้าคางอกหรือหลงเหลืออยู่ ควรฉีดพ่นสารเคมี อีกครั้งในอัตราเดิม
สูตรที่ 2 ถ้าต้นยางมีอายุตั้งแต่ 2 ปี ลงมาและมีหญ้าคาขึ้นบริเวณโคนต้น ให้ฉีดพ่น ด้วยด้วยดาลาพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อลดอันตรายของต้นยางอ่อนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากดาลาพอน
สูตรที่ 3 ใช้ไกลโฟเสท 410 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว
ข้อสังเกต การกำจัดหญ้าคาควรฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่หญ้าคากำลัง เจริญเติบโต (ต้นฤดูฝน) จะได้ผลดีที่สุด การกำจัดหญ้าคาด้วยไกลโฟเสทให้ผลดีกว่า ดาลาพอน ซึ่งดาลาพอนต้องพ่นถึง 2 ครั้ง แต่เมื่อเปรียบเทียบทางด้านค่าใช้จ่ายแล้วการใช้ดาลาพอนจะประหยัดกว่า
หมายเหตุ : เนื้อสารบริสุทธิ์ หมายถึง ปริมาณสารออกฤทธิ์ซึ่งจะต้องปรากฏ ในฉลาก ที่ภาชนะบรรจุเป็นภาษาไทย ตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 21


บริเวณที่ใส่ปุ๋ย

ระยะแรกหลังจากปลูกยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้น ประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไปจนถึงกึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากก็จะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่น อยู่ในบริเวณห่างจากลำต้น ประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การ ดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณ ที่มีรากดูดอาหาร หนาแน่นคือเมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยเป็นวงกลม รอบลำต้น ส่วนต้นยาง ที่มีออายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาว ไปให้แถวยาง ห่างจากโคน ต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่าง จากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยาง ที่เปิดกรีด แล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร


บริเวณที่ใส่ปุ๋ยให้ต้นยางก่อนเปิดกรีด

การกรีดยาง

การกรีดยางต้องยึดหลักที่ว่า เมื่อกรีดแล้วจะต้องได้น้ำยางมากที่สุด เปลือกเสียหายน้อยที่สุด กรีดได้นาน 25-30 ปี และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด

ขนาดของต้นยางที่เปิดกรีดได้
1. ขนาดของต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดต้องมีเส้นรอบต้นไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร วัดที่ความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร
2. เปิดกรีดครั้งแรกเมื่อมีจำนวนต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดในสวนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ของต้นยาง ทั้งหมดในสวน
3. ต้นยางติดตา สามารถเปิดกรีดครั้งแรกได้ที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 50_ 75_ 100_ 125_ หรือ 150 เซนติเมตรระดับใดระดับหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าเปิดกรีดต่ำจะได้รับผลผลิตมากกว่า



วิธีติดรางและถ้วยรับน้ำยาง

เวลาที่เหมาะสมในการกรีดยาง
ควรจะเริ่มกรีดยางตั้งแต่ตอนเช้า ประมาณ 06.00-08.00 น. เพราะจะทำให้ปฏิบัติงานได้สะดวก เนื่องจากมองเห็นชัดเจนกว่ากลางคืนและผลผลิตที่ได้ใกล้เคียงกับการ กรีดในตอนกลางคืน

ขนาดของงานกรีดยาง
คนกรีดยาง 1 คน จะสามารถกรีดยางในสวนยางที่ปลูกในพื้นที่ราบ ตามระบบครึ่งลำต้นวันเว้นวัน
ได้ประมาณ 400-450 ต้นต่อวัน

วิธีการกรีดยาง
ควรกรีดยางโดยใช้วิธีกระตุกข้อมือหรือการซอย พร้อมกับย่อตัวและสลับเท้าไปตามรอยกรีด ของต้นยาง อย่ากรีดโดยวิธีใช้ท่อนแขนลากหรือกระชากเป็นอันขาด การกรีดโดยวิธีกระตุกข้อมือจะทำให้กรีดได้เร็ว ควบคุมการกรีดง่าย กรีดเปลือกได้บาง แม้จะกรีดบาดเนื้อไม้ก็จะบาดเป็นแผลเล็กๆเท่านั้น

ระบบการกรีดยาง
เนื่องจากในระยะ 2-3 ปีแรกของการกรีด ต้นยางยังอยู่ในระยะการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง การกรีดยาง มากเกินไปจะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงควรกรีดยางในระบบครึ่งต้นวันเว้นวัน โดยหยุดกรีดในช่วงผลัดใบและไม่มีการกรีดชดเชยเพื่อ ทดแทน วันที่ฝนตกจนกระทั่งปีที่ 4 ของการกรีดเป็นต้นไป จึงสามารถกรีดชดเชยได้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันนี้ใช้ได้กับยาง เกือบทุกพันธุ์ ยกเว้นบางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่ายเท่านั้นที่ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นสองวัน

ข้อควรปฏิบัติในการกรีดยาง
1. ควรกรีดยางตอนเช้าหลังจากที่มีแสงสว่างแล้ว
2. กรีดยางเฉพาะต้นที่ได้ขนาดแล้ว
3. รอยกรีดจะต้องเริ่มจากซ้ายบนมาขวาล่าง เอียงประมาณ 30 องศากับแนวระดับ
4. อย่ากรีดเปลือกหนา เพราะจะทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหาย
5. อย่ากรีดเปลือกหนา ภายใน 1 เดือน ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 2.5 เซนติเมตร หรือภายใน 1 ปี ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 25 เซนติเมตร
6. หยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบหรือเป็นโรคหน้ายาง
7. มีดกรีดยางต้องคมอยู่เสมอ
8. การเปิดกรีดยางหน้าที่สองและหน้าต่อไปให้เปิดกรีดที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร

การกรีดยางหน้าสูง
การกรีดยางหน้าสูง หมายถึง การกรีดยางหน้าบนเหนือหน้ากรีด ปกติซึ่งเป็นส่วน ที่ไม่เคยกรีดยางมาก่อน ต้นยางที่เหมาะสมที่จะทำการกรีดยางหน้าสูงคือ ต้นยางก่อนโค่นซึ่งมีอายุมาก หรือหน้ากรีดปกติเสียหาย
โดยทั่วไปการกรีดยางหน้าสูงจะต้องใช้สารเคมีเร่งน้ำยาควบคู่กันไปด้วย เพื่อต้องการให้ได้รับยาง มากที่สุดก่อนที่จะโค่นยางเก่าเพื่อปลูกแทน 2-4 ปี โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางอีเทรล 2.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเร่ง

การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับรอยกรีดหน้าล่าง
วิธีนี้เหมาะสำหรับต้นยางที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ ทาเหนือรอยกรีดหน้าล่างทุก 3 สัปดาห์โดยไม่ต้องขูดเปลือกและลอกขี้ยาง แต่ต้องกรีดครึ่งต้น วันเว้นสองวันโดยเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดอาการ โรคเปลือกแห้ง ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมี เร่งน้ำยายางกับยางที่เพิ่งเปิดกรีดใหม่ ยกเว้นยางบางพันธุ์ที่มักจะให้น้ำยางน้อย ในช่วงแรก ของการเปิดกรีด เช่น พันธุ์จีที (GT) 1 อาจใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ทาในรอยกรีด โดยลอกขี้ยางออกก่อนจากที่เปิดกรีดไปแล้ว 1 เดือนก็ได้และทาสารเคมีเร่งน้ำยางทุก 3-4 เดือน หรือปีละ 3-4 ครั้ง ใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นสองวัน แต่ในปีถัดไปถ้าผลผลิตสูงขึ้น แล้วควรหยุดใช้ สารเคมีเร่งน้ำยาง

สรุปคำแนะนำการกรีดยางและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
เรื่อง คำแนะนำ
การเปิดกรีด
- ต้นติดตา - เปิดกรีดเมื่อเส้นรอบวงของลำต้นมีขนาดตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป โดยวัดตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร
- รอยกรีดทำมุม 30 องศากับแนวระดับ เอียงจากซ้ายบนลงมาขวาล่าง
- หน้าที่ 1 เปิดกรีดที่ระดับ 50_ 75_ 100_ 125 หรือ 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน ระดับใดระดับหนึ่งก็ได้ แต่หน้าที่ 2 และเปลือกงอกใหม่เปิดกรีดที่ระดับ 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน
ระบบกรีด
-กรีดยางหน้าล่าง - กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันสำหรับ ยางทุกพันธุ์ยกเว้น บางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย เช่น พันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 628_ พีบี 28/59_ พีบี 5/63
-กรีดยางหน้าสูง - การกรีดมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ใช้ระบบกรีดขึ้นหนึ่ง ในสามของลำต้นวันเว้นวัน ควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
- การกรีดน้อยกว่า 2 ปี ใช้ระบบกรีดขึ้นหนึ่งในสี่ของลำต้น 2 รอย กรีดสลับรอยทุกวัน ควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
- การกรีดหักโหม ( 6 เดือนก่อนโค่น) ใช้ระบบกรีด ขึ้นครึ่งลำต้น 2 รอยสลับวันกัน ควบคู่กับการใช้สารเคม ีเร่งน้ำยางเมื่อถึงเดือนสุดท้ายก่อนโค่น ให้กรีดทั้ง 2 รอยพร้อมกัน
การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับการกรีดยางหน้าล่าง
-ใช้กัเปลือกงอกใหม่ - ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ เหนือรอยกรีดทา เป็นรอยกว้าง 1.25 เซนติเมตรใช้ปีละ 3-4 ครั้ง
- ควรกรีดวันเว้นสองวัน
- ใส่ปุ๋ยเป็นประจำทุกปี
-ใช้กับเปลือกเดิม - ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ โดยวิธีลอกขี้ยางออกแล้วทาในรอยกรีด ใช้ปีละ 3-4 ครั้ง
- ควรกรีดวันเว้นสองวัน
- ทาสารเคมีเร่งน้ำยางทันทีที่ลอกขี้ยางเสร็จ
-การกรีดยางหน้าสูง - ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ บนรอยขูดเปลือกในแนวตั้ง 3 รอย ความยาวของรอยที่ขูด 40-50 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร
- ทาทุก 1-2 เดือน

**ควรใช้เฉพาะกับยางพันธุ์จีที (GT) 1 ในช่วง 1-3 ปีแรกของการเปิดกรีด

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง

ยางพาราจะสามารถปลูกได้และให้ผลดีถ้ามีสภาพแวดล้อมบางประการ ที่เหมาะสมดังนี้
1. พื้นที่ปลูกยาง
- ไม่ควรอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 200 เมตร และไม่ควรมีความลาดเทเกิน 45 องศา หากจะปลูกยางในพื้นที่ที่มีความลาดเทเกิน 15 องศาขึ้นไป ควรปลูกแบบขั้นบันได
2. ดิน
- ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร โดยไม่มีชั้นของหินแข็งหรือดินดาน ซึ่งจะขัดขวางการเจริญเติบโตของราก เนื้อดินควรเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีการระบายน้ำและอากาศดี น้ำไม่ท่วมขัง ระดับน้ำใต้ดินลึกกว่า 1 เมตร ไม่เป็นดินเค็มและมีความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.5
3. น้ำฝน
- มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1_350 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกไม่น้อยกว่า 120 วันต่อปี
4. ความชื้นสัมพันธ์
- เฉลี่ยตลอดปีไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์
5. อุณหภูมิ
- เฉลี่ยตลอดปีไม่แตกต่างกันมากนัก ควรมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24-27 องศาเซลเซียส
6. ความเร็วลม
- เฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 1 เมตรต่อวินาที
7. แหล่งความรู้
- ควรมีแหล่งความรู้เรื่องยางไว้ให้บริการแก่เกษตรกรในพื้นที่ด้วย

การเตรียมดิน

เมื่อเผาปรนเสร็จให้เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง ในกรณีที่เป็น พื้นที่ลาดเทมาก เช่น เนินเขาชันเกิน 15 องศา จะต้องทำขั้นบันไดหรือชานดิน เพื่อป้องกันมิให้น้ำฝนชะล้างเอาหน้าดินไหลไปตามน้ำ อาจทำเฉพาะต้นหรือ ทำยาวเป็นแนวเดียวกัน ล้อมเป็นวงกลมรอบไปตามไหล่เขาหรือเนินก็ได้ โดยให้ระดับขนานไปกับพื้นดิน ขั้นบันไดควรกว้างน้อยที่สุด 1.50 เมตร แต่ละขั้น ให้ตัดดินลึกและเอียงเข้าไปในทางเนินดิน ตรงขอบด้านนอกทำเป็นคันดินสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 60-70 เซนติเมตร ระยะระหว่างขั้นบันไดประมาณ 8-10 เมตร

ชนิดของต้นพันธุ์ยาง

1. ต้นตอตา
คือ ต้นกล้ายางที่ได้รับการติดตาด้วยยางพันธุ์ดีหลังจากที่ติดตาเรียบร้อยแล้ว จึงถอนขึ้นมาตัดแต่งราก และตัดต้นเดิม เหนือแผ่นตาประมาณ 2 ฝ นิ้วทิ้ง แล้วนำต้นตอที่ได้ไปปลูกทันที ต้นตอตาจะเป็นต้นพันธุ์ที่ไม่มีดินห่อหุ้มรากหรือเรียกว่าต้นเปลือกราก

2. ต้นติดตาชำในถุงพลาสติกหรือยางชำถุง
คือ ต้นตอตาที่น้ำมาชำในถุงพลาสติกขนาดกว้าง 4 ฝ นิ้วยาว 14 นิ้ว หรือขนาดใหญ่กว่านี้ที่บรรจุดินไว้เรียบร้อยแล้ว ดูแลบำรุงรักษา จนตาแตกออกมาเป็นใบได้ขนาด 1-2 ฉัตร อายุประมาณ 3-5 เดือน และมีใบในฉัตรยอดแก่เต็มที่

3. ต้นยางที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง
คือการปลูกสร้างสวนยางโดยใช้เมล็ดปลูกในแปลงโดยตรง เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมจึงทำการติดตาในแปลงปลูก

ต้นพันธุ์ยางทั้ง 3 ชนิดดังที่กล่าวมาแล้วเหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออก และภาคใต้ แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแนะนำให้ปลูกด้วยต้นยางชำถุง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น


การใส่ปุ๋ย

สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดิน และอายุของ ต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตารางที่ 3

ตารางที่ 3 แสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง

ปุ๋ยสูตรที่

สูตรปุ๋ย

ชนิดของดิน

อายุของต้นยาง
ปุ๋ยเม็ด
ปุ๋ยผสม
1 18-10-6 8-14-3 ดินร่วน 2 - 41 เดือน
2 18-4-5 13-9-4 ดินร่วน 47 - 71 เดือน
3 16-8-14 8-13-7 ดินทราย 2 - 41 เดือน
4 14-4-19 11-10-7 ดินทราย 47 - 71 เดือน
5 - 15-0-18 ดินทุกชนิด ต้นยางหลังจากเปิดกรีดซึ่งเคยปลูกพืชคลุมดิน และใส่ปุ๋ยฟอสเฟต บำรุงพืชคลุมดิน
6 15-7-18 12-5-14 ดินทุกชนิด ต้นยางหลังเปิดกรีด ซึ่งไม่เคยปลูกพืชคลุมดินมาก่อน


หมายเหตุ
- ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
- ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยผสมเป็นค่าของฟอสฟอรัสทั้งหมด

- ดินทราย คือดินที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย อุ้มน้ำไม่ดี ถูกชะล้างได้ง่ายตรึงธาตุอาหารได้น้อย
มีโปแตสเซียมต่ำ
-ดินร่วน คือดินที่มีเนื้อดินละเอียดพอสมควร อุ้มน้ำได้ดี มีการระเหยน้ำและถ่ายเทอากาศพอเหมาะ
ตรึงธาตุอาหารได้มากพอสมควร มีโปแตสเซียมตั้งแต่ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
- ปุ๋ยเม็ด คือปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุดิบให้กำเนิดปุ๋ยไปผ่านกรรมวิธีการผลิตทางเคมีตามขั้นตอนต่างๆ
ปุ๋ยที่ได้จะเป็นเนื้อเดียวกัน ปุ๋ยแต่ละเม็ดจะมีองค์ประกอบของธาตุเหมือนๆ กัน เช่นปุ๋ยสูตร 15-7-18_ 15-15-15 จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดและมีผู้นิยมใช้มากที่สุด
- ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเชิงเดี่ยวมาผสมด้วยวิธีกลโดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี เช่น
นำเอาปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยร้อคฟอสเฟตและปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์มาผสมคลุกเคล้ากันในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ แล้วนำไปใช้ทันที เป็นต้น

ปุ๋ยผสมสำหรับสวนยางจะใช้แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตร้อคฟอสเฟตและโปแตสเซียมคลอไรค์ผสมกันในอัตราส่วน
ที่แตกต่างกันไปตามสูตรปุ๋ยทั้ง 6 สูตร ดังแสดงไว้ในตารางที่ 4

ตารางที่ 4 แสดงปริมาณธาตุอาหารและส่วนผสมของแม่ปุ๋ยในปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ อัตรา 100 กิโลกรัม

ปุ๋ยผสมสูตรที่ ปริมาณธาตุอาหาร (%) น้ำหนักของแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสม (กิโลกรัม)
ไนโตรเจน (N) ฟอสเฟต
(P2 O5) โปแตสเซี่ยม (K2O) แอมโมเนียมซัลเฟต (21%N) ร้อคฟอสเฟต (25%P25) โปแตสเซี่ยมคลอไรด์
(60%K20)
1 8 14 3 38 57 5
2 13 9 4 60 34 6
3 8 13 7 36 53 11
4 11 10 7 50 38 12
5 15 - 18 71 - 29
6 12 5 14 57 20 23


หมายเหตุ - ควรผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ โดยคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมแล้ว ควรใช้ทันที ปุ๋ยจะไม่แข็งตัว และควรผสมให้ใช้หมดภายในครั้งเดียว

วิธีการใส่ปุ๋ย

วิธีการใส่ปุ๋ย
วิธีการใส่ปุ๋ยที่ดีจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติใส่แล้วพืชสามารถ ดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยดังนี้

ใส่รองพื้น- นิยมใช้ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เคลื่อนไหวได้ยาก เพราะถูกตรึ่งด้วยแร่ธาตุต่างๆ ในดิน โดยคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินแล้วใส่ลงในหลุมก่อนปลูกยาง

ใส่แบบหว่าน - เป็นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วบริเวณที่ใส่ปุ๋ย เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ที่เป็นที่ราบ และมีการกำจัดพืชด้วยสารเคมีเพราะเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกัน การชะล้างปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตก แต่ถ้าเป็นที่ราบที่กำจัดพืชด้วยวิธีถาก ควรคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินด้วย เพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย

ใส่แบบเป็นแถบ - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยโรยเป็นแถบไปตามแนวแถว ต้นยางในร่องที่เซาะไว้ แล้วกลบ วิธีนี้จะใช้กับต้นยางที่มีอายุ 17 เดือนขึ้นไป และยังเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อยหรือพื้นที่ทำขั้นบันได้ด้วย

ใส่แบบเป็นหลุม - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุมบริเวณรอบโคนหรือสองข้าง ของต้นยางประมาณ 2-4 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมกลบให้เรียบร้อย เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ลาดเท และไม่ได้ทำขั้นบันได

นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงเพื่อให้การใส่ปุ๋ยม ีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ ควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งหรือฝนตกชุกมากเกินไป และควรกำจัดพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ถ้าต้องการให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตดีสามารถเปิดกรีดได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะต้องมีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นยางสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงก่อนโค่น 3-5 ปี โดยปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

โรคและแมลงศัตรูยางพารา

1. โรครากขาว
เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่เกิดจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้กับยางทั่วไปทั้งยางอ่อนและยางแก่
ลักษณะอาการ
จะสังเกตเห็นพุ่มใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ใบร่วงหมดทั้งต้น ขอบใบม้วนเข้าด้านใน ถ้าตรวจดูที่รากจะเห็นเส้นใยของเชื้อราแตกสาขาเป็นร่างแหจับติดแน่นและแผ่คลุมผิวรากที่เป็นโรค ลักษณะของเส้นใย มีสีขาวปลายแบน เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะนูนกลมและกลายเป็นสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลแห้งซีด ในช่วงที่มีฝนตกจะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนต้นหรือส่วนรากที่โผล่พ้นดิน ลักษณะดอกเห็ดจะซ้อนกันหลายชั้น ผิวบนสีเหลืองแกมส้ม ขอบสีขาว ส่วนผิวล่างมีสีส้มแดงหรือน้ำตาล ถ้าตัดดอกเห็นตามขวางจะเห็นชั้นบนเป็นสีขาวและชั้นล่างเป็นสีน้ำตาลแดงชัดเจน
การป้องกันและรักษา
1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางจะต้องทำการถอนรากและเผาทำลายตอไม้ ท่อนไม้ให้หมด เพื่อทำลายเชื้อราอันอาจทำให้เกิด
โรครากขาวได้
2. หลังจากปลูกยางไปแล้วประมาณ 1 ปี หมั่นตรวจดูต้นที่เป็นโรค หากไม่พบต้นที่เป็นโรคให้ป้องกันด้วยการทาสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% เคลือบไว้ที่โคนต้นตรงคอดิน รากแก้ว และฐานของรากแขนงแขนง
3. หากพบต้นที่เป็นโรคบริเวณโคนต้น โคนรากและรากแขนงให้ตัดหรือเฉือนทิ้ง แล้วทาด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% ผสมน้ำและควรทำการตรวจซ้ำในปีต่อไป
4. ถ้าพบโรครากขาวในต้นยางอายุน้อยให้ทำการขดรากที่เป็นโรคขึ้นมาเผาทำลาย

2. โรคเส้นดำ
เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า เป็นโรคที่ทำอันตรายต่อหน้ากรีดยางมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูง ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุนแรงจนกรีดซ้ำหน้าเดิมไม่ได้ ต้นยางจึงให้ผลผลิตสั้นลงโดยอาจกรีดได้เพียง 8-16 ปีเท่านั้น
ลักษณะอาการ
จะปรากฏอาการเหนือรอยกรีด โดยในระยะแรกเปลือกจะซ้ำมีสีผิดปกติ ต่อมารอยช้ำจะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ ขยายตัวในแนวตั้ง ถ้าเฉือนเปลือกออกดูจะพบลายเส้นดำบนเนื้อไม้ อาการในขั้นรุนแรงจะทำให้เปลือกบริเวณนั้นปริและมีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกจะเน่าหลุดไปในที่สุด เปลือกงอกใหม่จะมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่า ทำให้กรีดยางต่อไปไม่ได้
การป้องกัน
1. อย่าเปิดหน้ายางหรือขึ้นหน้ายางใหม่ในระหว่างฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตก และอย่ากรีดลึกจนถึงเนื้อไม้เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหาย โอกาสที่เชื้อจะเข้าทำลายมีมากขึ้น
2. ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้
3. การกรีดยางในฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีโรคใบร่วงระบาด ควรทาหน้ายางด้วยสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษา
การรักษา
เมื่อพบหน้ากรีดยางเริ่มแสดงอาการให้ใช้สารเมตาแลคซิลอัตรา 7-14 กรัม (1/2 - 1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารแผ่กระจายและจับติด จำนวน 2 ซี.ซี. ( ฝ ช้อนชา) ใช้สารอย่างใดอย่างหนึ่งทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง จะสามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้แต่ถ้าหากฝนตกชุกติดต่อกันควรทาสารเคมีต่อไปอีกจนกว่าโรคนี้จะหาย

3. โรคเปลือกเน่า
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดรุนแรงมากในฤดูฝน ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุ่นแรงจนกรีดซ้ำไม่ได้
ลักษณะอาการ
ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทา ขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่น เหลือแต่เนื้อไม้สีดำ
การป้องกัน
1. เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในแหล่งปลูกยางที่มีความชื้นสูงมาก ๆ ดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงยางจะได้ลดลง
2. ถ้าพบว่าต้นยางเป็นโรคเปลือกเน่า ควรหยุดกรีดยางประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่ไปติดต้นอื่น

4. โรคเปลือกแห้ง
สาเหตุสำคัญเกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษา และการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในทอน้ำยางเองด้วย
ลักษณะอาการ
หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุดๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้ายังกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและ หลุดออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา
การป้องกันและรักษา
โรคนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ากรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมโรคกับต้นยางที่เปิดยางแล้ว จึงใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบยางต้นใดที่เป็นโรคนี้เพียงบางส่วน จะต้องทำร่องโดยการใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้โดยรอบบริเวณที่เป็นโรค โดยให้ร่องที่ทำนี้ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ในการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่เป็นโรค เปลี่ยนระบบกรีดใหม่ให้ถูกต้องและหยุดกรีดในช่วงผลัดใบ
การเอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูกใส่ปุ๋ยถูกต้องตามจำนวน และระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้อง จะช่วยป้องกันมิให้ยาวเป็นโรคเปลือก แห้งได้มาก


5. โรคใบร่วงและผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า
ลักษณะอาการ
ผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนอาการที่ใบจะพบว่าใบร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย ถ้านำใบยางที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคนี้จะสัมพันธุ์กับโรคเส้นดำด้วย เนื่องจากเกิดจากเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดโรคนี้จะทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตยางจะลดลงแต่ก็ไม่ทำให้ต้นยางตาย
การป้องกันและรักษา
ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรคนี้ ถ้าเป็นยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ทีจี 1 และในสวนยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ใช้แคปตาโฟล 80% ในอัตรา 2 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพุ่มใบทุกสัปดาห์ในระหว่างที่โรคกำลังระบาด ส่วนในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่การใช้สารเคมีป้องกันจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงไม่แนะนำให้ทำแต่จะแนะนำให้ใช้วิธีป้องกันรักษาโรคเส้นดำที่บริเวณหน้ากรีดแทน และหยุดกรีดระหว่างที่เกิดโรคระบาดเท่านั้น

6. ปลวก
จะทำลายต้นยางโดยการกัดกินส่วนรากและภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้ต้นยางยืนต้นตายโดยไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้จนกว่าจะขุดรากดู
การป้องกันและรักษา
ใช้สารเคมีกำจังแมลง ได้แก่ ออลดริน ดีลดริน เฮพตาคลอ หรือ คลอเดนในรูปของเหลว ราดที่โคนต้นให้ทั่วบริเวณรากของต้นที่ถูกทำลายและต้นข้างเคียง

7. หนอนทราย
เป็นหนอนของด้วงชนิดหนึ่งลักษณะลำตัวสั้นป้อม ใหญ่ขนาดนิ้วชี้ สีขาวนวล มีจุดเป็นแถวข้างลำตัว เมื่อนำมาวางบนพื้นดินตัวหนอนจะงอคล้ายเบ็ดตกปลา หนอนทรายจะเริ่มทำลายรากต้นยางขนาดเล็ก มีพุ่มใบ 1-2 ฉัตร ทำให้พุ่มใบมีสีเหลืองเพราะระบบรากถูกทำลายเมื่อขุดต้นยางต้นนั้นมาดูจะพบตัวหนอนทราย

8. โคนต้นไหม้
เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจัดและถูกแสงแดดเผา ทำให้โคนต้นยางตรงรอยติดตาทางทิศตะวันตกมีอาการไหม้ เปลือกไหม้ เปลือกแห้ง อาการจะลุกลามไปทางส่วนบนและขยายบริเวณไปรอบๆ ต้น จนแห้งตาย
การป้องกันและรักษา
ควรปลูกยางเป็นแถวในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อนเข้าฤดูแล้งให้ใช้ปูนขาวทารอบโคนต้น จากระดับ พื้นดินสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 1 เมตร แล้วใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นและใช้สีน้ำมันทารอยแผล

9. อาการตายจากยอด
อาการตายจากยอดมักเกิดกับยางอายุระหว่าง 1-6 ปี หลังจากประสบกับปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความร้อนระอุของพื้นดิน ตลอดจนพิษตกค้างของสารเคมีในดิน เช่น สารเคมีปราบวัชพืช สารกำจัดตอ หรือใส่ปุ๋ยมากเกินไป ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น มีชั้นของหินแข็งหรือดินดานอยู่ใต้ดินอาการตายจากยอดจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนหลังจากปลูกยางไปแล้ว 3 ปี
ลักษณะอาการ
กิ่ง ก้าน ยอด จะแห้งตายจากปลายกิ่ง ปลายยอด แล้วลุกลามลงมาทีละน้อย ๆ จนถึงโคนต้น และยืนต้นตายในที่สุด แต่ถ้าผ่านสภาวะแห้งแล้งไปแล้วต้นยังไม่ตาย ลำต้นหรือส่วนที่ยังไม่ตายจะแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ สำหรับส่วนที่แห้งตายไปแล้ว เปลือกจะล่อนออกถ้าแกะดูจะปรากฏเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำทั่วบริเวณเปลือกด้านใน
การป้องกันและรักษา
ถ้าสภาพดินเลวและแห้งแล้งจัดอาจให้น้ำช่วยตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมโคนต้นจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดความรุนแรงของอาการตายจากยอดได้ ควรให้ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด


ระยะปลูก

ระยะปลูก
1. พื้นที่ราบ
ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร จะได้จำนวน 88 ต้นต่อไร่
2. พื้นที่ลาดหรือพื้นที่เชิงเขา
ตั้งแต่ความชัน 15 องศาขึ้นไปต้องทำแนวขั้นบันไดโดยใช้ระยะระหว่างขั้นบันไดอย่างน้อย 8 เมตร ระยะระหว่างต้น 2.50 หรือ 3 เมตร
เมื่อกำหนดระยะปลูกได้แล้วก็ทำการวางแนวและปักไม้ทำแนวเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป แนวปลูกควรวางตามทิศทางลม

วิธีปลูก

การปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการปลูกด้วยต้น ตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน

1. การปลูกด้วยต้นตอตา
นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินล่าง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อยปักนำเป็นรูตรงกลางหลุมให้ลึกเท่ากับ ความยาวของรากแก้ว แล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่น พูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตา พยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี

2. การปลูกด้วยต้นยางชำถุง
2.1 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกและภาคใต้
นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยางชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดี ถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่น แล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก

2.2 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอจากนั้นวางยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดินเดิมก้นหลุมจัดต ให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย

ระยะเวลาและอัตราการใส่ปุ๋ย

ต้นยางก่อนเปิดกรีด ในระยะตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงต้นยางอายุประมาณ 17 เดือน จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้บ่อยครั้งในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของต้นยางหลังจากที่ต้นยางมีอายุ
เกิน 17 เดือนขึ้นไปแล้ว จะใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ดังแสดงไว้ในตารางที่5 และ6

ตารางที่ 5 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก

อายุ
ต้นยาง
(เดือน)

จำนวนปุ๋ยที่ใส่ (กรัมต่อต้น)

บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
สูตร 1 (ดินร่วน)
และ
สูตร 3 (ดินทราย)

สูตร 2 (ดินร่วน)
และ
สูตร 4 (ดินทราย)

ปุ๋ยผสม
2 60 130 ใส่รอบต้นรัศมี 30 เซนติเมตร
4 60 130 ใส่รอบต้นรัศมี 40 เซนติเมตร
6 90 200 ใส่รอบต้นรัศมี 40 เซนติเมตร
11 120 260 ใส่รอบต้นรัศมี 50 เซนติเมตร
14 120 260 ใส่รอบต้นรัศมี 60 เซนติเมตร
17 120 260 ใส่เป็นแถบในแถวยาง ห่าง
จากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร
23 190 400
29 190 400
35 190 400
41 190 400
47 250 530
53 250 530
59 250 530
65 250 530 ใส่เป็นแถบกว้าง 2.5 เมตร
ห่างจากโคนต้นยางข้างละ
อย่างน้อย 50 เซนติเมตร
71 250 530
77 250 530
83 250 530


ตารางที่ 6 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อายุต้นยางหรือเดือนที่ใส่ปุ๋ย

สูตรปุ๋ยที่ใช้กับชนิดของดิน

อัตราปุ๋ย (กรัมต่อต้น)
ดินร่วน

ดินทราย

ปุ๋ยเม็ด

ปุ๋ยผสม
1 เดือนหลังปลูก
ปุ๋ยเม็ด
18-10-6
หรือปุ๋ยผสม
8-14-3

ปุ๋ยเม็ด
16-8-14
หรือปุ๋ยผสม
8-13-7
45 100
4 เดือน (ต.ค.) 70 150
11 เดือน (พ.ค.) 90 200
16 เดือน (ต.ค.) 90 200
23 เดือน (พ.ค.) 135 300
28 เดือน (ต.ค.) 135 300
35 เดือน (พ.ค.) 135 300
40 เดือน (ต.ค.) 135 300
47 เดือน (พ.ค.)
ปุ๋ยเม็ด
18-4-5
หรือปุ๋ยผสม
13-9-4

ปุ๋ยเม็ด
14-4-9
หรือปุ๋ยผสม
11-10-7
190 400
52 เดือน (ต.ค.) 190 400
59 เดือน (พ.ค.) 190 400
64 เดือน (ต.ค.) 190 400
71 เดือน (พ.ค.) 190 400
76 เดือน (ต.ค.) 190 400


หมายเหตุ เดือนที่ใส่ปุ๋ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

ต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว จะใส่ปุ๋ย 2 ครั้งในอัตรา 1-1.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (แล้วแต่สูตรปุ๋ยที่ใช้) โดยใส่ครั้งแรกหลังจากที่ยาง
ผลัดใบแล้วในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ครั้งที่สองใส่ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม
ดังแสดงไว้ในตารางที่ 7

ตารางที่ 7 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้ว

เวลาที่ใส่ปุ๋ย
สำหรับยางที่
เปิดกรีดแล้ว

ชนิดของปุ๋ย

จำนวนปุ๋ยที่ใส่
(กรัมต่อต้น)

บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยผสม
ครั้งที่ 1
-ใส่ต้นฤดูฝนประมาณ
เดือนพฤษภาคม ปุ๋ยผสมสูตร 5 -

500

500
500

600

-
ใส่ทั่วแปลงยาง โดยหว่านให้ห่างจาก
แถวยางประมาณ 1 เมตร
ปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยผสมสูตร 6
ปุ๋ยเม็ดอื่นๆ
ครั้งที่ 2
-ใส่ปลายฤดูฝนประมาณ
เดือนกันยายน
ถึงเดือนตุลาคม ปุ๋ยผสมสูตร 5 - 500 ใส่ทั่วแปลงยางโดยหว่านให้ให้ห่างจาก
แถวยางประมาณ 1 เมตร
ปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยผสมสูตร 6 500 600
ปุ๋ยเม็ดอื่นๆ 500 -


หมายเหตุ ยางแก่ก่อนโค่น 3-5 ปี ควรงดใส่ปุ๋ย

อ้างอิง: http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3566
อยากทำน้ำพริกขายเริ่มต้นอย่างไรดี
อยากทำน้ำพริกขายเริ่มต้นอย่างไรดี
ผู้ประกอบการรายย่อย
หรือคนที่อยากเริ่มทำธุรกิจเป็นของตนเองหลายคนมักบอกว่า ตนเองหรือครอบครัวหรือมีญาติของตนเองทำน้ำพริกอร่อย มีสูตรเฉพาะไม่เหมือนใคร ทำให้ใครทานทุกคนก็ติดใจและมีแต่คนแนะนำให้ทำขาย แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เนื่องจากที่ผ่านมาเคยแต่ทำทานเองในบ้านหรือทำแจกเพื่อนฝูง ไม่มีสูตรชัดเจน ใช้กะๆดูเอา หรือใช้วิธีชิมๆเอา ไม่เคยรู้ว่าเก็บได้กี่วัน เก็บไว้นานๆไม่รู้ว่าคุณภาพเป็นอย่างไร จึงขอแนะนำสำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นประกอบอาชีพทำน้ำพริกขาย ให้สามารถนำไปประยุกต์ได้กับน้ำพริกทุกประเภท โดยขอยกตัวอย่างเป็นน้ำพริกแดงที่ใส่ปลาย่าง หรือบางคนเรียกว่าน้ำพริกปลาย่างก็ได้

น้ำพริกแดง หรือน้ำพริกตาแดง หรือน้ำพริกปลาย่าง หรือน้ำพริกเผา เป็นน้ำพริกที่มีรสเผ็ดและมีเนื้อค่อนข้างแห้งทำให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้เป็นเวลานาน จึงเหมาะสำหรับเวลาเดินทางไกลหรือไปเที่ยว หรือซื้อเป็นของฝาก

ในการทำอาหารเพื่อการจำหน่าย ผู้ประกอบการจะต้องมีสูตรการผลิตที่ชั่งตวงวัดที่เป็นมาตรฐาน และมีขั้นตอนการผลิตเรียงตามลำดับก่อนหลังเป็นขั้นตอน

วิธีบรรจุน้ำพริก
ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีบรรจุน้ำพริกโดยใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกที่ทนความร้อน เพื่อจำหน่ายและให้สามารถเก็บไว้ได้นาน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรจุขวดและให้ความร้อนฆ่าเชื้อ
1. หม้อนึ่งหรือลังถึงเพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อ
2. ทัพพีสำหรับบรรจุน้ำพริกลงขวดที่ผ่านการลวกน้ำร้อน เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว
3. ขวดพร้อมฝาสำหรับบรรจุ

วิธีบรรจุ
1. ทำความสะอาดขวดแก้วและฝาที่จะใช้บรรจุโดยการนึ่งในลังถึงด้วยการเรียงฝาและขวดแก้ว หรือขวดพลาสติกที่ทนความร้อนคว่ำวางบนลังถึง แล้วนำไปนึ่งบนน้ำต้มเดือด นานประมาณ 5-10 นาที ยกลงมาผึ่งให้แห้งสนิทก่อนนำไปบรรจุน้ำพริก
2. ใช้ทัพพีที่ลวกน้ำร้อนทิ้งให้แห้งก่อนนำมาตักน้ำพริกที่ผัดแล้ว บรรจุลงในขวดเว้นที่ว่างต่ำจากขอบด้านบนปากขวดประมาณ 1 นิ้ว หากขวดเลอะให้เช็ดปากขวดให้สะอาด ด้วยกระดาษทิชชู่ที่สเปร์ด้วยแอลกอฮอล์
3. ปิดฝาให้แน่น นำขวดน้ำพริกไปเรียงในลังถึง แล้วไปนึ่งบนน้ำเดือดนาน 15-30 นาที (ขึ้นกับขนาดขวด) เมื่อครบตามเวลาปิดไฟนำขวดออกมาตั้งทิ้งไว้ให้เย็นสนิท
4. เช็ดขวดรอบนอกให้แห้ง เก็บไว้ในที่อากาศเย็น ไม่อบอ้าว ห่างจากแสงสว่าง ปิดฉลากแสดงชื่อแสดงวันผลิตหรือวันหมดอายุและรายละเอียดของน้ำพริกนั้น ๆแล้วนำออกจำหน่าย

วิธีเก็บรักษาน้ำพริก
น้ำพริกทุกชนิดที่ผ่านการนึ่งหรือต้มทั้งขวดเพื่อฆ่าเชื้อด้วยความร้อน จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น โดยสามารถเก็บในสภาวะปกติได้นานกว่า 6 เดือนขึ้นไป แต่หลังเปิดฝาขวดใช้งานแล้วควรจัดเก็บในตู้เย็น และไม่ควรเก็บนานกว่า 1 เดือน โดยเฉพาะน้ำพริกประเภทที่มีน้ำมากควรรับประทานให้หมดภายใน 1 สัปดาห์หลังเปิดขวด

น้ำพริกที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนในการผลิต โดยทั่วไปอายุการเก็บรักษาของน้ำพริกประเภทแห้ง เช่น น้ำพริกตาแดง หรือน้ำพริกปลาย่าง จะเก็บได้นานกว่าน้ำพริกประเภทที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก โดยปกติแล้วน้ำพริกประเภทแห้งจะเก็บได้ประมาณ 5-10 วัน ในอุณหภูมิห้อง แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นสามารถเก็บได้ประมาณ 1-2 เดือน

ถ้าไม่ผ่านการฆ่าเชื้อสำหรับน้ำพริกที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากเช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องและน้ำพริกปลาทู จะไม่สามารถในสภาพปกติได้ จะต้องรับประทานภายในวันเดียว ถ้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้ไม่เกิน 15 วัน ถ้าเกินกว่านี้ ก็จะมีกลิ่นบูดเน่า รับประทานไม่ได้ ดังนั้นน้ำพริกที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากจึงนิยมทำขายกันสดๆ เพราะจะได้น้ำพริกที่มีรสชาติดีอร่อย

การเข้าสู่อาชีพการทำน้ำพริก
การเข้าสู่อาชีพ "การทำน้ำพริก" ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบตนเองว่ามีความพร้อมในการประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใด เช่น ความสนใจ เงินทุน สูตรและฝีมือในการปรุงอาหาร
2. มีความรู้ความสามารถและใจรักในการประกอบอาชีพการทำน้ำพริกชนิดต่างๆ มากน้อยเพียงไร รวมถึงความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
3. มีความเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคแต่ละท้องถิ่นว่า มีรสนิยม และความชอบเป็นอย่างไร
4. มีความตั้งใจจริงและซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยเลือกใช้แต่วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ และใส่ใจในการเรื่องความสะอาดในทุกขั้นตอนการผลิต

วิธีการขอเลข อย.
อาหาร ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน / สถานที่ผลิต
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
4. สำเนา ภพ.20 ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือ บริษัท ( กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ )
6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือ บริษัท
7. แผนผังภายในร้าน หรือ บริษัท ระบุ สถานที่ผลิต_บรรจุ_เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
8. สินค้าตัวอย่างพร้อมฉลาก

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร
1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7-19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3_000 บาท
2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5_000 บาท
3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5-91 แรงม้า 6_000 บาท
4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10-24 แรงม้า 7_000 บาท
5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25-49 แรงม้า 8_000 บาท
6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10_000 บาท
สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)

หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบนอาหาร (อย.)
1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียด (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ
2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP

สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.
1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE)
2. จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจ สถานที่
4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.)
ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ_อาหาร ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
http://www.farmkaset..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่สนใจ ตรวจฉลากโภชนาการของอาหาร ตรวจ บรรจุภัณฑ์ สารปนเปื้อน สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://www.farmkaset..link..
การควบคุมศัตรูพืชไม่มีวิธีการใดดีท่ีสุด ต้องใช้หลักการผสมผสาน
การควบคุมศัตรูพืชไม่มีวิธีการใดดีท่ีสุด ต้องใช้หลักการผสมผสาน
ควรเลือกวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ชนิดผัก ระยะเวลาปลูก ชนิดแมลง ลักษณะการทำลาย พฤติกรรมของแมลง การแพร่ระบาด และความจำเป็นของการควบคุม

วิธีเขตกรรม

ปลูกพืชหมุนเวียน ใช้พันธุ์ต้านทาน ทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปลูกพืชอื่นสลับกับแปลงผัก จัดการเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวทำความสะอาดแปลงปลูก เว้นระยะปลูกเหมาะสม

ตากดิน

หญ้า/วัชพืชเป็นพืชอาศัยของโรค-แมลง ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ตากดินโดยยกแปลงเป็นรูปสามเหลี่ยมให้โดนแสงแดดมากที่สุดประมาณ 1 สัปดาห์ พลิกกลับดิน เพื่อกำจัดไข่หรือดักแด้ของแมลงที่อยู่ลึกใต้ดินและยังช่วยกำจัดเชื้อราแบคทีเรีย สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า

ใช้กับดัก

กับดักแสงไฟล่อผีเสื้อกลางคืน กับดักกาวเหนียว

กางมุ้ง

ป้องกันได้ 50%
(แมลงบางตัววางไข่บนดิน ถ้าตากดินไม่ดีพอ ป้องกันไม่ได้)

ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ

ใช้ มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและกำจัดแมลง สม่ำเสมอตามสภาพการระบาดของ เพลี้ย แมลงศัตรูพืช

Reference: main content from nstda.or.th
อ่าน:3559
โรคไวรัสมะละกอ
โรคไวรัสมะละกอ
โรคไวรัสมะละกอ ไม่มียารักษาโดยตรง ป้องกันได้โดยการกำจัดเพลี้ย ซึ่งเป็นแมลงพาหะ

การป้องกันโรคไวรัสมะละกอที่ดี เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลง ทำความสะอาด กำจัดวัชพืชในแปลงและบริเวณรอบๆแปลงปลูก

หากพบต้นมะละกอ ที่เป็นโรคไวรัสมะละกอ รีบขุดถอน และเผาทำลายนอกแปลงทันที และหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สัมผัสต้นมะละกอที่เป็นโรค ก่อนนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

สำหรับพื้นที่ ที่มีการระบาดของโรคไวรัสมะละกอ หากเป็นไปได้ ให้หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของสาเหตุโรค เช่น พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ ตำลึง และพืชตระกูลถั่วเป็นต้น ควรหาพืชอื่นๆมาปลูกหมุนเวียนแทน

เนื่องจากโรคไวรัสมะกอ ไม่มียารักษาโดยตรง เราป้องกันได้โดยการ ป้องกันกำจัดพาหะนำโรค อันได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนฝ้าย และเพลี้ยต่างๆ โดยการฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัด เพลี้ย แมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุกๆ 3-7 วัน หมั่นสังเกตุ เมื่อเห็นว่าจำนวนเพลี้ยลดลงแล้ว เว้นระยะการฉีดพ่น เป็นระยะป้องกัน ทุก 15-30 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า บริเวณแปลงรอบข้าง หรือในหมู่บ้านตำบล มีการระบาดของเพลี้ยหรือไม่

ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ มาคา เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูของพืช จากโรคและแมลง ทำให้เจริญเติบโตดี และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อ่าน:3558
3510 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 0 รายการ
|-Page 31 of 352-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคราในมะเขือเทศ มะเขือเทศใบไหม้ แอนแทรคโนส ใบจุด พืชตระกูลมะเขือ โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/09/16 22:38:00 - Views: 3115
ป้องกัน กำจัด รักษา โรคแอนแทรคโนสใน มะลิ
Update: 2563/12/03 08:49:14 - Views: 4871
ป้องกัน รักษา ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป โรคยอดไม้กวาดทุเรียน
Update: 2564/09/30 01:30:40 - Views: 6068
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนชอนใบ ใน มะกรูด และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/17 13:36:16 - Views: 3205
ยาแก้โรคกะหล่ำปลี โรคกะหล่ำปลีเน่าคอดิน โรคราน้ำค้าง ยากำจัดหนอนกะหล่ำปลี ยาแก้เพลี้ยกะหล่ำปลี และปุ๋ยสำหรับกะหล่ำปลี
Update: 2563/06/22 21:49:36 - Views: 5117
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เทคโนโลยีช่วยปรับปรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช สำหรับผักกวางตุ้ง
Update: 2567/02/13 09:29:27 - Views: 177
กำจัดเชื้อรา พุทรา ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/21 11:14:19 - Views: 3030
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง ในสับปะรด และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/07 10:45:33 - Views: 3000
ตรวจดิน ตรวจ วิเคราะห์ ธาตุอาหารพืช ที่มีในดิน 27 ค่าธาตุอาหาร สะดวกรวดเร็วกับ iLab.work
Update: 2565/07/20 21:47:34 - Views: 2995
โรคมะพร้าว ราสนิมมะพร้าว ราน้ำค้าง มะพร้าวใบไหม้ มะพร้าวยอดแห้ง
Update: 2566/11/07 10:11:40 - Views: 8914
การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในมะละกอ ป้องกันมะละกอผลเน่า ผลไหม้
Update: 2566/01/31 09:08:45 - Views: 3333
ดินในไร่ของเรา ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ไหนดี? การเลือกพันธุ์มันสำปะหลังให้เหมาะกับดินในพื้นที่ปลูกของเรา
Update: 2563/06/13 20:30:45 - Views: 3232
ฮิวมิค แอซิด: เทคโนโลยีใหม่สำหรับฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดินในการปลูกมะปราง
Update: 2567/02/13 09:52:05 - Views: 162
กัญชาใบไหม้ โรคกัญชา โรคราสนิม โรคใบเหลือง
Update: 2564/06/07 08:04:31 - Views: 4360
ปุ๋ยสำหรับ เมล่อน แคนตาลูป ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นแคนตาลูป ปุ๋ยแคนตาลูป ปุ๋ย แคนตาลูป ผลผลิตดี ฉีดพ่น FK-1
Update: 2564/09/23 21:04:12 - Views: 3178
หนอนขี้เหล็ก บุกโรงเรียน กลับกลายเป็นผีเสื้อโบยบิน ที่สวยงาม
Update: 2564/08/14 22:17:13 - Views: 3295
กำจัด โรคราแป้ง ในต้นทุเรียน แก้ปัญหาโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์คุณภาพสูง จาก FK ขนาด 250 ซีซี
Update: 2566/05/23 11:26:10 - Views: 6434
“ราน้ำค้าง” โรคระบาดในพืชผักตระกูลแตงและพืชผักตระกูลกะหล่ำ
Update: 2564/08/12 00:10:34 - Views: 3177
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - เทคโนโลยีที่ยกระดับการเกษตร ปลดปล่อยธาตุอาหารไห้กับพืช ปรับปรุงโครงสร้างดิน ช่วยไห้ดินร่วยซุย ระบายน้ำดี สร้างระบบรากฝอย สำหรับฉีดพ่น ต้นหอม
Update: 2567/02/13 09:52:23 - Views: 160
ไขข้อข้องใจ … ทำไมแหนมถึงกินดิบได้?
Update: 2565/11/16 13:48:55 - Views: 9915
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022